Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน6 พฤศจิกายน 2549
อนาคตไอพี ทีวี-บรอดแบนด์ ทีวีไทย โครงข่ายไม่พร้อมแนวโน้มไปไม่รอด             
 


   
www resources

โฮมเพจ อินเตอร์เน็ต โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส โพรวายเดอร์

   
search resources

อินเตอร์เน็ต โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส โพรวายเดอร์, บจก.
กนกวรรณ ว่องวัฒนะสิน
Networking and Internet




บริการไอพีทีวี และบรอดแบนด์ทีวีในไทยแนวโน้มไปไม่รอด เพราะโครงข่ายไม่พร้อม ผู้ประกอบการมีอำนาจเหนือตลาด ผู้บริโภคไม่มีข้อเปรียบเทียบคุณภาพว่าดีจริง ไม่ดีจริง ย้ำประสิทธิภาพยังไม่เท่าดูทีวีปกติ ขณะที่กลุ่มทรูยันความเร็วขนาด 256 กิโลบิตต่อวินาทีสามารถดูไอพีทีวีได้

ดร.กนกวรรณ ว่องวัฒนะสิน ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท อินเตอร์เนต โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส โพรวายเดอร์ (ไอเอสเอสพี) กล่าวถึงบริการอินเทอร์เน็ต โปรโตคอล ทีวี (ไอพีทีวี) และการให้บริการรายการทีวีผ่านเครือข่ายเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือบรอดแบรนด์ทีวีว่า ไอพีทีวีกับบรอดแบนด์ทีวีขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ปลายทาง เพราะการให้บริการไอพีทีวีสามารถออกได้หลายทาง อาจเป็นเคเบิลโมเด็มอย่างยูบีซีที่ให้บริการอยู่ในขณะนี้ แต่บรอดแบนด์ทีวีเป็นการให้บริการผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตปกติ

แต่ทั้ง 2 บริการจะขึ้นอยู่กับสื่อสัญญาณว่าจะทำได้มากน้อยขนาดไหน ถ้าไม่ผ่านโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงหรือไฟเบอร์ออปติก อย่างการให้บริการขณะนี้ส่วนใหญ่จะเป็นผ่านโครงข่ายสายทอง การบริการจึงไม่สามารถไปถึงขั้นที่เรียกกว่าบรอดแบนด์ทีวีจริงๆ ได้

ในมุมมองของดร.กนกวรรณเห็นว่า ผู้ที่จะให้บริการบรอดแบนด์ทีวีได้ต้องมีใบอนุญาตหรือไลเซนส์เกี่ยวกับโครงข่ายไปพร้อมๆ กันด้วย ถ้าผ่านเทคโนโลยีเอดีเอสแอลเกิดลำบาก ซึ่งต่างจากญี่ปุ่นหรือเกาหลีที่สามารถให้บริการได้เต็มตัว เพราะมีการทำไฟเบอร์ออปติก ทู โฮม และไฟเบอร์ออปติก ทู ออฟฟิศ จึงสามารถทำทริปเปิล เพลย์ ซึ่งเป็นการใช้โทรศัพท์ เล่นอินเทอร์เน็ต และดูทีวีได้จริงในเวลาเดียวกัน

“ถ้ายังไม่มีการเปลี่ยนโครงข่ายจากสายทองแดงเป็นไฟเบอร์ออปติก อนาคตไปไม่รอด เพราะถ้ามีการใช้หรือคอนซูมแบนด์วิธมากๆ ก็จะแย่งกัน เพราะเอดีเอสแอลคือระบบแชร์การใช้ มีใครแชร์ก็หารเลย หรืออย่าง 3จี 2.5จี จริงๆ วอยซ์ยังไปไม่รอดเวลามีการแข่งขันกันมากๆ”

ดร.กนกวรรณยืนยันว่า บรอดแบนด์ทีวีในไทยเพิ่งเริ่ม การให้บริการที่มาตามโครงข่ายสายทองแดงผ่านอุปกรณ์ปลายทางที่เป็นโมเด็ม คุณภาพยังเทียบเท่าการดูทีวีจริงๆ ไม่ได้ เพราะยังไม่เป็นไอพีจริง และการให้บริการเหล่านี้ หลักๆ ก็จะเป็นผู้ที่มีโครงข่ายอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นกลุ่มทรู ทีโอที และทีทีแอนด์ที ที่ยังผูกขาดอยู่

“ไอพีทีวีอย่างความเร็วที่ 512 กิโลบิตต่อวินาทีเวลามีคนแชร์ก็เหลือไม่ถึง การให้บริการเหมือนรองดูก่อน ถ้าโครงข่ายไม่เปลี่ยนไปไม่รอด เพราะความสำคัญของบริการคือเรื่องของโครงข่าย” เขากล่าวและว่า

การให้บริการไอพีทีวีขณะนี้ไลเซนส์มากับช่องเคเบิลทีวี ขณะที่บรอดแบนด์ทีวีบนอินเทอร์เน็ตต้องขอไลเซนส์หรือไม่ คนจัดรายการทีวีสามารถทำได้จากบ้านโดยการบรอดแคสออกไป ขณะเดียวกันถ้าเป็นการให้บริการผ่านดาวเทียมก็จะมีเรื่องที่เกี่ยวกับการทำอัปลิงค์-ดาวน์ลิงค์ว่าจะตั้งที่ไหน ยกตัวอย่าง เอเอสทีวีในเครือผู้จัดการที่ไปตั้งอัปลิงค์-ดาวน์ลิงค์ที่ฮ่องกง ในประเทศไทยผู้บริโภคที่ต้องการดูก็สามารถตั้งจานดาวเทียมรับสัญญาณได้

“กฎหมายไทยจะเขียนตรงข้ามกับต่างประเทศ ของไทยถ้าไม่เขียนคือทำไม่ได้ ต่างประเทศไม่เขียนคือทำได้หมด”

เมื่อกฎหมายเป็นเช่นนี้ต้องพิจารณาทางเทคนิคเลยว่า ไลเซนส์อะไร เทคนิคอะไร อย่างอินเทอร์เน็ตที่เป็นพับบลิกสามารถทำได้เลยไม่ต้องขอไลเซนส์

ดร.กนกวรรณกล่าวว่า ปัจจุบันเอดีเอสแอลของผู้บริการอินเทอร์เน็ตหรือไอเอสพี ต้องไปเช่าโครงข่ายทีโอที หรือทีทีแอนด์ที เช่นเดียวกับการที่จะทำบรอดแบนด์ทีวีได้ หรือต่อโมเด็มเคเบิลก็เป็นการผูกขาดเพียงไม่กี่เจ้า เวลานำเสนอบริการก็จะไปเป็นแพกเกจอย่างการขายเลขหมายโทรศัพท์ตามหมู่บ้าน ถ้าใช้ของทรูแล้ว จะไปเปลี่ยนเป็นทีโอทีก็ไม่ได้ เพราะทีโอทีไม่ได้เข้าไป เป็นต้น

จากการทำธุรกิจแบบผูกขาดจึงทำให้ผู้ให้บริการมีอำนาจเหนือตลาด คนที่กำกับดูแลอย่างคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ต้องเข้ามาจัดระเบียบใหม่ หรือย่างกรณีที่กลุ่มทรูฟ้องร้องเอไอเอสที่ลดราคาค่าบริการว่ามีอำนาจเหนือตลาด ขณะที่กลุ่มทรูเองก็ไปทำลักษณะเช่นกัน แต่เป็นอุตสาหกรรมอื่น ฉะนั้นหน่วยงานที่มีอำนาจในการกำกับดูแลต้องเข้มแข็ง เพราะไทยเป็นการเอาการตลาดนำเทคโนโลยี และด้วยการผูกขาดทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ว่าบริการไหนดีจริง ไม่ดีจริง

ด้านไพสิฐ วัจนะปกรณ์ ผู้อำนวยการและผู้จัดการทั่วไปด้านบรอดแบนด์ บรอดแคส มัลติมีเดีย บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น ผู้ให้บริการสถานีโทรทัศน์ส่วนตัวผ่านทรู ไฮสปีด อินเทอร์เน็ต ในนามทรู ไอพีทีวี กล่าวว่า บรอดแบนด์ทีวีเป็นการดูทีผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งต้องใช้แบนด์วิธจำนวนมากจึงจะสามารถดูได้ชัด และขยายให้ใหญ่ได้โดยที่ภาพไม่แตก ซึ่งต้องใช้สปีดอย่างต่ำ 1 เมกะบิตต่อวินาที ขณะที่ไอพีทีวีความเร็วขนาด 256 กิโลบิตต่อวินาทีก็สามารถดูได้แล้ว

แต่อุปสรรคและปัญหาในการทำตลาดของทรู ไอพีทีวีคือการให้ความรู้ความเข้าใจกับตลาด ที่ผู้บริโภคยังไม่เข้าใจในตัวบริการ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us