|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤศจิกายน 2549
|
|
สัปดาห์ที่ผ่านมา ดิฉันมีโอกาสเข้าร่วมสัมมนากับองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร (Nonprofit sector) ทำให้เห็นมุมมองอีกด้านหนึ่งของชาวแคนาเดียนที่ว่า มิได้แตกต่างจากผู้คนโดยทั่วไปนัก และอาจเป็นประเด็นของปัญหาได้ในอนาคตถ้าไม่เร่งเตรียมแผนการจัดการ
หัวข้อที่ตัวแทนจากองค์กรต่างๆ มากกว่า 120 คน ชูเป็นประเด็นสำคัญคือเรื่อง "Women in the Non Profit sector" จัดขึ้นโดย Alberta Network of Immigrant Women (ANIW) ที่เมืองกัลการี
ปัญหาส่วนใหญ่ที่ผู้เข้าร่วมสัมมนาหยิบยกมาพูด มีหลายประเด็น เช่น เรื่องความกลัวในการเผชิญหน้ากับปัญหา การสื่อสารทางด้านภาษา การเหยียดผิว ความไม่มั่นใจในงานที่ตัวเองทำอยู่ หรือแม้กระทั่งการไม่ยอมรับระบบการศึกษาที่ได้รับจากประเทศของตัวเอง
สถิติของแคนาดาระบุว่า ผู้หญิง immigrant ในแคนาดาทุกๆ 5 คนส่วนใหญ่มีการศึกษาดีกว่าผู้หญิงชาวแคนาดาโดยทั่วไป แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จตามวิชาชีพที่เท่าที่ควร โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ใน ตลาดแรงงาน
ในรายงานของ The National Survey of Nonprofit and Voluntary Sector Organizations (NSNVO) ปี 2004 มีสถิติที่น่าสนใจว่า องค์กรดังกล่าวจำนวน 19,000 หน่วยงานนั้น สร้างแรงงานให้ชาวแอลเบอร์ตา มากกว่า 176,000 คน โดยมีอาสาสมัครถึง 2.5 ล้านคน ที่เสียสละเวลาทำงานให้กับชุมชน 449 ล้านชั่วโมง และส่งผลต่อรายได้ทางเศรษฐกิจ 9.6 ล้านเหรียญต่อปี
ไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อว่า ชาวแคนาเดียน นิยมเป็นอาสาสมัครกันเป็นจำนวนมาก เพราะ พวกเขาเชื่อมั่นว่าการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ถือเป็นเรื่องสำคัญในการสร้างพื้นฐานความมั่นคงให้สังคมมีความน่าอยู่ยิ่งขึ้น
หากแต่เจ้าหน้าที่ภายในองค์กรจำนวน ไม่น้อย มีการจ้างงานตามฤดูกาล บางคนทำงานลักษณะชั่วคราว (part time หรือ casual) ที่มีการเซ็นสัญญาว่าจ้างที่ขึ้นอยู่กับความจำเป็น หรือความเร่งด่วนของโครงการในหน่วยงานนั้นๆ ซึ่งส่งผลต่อหลักประกันในการทำงานของลูกจ้าง เช่น สิทธิประโยชน์ ของลูกจ้าง การเบิกค่ารักษาพยาบาล การฝึกอบรม เพราะองค์กรบางแห่งไม่มีแผนงานในการรองรับดังกล่าว
นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านการจัดการภายในองค์กร การวางแผนงาน ความเป็นผู้นำในองค์กร ความกดดันในสถานที่ทำงาน การจัดหาทุนสนับสนุน ระดับค่าจ้างแรงงาน อัตราการทำงานที่มากกว่าที่กำหนด การพัฒนาและการฝึก อบรมแก่พนักงาน
เสียงของผู้ร่วมสัมมนาบางคนเสนอให้มีการจัดตั้งสหภาพขึ้นมาโดยตรง เพราะต้องการเห็นหน่วยงานพิเศษ ที่มีสภาพคล้ายกับ Human Right Committee ที่สามารถคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของตัวเองได้ในอนาคต
หากแต่เรื่องดังกล่าวเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมเห็นว่าจะเป็นการซ้ำซ้อนกับหน่วยงานโดยตรงที่มีอยู่แล้ว และดูเหมือนว่าจะเกินกว่าความเป็นจริง ทางออกที่พวกเขาบอกว่าน่าจะเป็นไปได้มากที่สุด คือการสร้าง "ศูนย์กลาง" ที่พวกเขาสามารถแสดง ออกถึงปัญหา หรือความเห็นของลูกจ้างได้อย่างอิสระมากกว่าจะต้องเก็บไว้ภายในรอวันที่จะระเบิด
เหตุใดหญิง immigrant จำนวนไม่น้อยนิยมทำงานใน Non profit sector
สิ่งหนึ่งที่หญิง immigrant ยอมรับในการทำงานในหน่วยงานดังกล่าว เพราะเห็นว่า เป็นทางหนึ่งในการช่วยเหลือ หรือสนับสนุนสังคม บางคนบอกว่าเป็นหนทางหนึ่งในการสั่งสมประสบการณ์ เหมือนเป็นโรงเรียนฝึกฝนวิชาชีพ ก่อนมองหาตลาดแรงงานอื่น บางแห่งมีระดับรายได้เทียบเท่ากับหน่วยงานเอกชนหรือดีกว่าด้วยซ้ำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับองค์กร นั้นๆ
Leslie Cheung นักวิจัยจาก Simon Fraser University เปิดเผยว่า ประเด็นเรื่องการสื่อสารทางด้านภาษา ที่ชาว immigrant กังวลนั้น ไม่น่าจะเป็นปัญหาสำคัญ เพราะจากการศึกษาวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ พบว่า คนรุ่นใหม่ที่เกิดในแคนาดาจำนวนไม่น้อยที่มีระดับ การศึกษาดี ไม่มีปัญหาด้านภาษาในการทำงาน แต่มีบิดาหรือมารดาเป็นชาวต่างชาติ นั้น กลับไม่ได้รับความเป็นธรรมในการว่าจ้าง แรงงาน
ทั้งนี้อัตราการว่างงานของ immigrant ทั่วไปอยู่ที่ 9.1% ขณะที่คนผิวขาวโดยทั่วไป อยู่ที่ 5.5% และผู้หญิง immigrant อยู่ที่ 11.5% ช่องว่างของรายได้ของชาว immigrant อยู่ที่ 20.1% หรือ 6,131 เหรียญต่อปี โดยได้รับค่าจ้าง 16.09 เหรียญ/ชม. ขณะที่ลูกจ้างทั่วไปได้รับ 17.66 เหรียญ/ชม.
Cheung บอกว่า เราคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าปัญหาการเหยียดสีผิวเป็นสิ่งที่เราควรยอมรับ และหาหนทางในการแก้ไข มากกว่าจะปล่อยปละละเลย หรือบอกว่าเป็นเรื่องไร้สาระ
Nonprofit sector ส่วนใหญ่ได้รับการ สนับสนุนจากรัฐบาลแคนาดา โดยมีการจัด สรรเงินทุนตามระยะเวลาของโครงการการ วิจัย และแผนงาน ตามความจำเป็นเร่งด่วนก่อนหลัง ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กรว่าผู้นำของ องค์กรใดสามารถเขียนโครงการและดำเนิน การตามแผนที่วางไว้ได้มากน้อยเพียงใด
Glen Werner ผู้จัดการฝ่ายบริหารของ Alberta Nonprofit/Voluntary Sector Initiative (ANVSI) บอกว่า ปัญหาสำคัญที่เรามองข้ามอันหนึ่ง น่าจะเป็นเรื่องการเสนอโครงการ หรือแผนงานที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง โดยเฉพาะเราจำเป็นต้องสร้าง เครือข่ายของความร่วมมือระหว่างองค์กรหรือชุมชนระหว่างกัน และมีการพัฒนาอย่าง ต่อเนื่องและเป็นระบบ เพื่อทำงานร่วมกับแผนงานของรัฐบาล
"เราต้องยอมรับว่าองค์กรของเราจำนวนไม่น้อย ต่างทำงานแบบเฉพาะตัว เขียนโครงการเพื่อขอทุน แต่ไม่มีการสื่อสารระหว่างองค์กรว่าแผนงานหรือโครงการนั้นๆ มีความคืบหน้าเพียงใด ทำให้รัฐบาลเล็งเห็นถึงปัญหาการเสนอโครงการซ้ำซ้อน หรือไม่จำเป็นตามสภาพปัจจุบัน ซึ่งเราต้องทำแผนงานให้เป็นรูปร่าง เพื่อเสนอขอทุน จากรัฐบาลในต้นปี 2007"
Randy A. Sorensen ตัวแทนจาก Alberta Human Resources and Employment เห็นว่า หากพนักงานใน องค์กรใด ประสบปัญหาไม่ได้รับความยุติธรรมด้านแรงงาน สามารถติดต่อกับหน่วยงานของรัฐได้ทุกเมื่อ ทั้งทางเว็บไซต์ โทรสาร หรืออาจมาแจ้งความประสงค์ต่อเจ้าหน้าที่ของเราโดยตรง
การเปิดโอกาสให้มีการประชุม การอบรมสัมมนา หรือการวิจัยของชาว immi-grant มีขึ้นแทบทุกปี บางคราวจัด 2-3 รอบ ขึ้นอยู่กับประเด็น หัวข้อ ของแต่ละหน่วยงาน ว่าจะหยิบยกเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมาพิจารณาเป็นพิเศษ ถือเป็นเวทีหนึ่งในการเปิดโอกาส และหนทางหนึ่งในการแสดงออกของชาว immigrant
ผู้เข้าร่วมสัมมนาจำนวนไม่น้อย แสดง ความเห็นว่า สิ่งสำคัญที่ต้องร่วมกันสร้างคงหนีไม่พ้นเรื่องการสร้างความมั่นใจตัวเอง ด้วย การพัฒนาฝึกอบรมให้มีเสียงร่วมกัน ที่จะสามารถแสดงออกด้วยการล็อบบี้ ทั้งจากภายในองค์กรที่ตนทำงานอยู่ไปถึงหน่วยงาน ของรัฐบาล
ผลรายงานวิจัยจากหลายหน่วยงานดังกล่าว ทำให้สหภาพแรงงานของแคนาดา (Canadian Labor Congress) เล็งเห็นความ สำคัญของประเด็นดังกล่าวไม่น้อย เพราะนั่น เป็นสัญญาณที่รัฐบาลแคนาดาไม่ควรมองข้าม เนื่องจากปัญหานี้อาจจุดประกายได้ เช่นที่เกิด เหตุการณ์ประท้วงของชาว immigrant ต่อรัฐบาลฝรั่งเศสเมื่อเร็วๆ นี้
|
|
|
|
|