|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กาโตว์ เฮ้าส์ เบเกอรี่แบรนด์ไทยที่ดำเนินธุรกิจสู่ปีที่ 20 ในปีหน้านี้ กับจำนวนสาขาที่มากถึง 40 สาขากระจายตามช้อปปิ้ง มอลล์ โมเดิร์นเทรดต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ ล่าสุด กับแนวคิดผู้บริหารที่เล็งเห็นโอกาสการเติบโตของธุรกิจเบเกอรี่ แฟรนไชส์จึงเป็นกลยุทธ์หนึ่ง เพื่อใช้รุกธุรกิจตามแหล่งชุมชนต่างๆ
คีออส-คอร์นเนอร์ ลุยชุมชน ลงทุนรระดับแสนถึงล้านเศษ
ปาริฉัตร ไหลสาธิต กรรมการผู้จัดการ บริษัท กาโตว์ เฮ้าส์ จำกัด กล่าวกับ “ผู้จัดการรายสัปดาห์” ว่า ในปี 2550 บริษัทมีความพร้อมที่จะขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ โดยเบื้องต้นไว้วางไว้ 2 รูปแบบคือ คีออส และคอร์นเนอร์ มีที่นั่งรับประทานพร้อมเครื่องดื่มเสิร์ฟ
กับการขยายสู่แฟรนไชส์ เพราะเล็งเห็นโอกาสการเติบโตของธุรกิจเบเกอรี่ที่ยังมีอยู่อีกมาก ขณะเดียวกันที่ผ่านมาการขยายสาขาของบริษัทกว่า 40 สาขานี้ค่อนข้างครอบคลุมพื้นที่กลุ่มเป้าหมาย แต่ทั้งนี้ในส่วนของแฟรนไชส์นั้นจะมาเติมเต็มพื้นที่ ที่มีโอกาสแต่ทางบริษัทยังมองพลาดหรือเล็งไม่ถึงว่าเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง
"ที่ผ่านมาบริษัทค่อนข้างให้ความสำคัญกับพื้นที่ในช้อปปิ้งมอลล์ และโมเดิร์นเทรดมากกว่า ส่วนพื้นที่เล็กๆ จะเข้าตามซุปเปอร์มาร์เก็ต แต่ทั้งนี้ในชุมชนต่างๆ เรามองว่าเป็นโอกาสของธุรกิจ ซึ่งคนที่ทำธุรกิจหรืออยู่ในทำเลนั้นๆ น่าจะสามารถบริหารได้ดีกว่าที่บริษัทลงไปดำเนินการเอง"
ปาริฉัตร กล่าวเพิ่มเติมว่า ตลอดระยะเวลาครึ่งปีที่ผ่านมามาได้ใช้ 2-3 สาขาทดลองบริหารจัดการในรูปแบบแฟรนไชส์ โดยสั่งตรงจากส่วนกลางหรือสำนักงานใหญ่ ทั้งการกำหนดสินค้า เป้าหมายยอดขายต่อสาขา การควบคุมคุณภาพสินค้า และการบริการจัดการภายในร้าน โดยกำหนดขีดความสามารถของพนักงานลงในพื้นที่ทดลองรูปแบบแฟรนไชส์หรือเป็นการนำระบบไปสวม เพราะจากที่ผ่านมาการบริหารร้านสาขาผู้จัดการสาขาจะเป็นผู้ดำเนินการในการสั่งสินค้าเข้าร้านเอง
"กับแนวคิดแฟรนไชส์นี้ ยอมรับว่าจุดเริ่มต้นมาจากความหลากหลายของรูปแบบร้านทั้งร้านขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ โดยเฉพาะร้านขนาดเล็กขยายตัวค่อนข้างมาก การเข้าไปบริหารพบปัญหาการหมุนเวียนพนักงานสูงทำให้การถ่ายทอดงานต่อพนักงานใหม่ไม่ทัน การรับรู้ข้อมูลลูกค้า สินค้าที่ขายได้ในสาขาไม่ต่อเนื่องเวลาสั่งสินค้าเข้าร้าน จึงนำระบบควบคุมโดยส่วนกลางลงไปใช้ ซึ่งเป็นคอนเซ็ปต์การบริหารเดียวกันกับแฟรนไชส์ ทำให้เกิดแนวคิดการขยายแฟรนไชส์ขึ้น"
"ทั้งนี้ ในแง่บวกแล้ว ที่ผ่านมาร้านต่างๆ บริหารโดยพนักงานบริษัท แต่กับรูปแบบแฟรนไชส์ผู้บริหารร้านคือเจ้าของที่เข้ามาลงทุน ฉะนั้นแนวทางการบริหาร จัดการร้าน กระทั่งการควบคุมค่าใช้จ่ายคือเจ้าของดูแลเอง อาจทำให้การบริการจัดการ ควบคุมค่าใช้จ่ายได้ประสิทธิภาพมากกว่าการพนักงานดูแลเอง"
"ก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสที่เรามองว่าจะขยายตัวได้ ด้วยการขายแฟรนไชส์ เขาพร้อมเข้ามาเสี่ยงบริหาร และมีความมั่นใจ ตั้งใจ ทำให้สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เป็นไปได้ เพราะการที่เราเป็นเจ้าของเองทั้งหมดการขับเคลื่อนมันเกิดจากเราไปข้างล่าง แต่แฟรนไชซี ต้องทำให้ได้กำไร ก็จะเป็นการส่งเสริมให้ธุรกิจขยายตัวได้มากขึ้น"
ปาริฉัตร กล่าวถึง รูปแบบการลงทุนว่าได้วางไว้ 2 ขนาดคือคีออสและคอร์นเนอร์ การลงทุนระดับแสนบาทไปจนถึงล้านเศษ โดยประเภทสินค้าที่มีทั้งหมด 100 ไอเท็ม นั้นจะวางสินค้าไม่ทั้งหมด ซึ่งจะดูสินค้าที่ขายดีและพื้นที่ในการวางจำหน่ายเป็นหลัก ทำเลจะเจาะตามแหล่งชุมชนที่มีศักยภาพ โดยแฟรนไชซีเสนอพื้นที่เข้ามา
หากมองถึงความพร้อม บริษัทดำเนินธุรกิจมานานเข้าสู่ปีที่ 20 มีทั้งโรงงานผลิตที่จังหวัดนครปฐม มีกำลังการผลิตเต็มที่ 2 ล้านชิ้นต่อเดือน สามารถรองรับการขยายสาขาได้อีกมาก บวกกับระบบการขนส่งสินค้าวันต่อวันและวันละหลายเที่ยวต่อสาขาเพื่อให้สินค้ามีความสดใหม่ รวมถึงระบบออนไลน์แต่ละสาขาที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลถึงกันได้ทันที
จุดแข็งเบเกอรี่แบรนด์ไทยผ่าพายุการแข่งขันเดือด
ปาริฉัตร กล่าวว่า ตลอดกว่า 20 ปีกาโตว์ เฮ้าส์ ได้พิสูจน์ รสชาติ ความหลากหลายสินค้าและการพัฒนาสินค้าใหม่อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการสามารถยืนหยัดภายใต้การแข่งขันธุรกิจเบเกอรี่ที่ปัจจุบันมีทั้งแบรนด์ไทยและต่างชาติจำนวนมาก
แต่ด้วยจุดยืนคุณภาพสินค้า สามารถสมเหตุสมผล ทำให้การดำเนินธุรกิจ ยอดขายที่ผ่านมาแต่ละสาขาไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด กับความหลากหลายของสินค้าปัจจุบันกว่า 100 ไอเท็ม หรือ 6 ประเภท ได้แก่ ขนมปัง ครัวซอง& แดนิช พาย คุกกี้ เปี๊ยะ เค้ก
"มีการพัฒนาสินค้าให้ลูกค้ามั่นใจ เพิ่มลูกค้าใหม่ในอนาคต แม้ราคาต้นทุนสินค้าจะเพิ่มขึ้นแต่ไม่ได้ลดคุณภาพลง แต่ยังคงสินค้ากลุ่มนี้ไว้ แต่ได้พัฒนาสินค้าใหม่เพื่อรองรับกำลังซื้อของผู้บริโภคในช่วงนั้น”
ส่วนเครื่องดื่มนั้นมีทั้งเครื่องดื่มร้อน เย็นและเครื่องดื่มบรรจุขวดพร้อมดื่ม และเตรียมเพิ่มมุมกาแฟแยกออกมาต่างหากอีกด้วย
ปาริฉัตร กล่าวถึง ภาพรวมการแข่งขันธุรกิจเบเกอรี่ว่า ที่ผ่านมามีการแข่งขันสูงอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยกาโตว์ เฮ้าส์ ได้เริ่มธุรกิจเบเกอรี่เป็นรายแรก ๆทำให้มีประสบการณ์การรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ได้ค่อนข้างดี ทำให้ภาพรวมของธุรกิจบริษัทไม่ได้รับผลกระทบ
แม้แต่ช่วงตนปีที่ผ่านมาที่หลายฝ่ายต่างคาดการณ์การแข่งขันรุนแรง เพราะการเข้ามาของเบเกอรี่แบรนด์ต่างชาติ เช่น ขนมปังก้อนสไตล์เม็กซิกันบัน มีการขยายสาขาจำนวนมาก แต่ทายที่สุดธุรกิจเบกอรี่ค่อนข้างแบ่งกลุ่มลูกค้ากันชัดเจน เพราะด้วยรูปลักษณ์ขนม รสชาติ ที่แต่ละแบรนด์มีเอกลักษณ์ของตนเองแตกต่างกันไป
เปิดแผนลงทุนผนึกพาร์ทเนอร์ ผุดโรงงานใหม่ลุยภาคเหนือ
ส่วนการขยายสาขาในอนาคตนั้น กับพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และในบางจังหวัดที่สามารถเดินทางไปกลับภายในวันเดียวนั้น จะเน้นไปที่แฟรนไชส์ทั้งคีออสและคอนเนอร์ เพื่อใช้โรงงานผลิตจากที่เดียวกันคือที่จังหวัดนครปฐม ด้วยคงความสดใหม่ของสินค้าในวันต่อวัน
แต่ด้วยโอกาสธุรกิจเบเกอรี่ที่ได้กล่าวมาในตอนต้นนั้น ล่าสุดมีแผนขยายธุรกิจในภูมิภาคเริ่มที่ภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่ก่อน โดยจับมือกับพันธมิตรนักลงทุนท้องถิ่น เพื่อร่วมลงทุนโรงงานผลิตเบเกอรี่ภายใต้แบรนด์กาโตว์ เฮ้าส์ รองรับตลาดในพื้นที่ภาคเหนือทั้งหมด
“คาดว่าจะสามารถสรุปแผนงานในส่วนนี้ได้ก่อนปลายปี ทั้งนี้การร่วมลงทุนกับพาร์ทเนอร์ อาศัยคอนเน็คชั่นในพื้นที่ นักธุรกิจที่มีศักยภาพ เพื่อลงทุนร่วมกันสร้างโรงงาน เพราะตลาดต่างจังหวัดเป็นตลาดที่เติบโตสูง กำลังซื้อผู้บริโภค การรับรู้ในสินค้า จึงมองส่าเป็นโอกาสกับการขยายธุรกิจในรูปแบบนี้”
แต่กับพื้นที่ภาคอื่นๆ นั้น คงเป็นแผนระยะยาวที่ตามมา โดยมองที่ภาคเหนือก่อน เพราะพฤติกรรมผู้บริโภค กลุ่มลูกค้าค่อนข้างใกล้เคียงกับกรุงเทพฯ ปริมณฑลที่เป็นฐานลูกค้าหลักอยู่แล้ว แต่กับภาคใต้ภูเก็ตนั้น ตนมองว่ายังเป็นพื้นที่ปิด ต้องอาศัยนักท่องเที่ยวต่างชาติซึ่งไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายในปัจจุบัน
กับเป้าหมายของบริษัท ในอนาคตนั้น ในปี 2550 หรือครบรอบ 20 ปีกาโตว์ เฮาส์ จะเห็นแผนในเชิงรุก ตามที่กล่าวมาเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนได้ในปีหน้านี้ และเป้าหมายการสร้างเบเกอรี่แบรนด์ไทยในการขยายสาขาไปยังต่างประเทศมีแน่นอน กับความคาดหวังในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะเวียดนามเป็นตลาดที่มีศักยภาพ
“นอกจากการขยายการลงทุนต่างๆ แล้ว เป้าหมายคือการสร้างแบรนด์เบเกอรี่ไทยกาโตว์ เฮ้าส์ ให้เป็นที่รู้จักของคนไทยทุกคน” ปาริฉัตร กล่าว
|
|
|
|
|