|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"ไทย พร็อพเพอร์ตี้"เจ้าของประตูน้ำคอมเพล็กซ์ เดินหน้าสะสางปัญหาหนี้เงินกู้ต่างประเทศที่ใกล้ครบดิวสิ้นปี 49 กู้เงิน 120 ล้านบาท จากบริษัท แอดวานซ์ พี.อี.ซี.จำกัด ที่มีนายวิทวัส วิภากุล เกี่ยวโยงในฐานะผู้ถือหุ้นทั้งสองบริษัท หวังรักษาเครดิตทางการเงินในอนาคต ขณะเดียวกันออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ดอกเบี้ยจ่าย 14% ต่อปี และมอบสิทธิการเช่าโครงการประตูน้ำคอมเพล็กซ์ไว้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ด้านวิทวัส วิภากุล สปีดเจรจาเงินกู้สถาบันการเงินเพื่อนำมาชำระบริษัทแอดวานซ์ฯแทน ยันหลักทรัพย์ค้ำประกันคุ้ม
นายชายนิด โง้วศิริมณี กรรมการบริษัท ไทย พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ TPROP หรือ รัตนะการเคหะเปิดเผยต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ทางบริษัทฯได้กู้เงินระยะสั้นจากบริษัท แอดวานซ์ พี.อี.ซี.จำกัด เป็นจำนวนเงิน 120 ล้านบาท แต่เนื่องจากทั้งสองบริษัทมีนายวิทวัส วิภากุล เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทั้งสองบริษัท จึงเข้าข่ายเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกันตามประกาศ คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลและการปฎิบัติการของบริษัทจดทะเบียนในรายการที่เกี่ยวโยงกัน พ.ศ. 2546
โดยลักษณะของธุรกรรมในครั้งนี้ ทางบริษัทไทย พร็อพเพอร์ตี้ฯ ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน มีอัตราดอกเบี้ย 14% ต่อปี และมอบสิทธิการเช่าโครงการประตูน้ำ ที่มีมูลค่าประมาณ 397 ล้านบาทเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อนำเงินกู้จำนวน 120 ล้านบาท ไปชำระคืนเงินกู้จากสถาบันการเงินต่างประเทศที่ถึงกำหนดชำระ ทั้งนี้ เพื่อมิให้บริษัทตกเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งปัญหานี้อาจจะมีผลกระทบอย่างมากต่อการขอสินเชื่อ รวมถึงความน่าเชื่อถือของบริษัท ในการขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินอื่นๆตามมาในอนาคต
" บริษัทยังไม่มีสภาพคล่องทางการเงินและหรือแหล่งเงินกู้ยืม ที่จะชำรเงินให้แก่เจ้าหนี้ต่างประเทศได้ บริษัทจึงจำเป็นต้องขอกู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว และทางคณะกรรมการได้มอบหมายให้นายวิทวัส ไปเจรจาขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินอื่นๆ เพื่อเป็นการกู้ยืมเงินแทนการกู้ยืมจากบริษัท แอดวานซ์ ซึ่งบริษัทจะสามารถหาแหล่งเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินได้ภายในสิ้นปี 49 และเมื่อได้รับเงินกู้แล้ว จะคืนหนี้เงินกู้ยืมให้แก่บริษัท แอดวานซ์ฯ "ข้อความที่ระบุในตลาดหลักทรัพย์ฯ
อย่างไรก็ตาม หากเกิดกรณีบริษัทผิดนัดชำระเงินให้แก่บริษัทผู้ให้กู้ยืม บริษัทจะแต่งตั้งผู้ประเมินราคา เพื่อทำการประเมินราคาของสิทธิการเช่าที่เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันไว้ และผู้ให้กู้จะได้รับสิทธิการเช่าเป็นเงินจำนวนเท่าที่บริษัทได้ค้างชำระรวมดอกเบี้ยเท่านั้น และส่วนที่เหลือ บริษัทแอดวานซ์ฯจะส่งคืนให้บริษัทต่อไป
สำหรับเงื่อนไขการชำระดอกเบี้ย ทางบริษัทไทย พร็อพเพอร์ตี้ฯ จะจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตรา 14% ต่อปี ชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยภายในไม่เกินเดือนธ.ค.2549 และเมื่อคำนวณดอกเบี้ยที่บริษัทต้องชำระตามที่ตกลงกันภายในเดือนต.ค.49 จะคิดเป็นจำนวนเงิน 1.8 ล้านบาทคิดเป็น 0.22% ของสินทรัพย์สุทธิของบริษัท ณ วันที่ 30 มิ.ย.49 แต่หากคำนวณดอกเบี้ยที่ต้องชำระถึงเดือนธ.ค.49 จะคิดเป็นจำนวนเงิน 4.6 ล้านบาท คิดเป็น 0.53% ของสินทรัพย์สุทธิรวมของบริษัท ณ วันที่ 30 มิ.ย.49
ตามข้อมูลที่แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯได้ลงลึกถึงแหล่งของเงินที่มาปล่อยกู้ในครั้งนี้ว่า กรณีอัตราดอกเบี้ยที่บริษัทจะต้องชำระให้แก่บริษัท แอดวานซ์ฯในอัตรา 14%ต่อปีนั้น คณะกรรมการบริษัทพิจารณาถึงความสมเหตุสมผล เนื่องจากบริษัทผู้ให้กู้ ต้องขอกู้ยืมเงินจากบุคคลภายนอก เพื่อนำมาให้บริษัทกู้ยืมอีกต่อหนึ่ง และอัตราที่บริษัทแอดวานซ์ฯ จะต้องชำระให้แก่ผู้ให้กู้จะอยู่ในอัตราระหว่าง 14-15% เช่นกัน
นายวิทวัส วิภากุล กรรมการผู้จัดการบริษัท ไทย พร็อพเพอร์ตี้ฯ กล่าวถึงรายละเอียดของหลักทรัพย์ค้ำประกันในการกู้ยืมเงินในครั้งนี้ว่า บริษัทฯยังมีรายการระหว่างบริษัท เกรทไชน่า มิลเลนเนียม (ไทยแลนด์) จำกัด หรือ GREAT แยกเป็นส่วนของค่าตอบแทนการโอนสิทธิการเช่าโครงการประตูน้ำและลูกหนี้บริการด้านที่ปรึกษา เนื่องจากบริษัทยังเหลือเงินค่าตอบแทนการโอนสิทธิการเช่าโครงการประตูน้ำที่ GREAT จะต้องจ่ายให้แก่บริษัทอีกเป็นจำนวน 800 ล้านบาท และเมื่อคิดหักกับเงินยืมทดรองที่ GREAT ได้ให้บริษัทยืมทดรองจำนวน 509 ล้านบาทแล้ว จึงเหลือจำนวนเงินที่ GREAT จะต้องชำระให้แก่บริษัทตามสัญญาต่างตอบแทนเป็นจำนวน 291 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีเงินลูกหนี้ค่าให้บริการด้านที่ปรึกษาแก่ GREAT ที่บริษัทคาดว่าจะสามารถหักกลบลบหนี้กับเงินยืมทดรองจำนวน 509 ล้านบาท ดังนั้น จำนวนเงินที่ GREAT ต้องชำระให้แก่บริษัทเป็นจำนวนเงิน 307 ล้านบาท
" ในขณะนี้ บริษัทไม่มีหลักทรัพย์อื่นที่จะเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้ยืมเงินได้ ในขณะเดียวกัน สิทธิการเช่าดังกล่าวไม่สามารถแบ่งแยกที่จะมอบสิทธิการเช่าเฉพาะส่วนได้ บริษัทจึงจำเป็นต้องมอบสิทธิการเช่าในอาคารสูงทั้งหมดไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้ยืมไว้" นายวิทวัสกล่าว
|
|
|
|
|