Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2539
อุปสรรคพัฒนาอินเตอร์เน็ต             
โดย สมชัย วงศาภาคย์
 


   
search resources

Networking and Internet




เมืองไทยมักมีเรื่องแปลกแต่จริงให้รับรู้กันอยู่เนืองๆ ไม่จบสิ้นแทบจะทุกเรื่อง เดือนก่อนก็มีเรื่องเรือดำน้ำที่ฉากเหตุการณ์ถูกกวาดกันตั้งแต่ปี 2533 ซึ่งก็เล่นเอารัฐบาลแทบไม่ต้องทำอะไรกันเลยหลายอาทิตย์

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องสัมปทานสร้างทางด่วนสายใหม่ที่เชื่อมต่อทางด่วน 2 ของบีอีซีแอลที่คนของพรรคพลังธรรมเป็นเจ้าของเรื่อง ก็ถูกยกขึ้นมาเล่นงานพรรคพลังธรรมด้วยเหตุผลว่า พยายามยกสัมปทานให้บีอีซีแอลอย่างไม่โปร่งใส และผู้นำในรัฐบาลบางคน(ทักษิณ ชินวัตร) มีผลประโยชน์ในรูปหุ้นอยู่กับบีอีซีแอล ซึ่งส่อเจตนาไม่บริสุทธิ์ใจ

นอกเหนือจากเรื่องนี้แล้ว ยังมีเรื่องสัมปทานคลื่นโทรศัพท์มือถือที่มีราคาแพง แต่คุณภาพเหมือนสากกะเบือ ที่ทะเลาะกันไม่เลิกกันอยู่นั่นแหละ

สรุปเรียกได้ว่า เมืองไทยรอบเดือนที่แล้ว เต็มไปด้วยเรื่องแปลกแต่จริงตั้งแต่เรื่องในน้ำ บนบก จนกระทั่งคลื่นอากาศจนทำให้ผมเชื่อว่าเมืองไทยต้องมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในระบบอย่างแน่ ๆ

เท่าที่ผมศึกษา ผมค่อนข้างแน่ใจว่า สิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นในระบบมาจากความพยายามทึกทักเอาของ "รัฐ" ที่ต้องการแสดงออกซึ่งการเป็นเจ้าของทรัพยากรสาธารณะเหล่านี้อย่างไม่ลืมหูลืมตา และได้สร้างกลไกอันหนึ่งขึ้นมารองรับกลไกอันนี้ เรียกว่า "สัมปทาน"

สัมปทาน เป็นกลไกที่ศักดิ์สิทธิ์มากในสายตาของข้าราชการและรัฐ ในฐานะเป็นเครื่องมือที่ถูกแอบอ้างได้อย่างสนิทใจว่าเป็นกติกาที่กันให้ข้าราชการและรัฐ หลุดออกจากการคอร์รัปชั่น

แต่ความจริงไม่ได้เป็นอย่างที่แอบอ้าง แกรี่ เบ็กเกอร์ นักเศรษฐศาสตร์การเมืองและนักวิจัยชื่อดังแห่งสถาบันฮูเวอร์ เขียนบทความลงในนิตยสาร "บิสสิเนส วีค" เมื่อเร็วๆ นี้ โดยชี้ให้เห็นว่า สัมปทานเป็นกลไกที่สร้างเงื่อนไขให้ข้าราชการมีโอกาสคอร์รัปชั่นได้ เหตุนี้ เบ็กเกอร์จึงใช้ตรรกะเสนอว่า ถ้ารัฐต้องการให้ตัวเองหลุดจากคอร์รัปชั่น รัฐต้องมีความกล้าหาญ ยุบเลิกสัมปทานทิ้งเสีย แล้วเปิดให้มีการแข่งขันเสรีขึ้น

จากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ผมเห็นด้วยกับเบ็กเกอร์พันเปอร์เซ็นต์ เพราะสัปทานเป็นตัวที่สร้างความอื้อฉาวให้เกิดขึ้นกับกระบวนการทำงานของราชการและรัฐมาตลอดทุกสมัย

และที่สำคัญกว่านั้น สัมปทานเป็นตัวแทนของระบบผูกขาดที่ฉุดรั้งกระบวนการพัฒนาทุกด้าน และเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค (ภายใต้การคุ้มครองจากรัฐ) มากที่สุด

ข้อเท็จจริงตรงนี้ ถ้ากล่าวตัวอย่างให้ทันสมัยที่สุด ก็ต้องยกกรณีเรื่อง สัมปทานอินเตอร์เน็ต

เวลานี้ ผู้จะให้บริการอินเตอร์เน็ต ต้องได้รับอนุมัติสัมปทานจากกสท.ก่อน โดยต้องเสียค่าสัมปทานในรูปจัดสรรหุ้นในราคาพาร์จำนวนมากกว่า 30% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด นี่เป็นประการแรก

ประการที่สอง-ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ยังต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในอินเตอร์เน็ตแก่กสท.อีกจำนวน 16 ล้านบาท

นอกจากนี้ ราคาค่าบริการอินเตอร์เน็ต ทางกสท. ยังเป็นผู้กำหนดราคาอีก

ต้นทุนการให้บริการจากระบบสัมปทานอินเตอร์เน็ตจึงสูงมากและแน่นอนที่สุด ผู้รับสัมปทานก็ต้องผลักภาระมาให้ผู้ใช้บริการ และจุดนี้เองที่ค่าใช้จ่ายการใช้บริการอินเตอร์เน็ตเมืองไทยสูงมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อเมริกาซึ่งมีเครือข่ายสื่อสารทันสมัยและกว้างขวางทั่วประเทศพร้อมที่จะรองรับอินเตอร์เน็ต เขายังเปิดเสรีผู้ให้บริการเข้ามาให้บริการ ราคาค่าบริการอินเตอร์เน็ทของเขาจึงถูกมาก และพัฒนาการของระบบอินเตอร์เน็ตทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีซอฟต์แวร์การเข้าสู่เครือข่ายและการปฏิบัติการบนเครือข่ายของบริษัทผู้ให้บริการ จึงมีการแข่งขันกันพัฒนา เพื่อแย่งชิงตลาดผู้ใช้ที่กำลังตื่นตัวขึ้นทั่วโลก

เมื่อเป็นเช่นนี้ ผมจึงเห็นว่าอินเตอร์เน็ตในตลาดเมืองไทยจึงมีสภาพเหมือนสังคมที่เต็มไปด้วยพวกเกลียดตัว แต่ชอบกินไข่ที่คอยแต่ฉุดรั้งการพัฒนา

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us