Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2549
บริษัทไฟแนนซ์ล้ม กับบทเรียน "ความเสี่ยง"             
โดย อนิรุต พิเสฏฐศลาศัย
 

 
Charts & Figures

Default rate ของ Junk bonds


   
search resources

Financing




คำว่า "ความเสี่ยง" หรือ "Risk" เหมือนจะเป็นคำที่คนทั่วไปมักมองข้าม และบางท่านยังเชื่ออีกด้วยว่าเป็นศัพท์เฉพาะที่ใช้ในตำราการเงินเท่านั้น โดยที่หลายๆ คนมักให้เหตุผลว่า ถ้าไม่เสี่ยงก็ไม่ "รวย" ซึ่งตรงจุดนี้ก็ไม่ผิดจากหลักของ "ความเสี่ยง" ในวิชาการเงินแต่อย่างใด เพียงแต่ว่าในวิชาการเงินยังเพิ่มเติมอีกด้วยว่า ยิ่งเสี่ยงมากเท่าไร โอกาส "เจ๊ง" ก็มีอยู่สูงเป็นเงาตามตัว เช่นกัน

ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา บริษัทไฟแนนซ์ ถึง 3 แห่งในนิวซีแลนด์ ต้องประกาศล้มละลายปิดกิจการลง ผู้ได้รับผลกระทบโดย ตรงก็คือ นักลงทุนรายย่อยที่ต้องสูญเงินจาก การซื้อตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทเหล่านี้ไป

อันที่จริงแล้ว การล้มของบริษัทไฟแนนซ์ หรือแม้กระทั่งธนาคารพาณิชย์ อาจจะไม่ใช่เรื่องน่าแปลกมากนัก เพราะถ้ามองในแง่งบดุล ธุรกิจเหล่านี้เป็นธุรกิจที่มี ความเสี่ยงที่มาจาก financial leverage สูงกว่าอุตสาหกรรมประเภทอื่น เนื่องจากเป็น ธุรกิจที่มีสัดส่วนทุนที่มาจากเจ้าของกิจการ (capital) ต่ำ

อย่างเช่นธุรกิจธนาคารพาณิชย์ โดย ทั่วไป 90% ของเงินทุนทั้งหมดมาจากการก่อหนี้สิน (liabilities) ซึ่งอยู่ในรูปเงินฝากและเงินกู้ในรูปแบบอื่นๆ (อย่างเช่น การออก ตราสารหนี้) ส่วนเงินทุนของเจ้าของกิจการ (capital) นั้นจริงๆ มีเพียงแค่ 10% ของแหล่งเงินทุนทั้งหมดเท่านั้น และด้วยสาเหตุนี้เอง ถ้าแบงก์หรือบริษัทไฟแนนซ์ประสบปัญหาการขาด ทุนครั้งใหญ่เมื่อใด ทุนจากเจ้าของที่มีอยู่น้อย ก็อาจไม่เพียงพอ ที่จะรองรับการขาดทุนครั้งนั้นๆ

สาเหตุการล้มของบริษัทไฟแนนซ์ ทั้ง 3 แห่งนั้น เป็นผลมาจาก "หนี้เสีย" หรือ การขาดทุนในการปล่อยกู้ในตลาดรถยนต์มือสอง (ชาวนิวซีแลนด์ส่วนใหญ่นิยมซื้อรถยนต์มือสองจากญี่ปุ่น) ซึ่งก็เป็นสาเหตุที่ค่อนข้างสร้างความแปลกใจให้คนทั่วไปอยู่ไม่น้อย เพราะในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา เป็นช่วง ขาขึ้นของเศรษฐกิจนิวซีแลนด์ อัตราการว่างงานก็อยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ (ที่ระดับ 3.6%) จำนวนคนหนีหนี้เงินผ่อนจึงไม่น่ามีมากขนาดล้มบริษัทไฟแนนซ์ได้ถึง 3 แห่ง

แต่ถ้าเราลองมาวิเคราะห์ดูดีๆ สาเหตุหนี้เสียก็มีเค้าความจริงอยู่มาก เนื่องจากแม้ว่าเศรษฐกิจจะเป็นช่วงขาขึ้น ราคาบ้านและอสังหาริมทรัพย์ถีบตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่หนี้ครัวเรือนก็พุ่งสูงขึ้นเป็นเงาตามตัวด้วยเช่นกัน (คนทั่วไปมักกู้เงินเพื่อซื้อบ้าน และธนาคารก็มักจะปล่อยเงินกู้เพิ่มขึ้นเวลาที่ราคาบ้านสูงขึ้น และครัวเรือนก็มักกู้เพิ่มขึ้นเพื่อนำไปบริโภค) จากตัวเลขล่าสุด อัตราหนี้ของครัวเรือนเทียบกับรายได้นั้น ถีบ ตัวเพิ่มขึ้นถึง 50% ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา และ ด้วยขนาดหนี้ในระดับนี้ ภาระดอกเบี้ยที่ครัวเรือนต้องแบกรับ จึงมีความอ่อนไหวกับอัตรา ดอกเบี้ยเป็นอย่างมาก และในช่วง 3 ปีที่ผ่าน มา ก็เป็นช่วงขาขึ้นของดอกเบี้ยในนิวซีแลนด์ เมื่อดอกเบี้ยขึ้น โอกาสที่ครัวเรือนหนี้สูงเหล่านี้ จะไม่สามารถผ่อนส่งบ้าน รถยนต์ และสินค้า เพื่อการบริโภคอื่นๆ ได้ ก็สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว

โดยเฉพาะนิวซีแลนด์กำลังเข้าสู่เศรษฐกิจยุคชะลอตัว การล้มละลายของครัวเรือนก็คงจะเห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นและ "หนี้เสีย" ของครัวเรือนเหล่านี้เอง ก็จะถูกบรรจุส่งผ่านเข้าระบบธนาคารพาณิชย์ และธุรกิจการเงินประเภทอื่นๆ โดยสถาบันจัดอันดับเครดิตเรตติ้ง อย่าง Standard & Poor's เชื่อว่าบริษัทไฟแนนซ์ในนิวซีแลนด์ที่จะต้องปิดกิจการลง จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นในปีข้างหน้า

ดังนั้นตรงจุดนี้จึงดูเหมือนว่า บริษัทไฟแนนซ์หลายแห่งในนิวซีแลนด์นั้นประเมิน ความเสี่ยงในการปล่อยกู้ รวมถึงความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นผิดพลาด จนนำไปสู่การล้มละลาย หรืออาจต้องปิดกิจการลงในอนาคตอันใกล้

และเนื่องจากธรรมชาติของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ที่มีสัดส่วนทุนที่มาจากเจ้าของต่ำ ธุรกิจประเภทนี้จึงเป็นธุรกิจที่ถูกกำกับดูแลและตรวจสอบอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่ประเทศในกลุ่ม OECD ที่ไม่มีระบบค้ำประกันเงินฝาก การตรวจสอบและกำกับธนาคารพาณิชย์ จึงเป็นไปอย่างเข้มงวดทุกขั้นตอน ซึ่งธนาคารส่วนใหญ่ในนิวซีแลนด์ ก็มีสภาพทางการเงินที่แข็งแรง

ปัญหาอยู่ตรงที่ว่า ธุรกิจการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non-bank financial institu-tions) ซึ่งรวมถึงบริษัทไฟแนนซ์นั้น ยังไม่ได้ถูกควบคุมและตรวจสอบที่ดีพอ ซึ่งก็พอทำ ความเข้าใจได้ เนื่องมาจากธุรกิจประเภทนี้ เริ่มขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และถ้าเปรียบเทียบในเชิงทรัพย์สิน ธุรกิจประเภทนี้มีขนาดเพียงแค่ 10% ของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด

ในขณะนี้ผู้วางนโยบายทั้งหลายก็กำลัง คิดหาวิธีการกำกับดูแลและตรวจสอบธุรกิจไฟแนนซ์ให้รัดกุมเหมือนธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมาตรการหนึ่งที่คาดว่าจะถูกนำมาใช้ก็คือ การจัดทำเครดิตเรตติ้ง (credit rating) ของบริษัทไฟแนนซ์เหล่านี้ เหมือนอย่างเช่นที่ทำกับธนาคารพาณิชย์ ซึ่งก็เป็นมาตรการที่ดี เพราะผลที่จะตามมาก็คือทำให้บริษัทไฟแนนซ์ ที่ไม่เข้ามาตรฐานหรือมีความเสี่ยงสูง และไม่อยากจะปรับตัวยากที่จะดำเนินงานต่อไปได้

นักวิเคราะห์หลายคนให้ความเห็นว่า ถ้าตราสารหนี้ของบริษัทไฟแนนซ์เหล่านี้ ถูกจัดเครดิตเรตติ้ง ตราสารหนี้เหล่านี้ โดย ส่วนใหญ่ก็คงจะตกอยู่ในกลุ่ม Junk bonds หรือตราสารหนี้กลุ่มความเสี่ยงสูง (ดู Default rate ของ Junk bonds ได้จากตาราง) ซึ่งตรงจุดนี้เองก็จะไปกดดันให้บริษัทไฟแนนซ์หลายแห่งต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเวลาที่ออกตราสารหนี้ใหม่ ซึ่งก็เป็นต้นทุนโดยตรงที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นบริษัทไฟแนนซ์ที่มีความเสี่ยง สูงและไม่มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานก็ไม่น่าจะอยู่ได้ ส่วนบริษัทไฟแนนซ์ที่มีประสิทธิ ภาพและมีการบริหารความเสี่ยงที่ดี ก็น่าจะไม่มีผลกระทบอะไรมากนัก

ส่วนบทเรียนของนักลงทุนรายย่อย จากการซื้อตราสารหนี้เหล่านี้ก็คือ ไม่ใช่ว่าห้ามลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง แต่เวลาที่เสี่ยงอย่ามองแต่ "ผลตอบแทน" หรือ "Return" เพียงด้านเดียว ต้องมองว่าผลตอบแทนที่ได้เพิ่มขึ้นนั้น เหมาะกับ "ความเสี่ยง" ที่เพิ่มขึ้น ไหม ซึ่งสถาบันจัดอันดับเครดิตเรตติ้งอย่าง Moody's แนะว่า ผลตอบแทนที่ควรจะได้รับ จาก Junk bonds ควรจะสูงกว่าผลตอบแทน จากพันธบัตรรัฐบาลอยู่ 4-5% ต่อปี ซึ่งผลตอบแทนจากตราสารหนี้ของบริษัทไฟแนนซ์เหล่านี้ก็ไม่ได้สูงถึงขนาดดังกล่าว

โดยสรุปผมคิดว่า "ความเสี่ยง" นั้นคล้ายกับไวรัส ในเวลาที่ร่างกายของเราแข็งแรง สมบูรณ์ แม้จะติดเชื้อไวรัสนิดหน่อย ร่างกายก็สามารถสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต้าน ทานได้ แต่ไวรัสกับความเสี่ยง มักจะจู่โจมในเวลาที่ร่างกายของเราอ่อนเพลีย หรือในช่วงเศรษฐกิจถดถอยและผู้คนตกงาน ไวรัสและความเสี่ยงก็จะเข้าซ้ำเติมร่างกายที่อ่อนแอให้ทรุดหนัก และเศรษฐกิจของท่านให้เข้าขั้นโคม่าได้ง่าย ดังนั้นเวลาที่เศรษฐกิจสดใส ธุรกิจเฟื่องฟู "ความเสี่ยง" เป็นคำที่หลายคนมักมอง ไม่ค่อยเห็น แต่อย่าลืมเป็นอันขาดว่า ความเสี่ยง นั้นพร้อมที่จะถามหาท่านเสมอ ในเวลาที่ฟ้าไม่ค่อยจะเป็นใจ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us