Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2543
มาซาโยชิ ซัน - เขาเกิดมาเพื่อเป็นผู้นำ             
 

   
related stories

"ซอฟท์แบงก์" - บนเวทีแห่งการตั้งรับของผู้นำโลกอินเทอร์เน็ต
แกรี่ เรเชล - บุคคลแถวหน้าของซอฟท์แบงก์
นักต่อรองฝีปากเก่ง 'โยชิทากะ คิทาโอะ'
ซอฟท์แบงก์จะหาทางออกจากภาวะหนี้ท่วมอย่างไร?
NCB - ความหวังในการระดมทุนของซอฟท์แบงก์
กรณีศึกษา "Yahoo! Japan" รางวัลแห่งการตัดสินใจที่ถูกต้อง

   
search resources

Softbank Corp.
Masayoshi Son




หลังจากสร้างให้ธุรกิจจำหน่ายซอฟท์แวร์ ที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ได้รับการขนานนามในโลกอินเทอร์เน็ตแห่งเอเชียสำเร็จ ซันต้องคอยเฝ้าดูความตกต่ำของตลาดหุ้น, ภาวะการลงทุน ที่ขาดความเชื่อมั่น ตลอดจนธุรกิจ ที่ไร้ทิศทางของซอฟท์แบงก์ คอร์ป ที่เขาก่อร่างขึ้น

ผู้คนส่วนใหญ่รู้จัก 'มาซาโยชิ ซัน' หนุ่มใหญ่วัย 43 ปี ผู้นำซอฟท์แบงก์ ธุรกิจยักษ์ใหญ่ในวงการอินเทอร์เน็ต ในฐานะหนึ่งในอภิมหาเศรษฐีโลก น้อยคนนัก ที่จะรู้ถึงอดีต ที่ยากไร้ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นอีกด้านหนึ่งของชีวิตของเขาเลยทีเดียว ซันเติบโตขึ้นมาในบ้านพักชั่วคราวข้างทางรถไฟทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นขององค์การรถไฟแห่งชาติเดิมของญี่ปุ่น ในสูติบัตรของซัน ไม่ปรากฏเลข ที่บ้าน ด้วยความ ที่มีเชื้อสายเกาหลี และมีพ่อทำงานอยู่ในเหมืองถ่านหินย่านกิวชู ซันต้องเผชิญกับการดูถูกจาก เพื่อน ๆ และได้เรียนรู้ตั้งแต่ยังเล็กว่า ในสังคม ที่ร้อยรัดกันแน่นแฟ้น และถือว่าสถานภาพเป็นเรื่องใหญ่เช่น ที่ญี่ปุ่นนั้น การจะได้รับการยอมรับจากคนอื่นไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลย

ความทุกข์จากการถูกกีดกันได้สร้างบาดแผลให้กับซันอยู่บ้าง เขายังพูดทีเล่นทีจริงว่า การใช้นามสกุลเกาหลีช่วยให้เขาโดดเด่นจากคนอื่น ๆ ในฐานะผู้ประกอบการหน้าใหม่ อย่างไรก็ดี ซันต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมาย และต้องใช้ความเพียรพยายามมากกว่าคนอื่น ๆ เพราะธนาคารหลายแห่งปฏิเสธไม่ให้กู้เงิน ด้วยสาเหตุที่นามสกุลของเขาไม่ใช่ญี่ปุ่น ซันโกรธ และอึดอัดใจ ในที่สุดก็จำเป็นต้องหาแหล่งเงินทุนอื่น ๆ เช่นการออกหุ้นกู้ และใช้วิธีระดมทุนโดยการออกหุ้น รวมไปถึงการกู้เงินจากบริษัทประกันแทน ที่จะเป็นธนาคาร นี่อาจเป็นเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ 20 ปีให้หลังนับจาก ที่ผู้ให้กู้รายใหญ่ปิดประตูใส่หน้าเขา เขาก็จัดการเป็นเจ้าของธนาคารแห่งหนึ่งเสียเลย

ซอฟท์แบงก์วางแผนจะฟื้นนิปปอน เครดิต แบงก์ ที่ขาดทุนยับขึ้นมา เพื่อให้เป็นแหล่งระดมทุนสำหรับธุรกิจ ภายใต้ชื่อใหม่ว่า "อาโอโซร่า แบงก์" มองในหลาย ๆ แง่ การเทคโอเวอร์ NCB คือ ผลงานชิ้นโบว์แดง ที่เป็นการประกาศว่าซันได้ก้าวเข้ามาในสมาคมธุรกิจชั้นนำของญี่ปุ่นแล้ว ขณะเดียวกัน ก็เป็นตัวสะท้อนถึงความปรารถนาลึก ๆ ของเขา ที่ต้องการจะแก้สิ่งที่ซันมองว่าเป็นจุดอ่อนในระบบเศรษฐกิจญี่ปุ่น นั่นคือ ปัญหาการระดมทุนของผู้ประกอบการ

ซันกล่าวอย่างไม่ปิดบังว่า เขาคิดว่าตนเองเป็นคนหนึ่ง ที่เป็นหัวหอกในการพยายามสั่นคลอนสังคม และบีบให้บริษัทญี่ปุ่นจำกัด ที่กำลังกรอบแกรบต้องเปิดตัวสู่โลกภายนอก "หากต้องการจะปฏิวัติข้อมูลข่าวสารให้ได้สำเร็จ ก็ต้องเปลี่ยนญี่ปุ่นให้ได้" เขาประกาศ การกำหนดเป้าหมาย ที่สูงเกินเอื้อมแบบนี้ล่ะ คือ ซันตัวจริง ไม่แปลก ที่เขาชอบทำอะไรเสี่ยง ๆ ความจริงแล้ว เขาสามารถจะเดินหนีคำวิพากษ์วิจารณ์ทั้งหมด เลิกทำงานแล้วคอยแต่เก็บเกี่ยวดอกผลที่ได้จากเงินลงทุนในฟรานไชส์ Yahoo! รางวัลจากการตัดสินใจถูกต้อง แต่ซันกลับยังพยายามจะก้าวขึ้นเป็นผู้นำในธุรกิจอินเทอร์เน็ต และสิ่งที่เขาเรียกว่า เป็นการปฏิวัติ

กิจกรรมยามว่างนอกเวลางานของซัน สะท้อนให้เห็นชัดถึงพลังอันเต็มเปี่ยมอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย นอกจากใช้เวลาเล่นกอล์ฟกับคู่ค้าทางธุรกิจ แบ่งเวลาให้กับภรรยา และลูก ๆ แล้ว ซันยังสนุกสนานกับการเล่นวิดีโอเกม "สตรีทไฟเตอร์" เขาหลงใหลได้ปลื้มกับนักประวัติศาสตร์คนสำคัญ ๆ หลายคนที่หัวนอนจึงต้องมีหนังสือเล่มโตว่าด้วยชีวประวัติของผู้ที่เรียกได้ว่าเป็นอัจฉริยะบุคคล อาทิเช่น ซุนจื๊อ นักปรัชญาจีน, จอห์น ดี. ร็อกกี้เฟลเลอร์ เจ้าของอาณาจักรน้ำมันยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯ, โอดะ โนบูนากะ ผู้พิชิตสงครามของญี่ปุ่น ตลอดจนเจงกิสข่าน วีรบุรุษชาวมองโกล

ซันเผยว่า กุญแจสู่ความสำเร็จในทุกเรื่องของเขา คือ กุญแจดอกเดียวกัน "ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ, การปฏิวัติ, ประวัติศาสตร์, การเมือง หรืออะไรก็ตาม"

เบื้องหลังความสำเร็จของเขายังรวมไปถึงความรับรู้ ที่ไวต่อนวัตกรรม และโอกาสใหม่ ๆ ซันได้ลิ้มรสชาติความสำเร็จครั้งแรกตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1970 ซึ่งเขายังเป็นนักศึกษาปริญญาตรี ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในเบิร์กเลย์ ยามว่างเขาหารายได้ด้วยการขายวิดีโอเกมญี่ปุ่นใช้แล้ว ตลอดจนทำงานในร้านพิซซ่าอเมริกัน ไม่นานนัก ซันคว้าเงินถึงหนึ่งล้านเหรียญได้จากการออกแบบอุปกรณ์แปลภาษาขนาดกระเป๋าให้กับชาร์ป ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ ซันใช้เงินจำนวนนี้ในการลงทุนตั้งซอฟท์แบงก์ในปี 1981 เพียงไม่นาน หัวหอกแห่งธุรกิจค้าซอฟท์แวร์แห่งนี้ก็เติบโตขึ้นเป็นผู้ค้าส่งซอฟท์แวร์รายใหญ่ที่สุดของประเทศ กำไร ที่ได้ทำให้ซันสามารถระดมเงินไปลงทุนเชิงกลยุทธ์ในธุรกิจอินเทอร์เน็ตได้ในทศวรรษ 1990

การไม่ยอมรับวิธีการล็อบบี้ก่อนการประชุมนัดสำคัญตามแบบฉบับญี่ปุ่น (หรือ ที่เรียกว่า เนมาวาชิ) ตลอดจนวิธีการพูดตรง ๆ ของซัน ทำให้คนทั่วไปไม่ค่อยชอบเขานัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในประเทศบ้านเกิดของเขาเอง นักธุรกิจใหญ่หลายคนดูถูกว่า ซันเป็นพวกชอบพูดจาขวานผ่าซากต่อหน้าสาธารณชน บ้างก็ตั้งคำถามกับความไม่ชอบมาพากลของธุรกิจของเขา ขณะที่พวกสื่อมวลชนมองว่า เขาเป็นแค่พนักงานขายสินค้าร้อยแปดพันเก้าแห่งยุคไฮเทคเท่านั้น

ซันได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับธุรกิจของเขา ตลอดจนภาวะตกต่ำของราคาหุ้นของธุรกิจเทคโนโลยีสื่อสารในปัจจุบัน ซึ่งได้ตัดตอนมาบางส่วนดังนี้

คุณรู้สึกวิตกในเรื่องทิศทางตลาดหุ้นทั่วโลกบ้างหรือไม่ ภาวะดังกล่าวจะส่งผลต่อจังหวะของสิ่งที่คุณเรียกว่า "กลยุทธ์การลงทุนแบบสายฟ้าแลบ" หรือเปล่า

ผมว่าภาวะตอนนี้เป็นแค่ระยะสั้น ก็เหมือนช่วงเริ่มต้นอุตสาหกรรมรถยนต์, โทรศัพท์ หรือโทรทัศน์นั่นล่ะ คุณลองย้อนกลับไปมองการลงทุนครั้งสำคัญ ๆ ของมนุษยชาติสิ ในแต่ละครั้งต้องใช้เวลาตั้งกี่ปีกว่าจะประสบความสำเร็จ แน่นอนว่าตอนแรกยังไม่มีกำไรหรอก เพราะเนื้อหามันยังไม่เยอะ โครงสร้างพื้นฐานก็มีไม่มากพอ แต่พอมีกำไรขึ้นมา กำไรก็จะพอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ อีกหลายปี อินเทอร์เน็ตก็เป็นทำนองเดียวกัน

ซอฟท์แบงก์มีปัญหาเรื่องภาพพจน์หรือไม่

มนุษย์เรามักจะเรียนรู้จากบทเรียน จากประวัติศาสตร์ เมื่อมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันมากว่า องค์กรของเรายังเปิดเผยข้อมูลไม่มากพอ หรือยังไม่โปร่งใสพอ ถึงเราจะไม่ได้ตั้งใจให้เป็นเช่นนั้น แต่ถ้าคนทั่วไปคิดอย่างนั้น เราก็จะพยายามทำให้คนเข้าใจมากขึ้น ดังนั้น นี่เป็นสิ่งหนึ่ง ที่เราต้องปรับปรุง

ซอฟท์แบงก์ใช้เงินตนเองลงทุนในบริษัทในเครือจำนวน 450 แห่งมากน้อยแค่ไหน

ที่ผ่านมาเราใช้เงินราว 2,500 ล้านเหรียญ เพื่อลงทุนในธุรกิจอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะ เราได้คืนมาแล้ว 3,000 ล้านเหรียญ นั่นแปลว่าเราถอนทุนคืนได้หมดแล้วจากการทำ IPO ของ 30 บริษัท และเรายังเหลืออีก 420 บริษัท ที่รอทำ IPO ผมกล้าบอกว่า ถ้าเทียบกับธุรกิจเวนเจอร์ แคปิตัลอื่น ๆ หรือบริษัท เพื่อการลงทุน ที่มีฐานะเป็นบริษัทแม่รายอื่น ๆ เราทำได้ดีมาก แม้ในสภาวะตลาดปัจจุบัน

มูลค่าเงินลงทุนรวมทั้งหมดคิดเป็นเท่าไร ถ้ารวมทุนของซอฟท์แบงก์เอง และเงินจากนักลงทุนภายนอก

มูลค่าเงินลงทุนทั้งหมดตกราว 6,000 ล้านเหรียญ

คุณคิดว่า B2B จะประสบความสำเร็จในญี่ปุ่นหรือไม่

แน่นอน แน่นอน

แต่บริษัทการค้าของญี่ปุ่นหลายแห่งบอกว่า B2B จะเติบโตอีกเล็กน้อยเท่านั้น

พวกเขาไม่เข้าใจ พวกเขายังไม่เข้าใจ น่าเศร้านะ แต่ก็เป็นโอกาสดีสำหรับเรา ก็อย่างนี้ล่ะ เวลา ที่มีอะไรใหญ่ ๆ เกิดขึ้น ปฏิกริยาตอบรับในช่วงเริ่มต้นมักจะต่ำ คุณรู้จักบริษัทอริบาของอเมริกาหรือเปล่า รู้หรือเปล่าว่า อริบาเป็นบริษัท ที่โตเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกัน เดือนมิถุนายนปีที่แล้ว บริษัทนี้มีมูลค่า IPO 200 ล้านเหรียญ มาวันนี้ ตัวเลขนี้พุ่งถึง 32,000 ล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นมากกว่า 350 เท่าตัวภายในระยะเวลาแค่ 1 ปี 3 เดือน

คุณจะผสมผสานกิจการธนาคารยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น ที่คุณซื้อมา กับธุรกิจ ที่มุ่งด้านอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะตาม ที่คุณตั้งเป้าหมายไว้ได้อย่างไร

NCB และแนสแดค เจแปนอาจจะค่อนข้างแตกต่างจากธุรกิจอินเทอร์เน็ตของเรา แต่ก็ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และเป็นการปรับโครงสร้างประเทศญี่ปุ่นเสียใหม่ การจะสามารถปฏิรูปธุรกิจข้อมูลข่าวสารไร้สายได้สำเร็จ เราจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของญี่ปุ่นใหม่ ญี่ปุ่นเป็นตลาดหนึ่ง ที่สำคัญมากสำหรับเรา ครึ่งหนึ่งของเงินลงทุน และธุรกิจของเราทั้งหมดอยู่ ที่ประเทศนี้ ดังนั้น เพื่อให้เราสามารถปฏิรูปธุรกิจข้อมูลข่าวสารได้สำเร็จ เราจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงญี่ปุ่นเสียใหม่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us