|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
แบงก์ชาติเตือนแนวโน้มอัตราแลกเปลี่ยนและตลาดหลักทรัพย์ยังมีความผันผวน จากสัญญาณสภาพคล่องในตลาดการเงินโลกที่เริ่มตึงตัวขึ้น เป็นผลจากการดำเนินนโยบายการเงินอย่างเข้มงวดในบางประเทศที่ยังไม่ยุติการปรับขึ้นดอกเบี้ย โดยเฉพาะญี่ป่น และยุโรป อาจทำให้เกิดกระแสการโยกเงินออกจากตลาดเกิดใหม่ได้
ผู้สื่อข่าวรายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่าในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับเดือนต.ค. 2549 ธปท.ได้ออกบทความเรื่อง “สภาพคล่องของเศรษฐกิจโลก” โดยบทความดังกล่าวระบุว่าในช่วงกลางเดือนพ.ค.-กลางเดือนมิ.ย. 2549 ที่ผ่านมาตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market Economices : EMEs)ต้องประสบกับภาวะการไหลออกของเงินทุนเนื่องจากนักลงทุนต่างประเทศเปลี่ยนการถือครองสินทรัพย์ใน EMEs ที่มีผลตอบแทนสูงแต่มีความเสี่ยงสูงกว่าไปถือครองสินทรัพย์ในตลาดหลักที่มีสภาพคล่องมากกว่า ซึ่งการไหลออกของเงินทุนจากตลาดหลักทรัพย์ EMEs 6 แห่งของเอเชีย ซึ่งประกอบด้วย ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย ไต้หวัน และเกาหลีใต้ มีจำนวนสูงถึง 13 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือประมาณ 15.3%ของเงินทุนไหลเข้าสะสมทั้งหมดตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งส่งผลให้เกิดความผันผวนในค่าเงินและตลาดหลักทรัพย์
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเงินทุนจะไหลกลับเข้ามายัง EMEs ตั้งแต่ปลายเดือนมิ.ย. 2549 ที่ผ่านมา แต่อัตราการไหลเข้าก็ชะลอลงกว่าช่วงต้นปี โดยเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดจากความกังวลว่า การลงทุนใน EMEs ที่สะสมสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้นักลงทุนมีสัดส่วนการถือครองสินทรัพย์เสี่ยงสูงขึ้น ในขณะที่อัตราผลตอบแทนในตลาดหลักได้สูงขึ้นในระยะที่ผ่านมา ทำให้ส่วนต่างผลตอบแทนระหว่าง EMEs และตลาดหลักอาจไม่คุ้มค่ากับความเสี่ยงของการลงทุน ซึ่งความกังวลดังกล่าวส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสภาพคล่องในตลาดการเงินโลกที่ลดลง กล่าวคือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดทำให้นักลงทุนต้องเพิ่มความระมัดระวังในการลงทุนมากขึ้น ซึ่งทำให้ความผันผวนในตลาดการเงินของโลกเพิ่มขึ้นในระยะต่อไปโดยเฉพาะ EMEs ที่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับปริมาณการไหลเข้าออกของเงินทุนระหว่างประเทศ ผลกระทบของภาวะสภาพคล่องในตลาดการเงินโลกที่มีต่อภาวะการเงินของประเทศดังกล่าว ทำให้สภาพคล่องของเศรษฐกิจโลกเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่ต้องจับตามอง
ทั้งนี้ ในบทความดังกล่าว ระบุว่า ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญและเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับวัฏจักรสภาพคล่องของเศรษฐฏิจโลก โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา คือ การดำเนินนโยบายการเงินของประเทศต่างๆที่มีความเข้มงวดมากขึ้น ซึ่งสะท้อนจากการปรับตัวขึ้นอย่างชัดเจนของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้นจาก 1%ต่อปี ในช่วงกลางปี 2547 มาเป็น 5.25% ต่อปีในปัจจุบัน ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายของยุโรปก็ปรับตัวสูงขึ้นจาก 2% ต่อปี ในช่วงปลายปี 2548 มาเป็น 3.25% ต่อปี
สำหรับประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะ ไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ก็มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายหลายครั้งเช่นกันในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา เพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อจากผลกระทบด้านราคาน้ำมัน ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนว่า ในช่วงที่นโยบายการเงินเข้มงวดมากขึ้น สภาพคล่องของเศรษฐกิจโลกก็ลดน้อยลงเช่นกัน โดยอัตราการขยายตัวของปริมาณเงิน M2 ในรูปของสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. ลดลงจาก 9% .ในปี 2547 มาอยู่ในระดับต่ำกว่า 2% ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2548 ต่อเนื่องมาจนถึงไตรมาสแรกของปี 2549 ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลเนื่องจากการส่งผ่านจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เพิ่มสูงขึ้นไปสู่ระบบเศรษฐกิจ ที่ส่งผลไปสู่การลดลงของสภาพคล่อง
อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องของเศรษฐกิจโลกในระยะต่อไปมีแนวโน้มที่จะยังคงอยู่ในภาวะตึงตัวขึ้นต่อเนื่องจากการดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดที่ยังยุติในบางประเทศโดยเฉพาะ ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญในช่วงหลายปีหลังและกลุ่มประเทศยุโรปทำให้ตลาดการเงินยังคงมีความไม่แน่นอน นอกจากนี้สหรัฐฯก็ยังมีแนวโน้มที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับปัจจุบัน ซึ่งหากสภาพคล่องของเศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะตึงตัวต่อเนื่องในภาวะที่เกิดการเปลี่ยนแปลงใน Risk Aversion ของนักลงทุนอาจส่งผลให้ความผันผวนในตลาดการเงินโดยเฉพาะอัตราแลกเปลี่ยนและตลาดหลักทรัพย์เพิ่มสูงขึ้นงทุกๆฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรต้องคำนึงถึงผลกระทบของความผันผวนดังกล่าว
|
|
|
|
|