Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2549
เมื่อ London Black Cabs เปลี๊ยนไป๋!             
โดย วริษฐ์ ลิ้มทองกุล
 


   
search resources

Auto Manufacturers




ต้นเดือนตุลาคม บนเที่ยวบินฮ่องกง-ลอนดอน ของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิก ผมนั่งพลิกอ่านหนังสือพิมพ์ The Standard และพบข่าวชิ้นหนึ่งระบุว่า ในอีกไม่ถึงสองปีข้างหน้านี้แท็กซี่สีดำทรงคลาสสิกที่รู้จักกันในนาม "London Black Cabs" กำลังจะย้ายฐานการผลิตหลักไปอยู่ประเทศจีน!

เมื่อวันที่ 4 ตุลาคมที่ผ่านมา ระหว่างที่ชาวจีนแผ่นดินใหญ่กำลังอยู่ในช่วงของการเฉลิม ฉลองวันชาติประจำปี ตัวแทนจากทั้งสองบริษัท ก็ได้ลงนามกันในบันทึกช่วยจำ (Memorandum of Understanding หรือ MOU) ก่อนที่จะมีการเซ็นสัญญากันอย่างเป็นทางการในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ โดยก่อนหน้านี้ข่าวการเจรจาของ บริษัททั้งสองไม่มีหลุดรอดออกมาถึงหูนักข่าว ทั้งฝั่งอังกฤษและจีนเลยแม้แต่น้อย

ข่าวใน นสพ. The Standard ระบุว่า บริษัท "Manganese Bronze Holding" ผู้ผลิต แท็กซี่ลอนดอน รายใหญ่ที่สุดของอังกฤษ ได้บรรลุข้อตกลงกับบริษัท "Geely Holding Group" บริษัทผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติจีนรายหนึ่ง ในการจะตั้งบริษัทร่วมทุน (JV) แห่งใหม่ขึ้น เพื่อผลิตรถแท็กซี่สีดำทรงคลาสสิกนี้ที่โรงงานในเครือ Geely ณ มหานครเซี่ยงไฮ้ ภายใน ค.ศ.2008

สำหรับรายละเอียดของบริษัทร่วมทุนแห่งใหม่ที่กำลังจะมีการจัดตั้งขึ้น และแผนการดำเนินงานโดยคร่าวๆ ของบริษัทแห่งใหม่นั้น มีดังนี้คือ

บริษัทแห่งใหม่จะใช้เงินลงทุนทั้งหมด 53 ล้านปอนด์ โดยแบ่งเป็นเงินลงทุนจากฝั่งบริษัทอังกฤษคือ Manganese Bronze จำนวน 19.85 ล้านปอนด์ หรือคิดเป็นร้อยละ 37.4 (ในจำนวนนี้เป็นค่าลิขสิทธิ์ทางปัญญาในการผลิตแท็กซี่จำนวน 5.6 ล้านปอนด์) และเป็นเงินลงทุน จากฝั่งบริษัทจีน คือ Geely เป็นจำนวน 33.15 ล้านปอนด์ หรือคิดเป็นร้อยละ 62.6 โดยภายใน 5 ปีหลังจากตั้งบริษัทแล้ว ผู้ร่วมทุนทางฝั่งอังกฤษ มีสิทธิ์ที่จะเพิ่มสัดส่วนหุ้นของตัวเองขึ้นเป็นร้อยละ 50 ได้

ทั้งนี้ บริษัทร่วมทุนแห่งใหม่ดังกล่าว จะเป็นผู้ผลิตรถแท็กซี่ดำจำนวน 20,000 คันต่อปี ในโรงงานผลิตรถยนต์ของ Shanghai Maple Automobile (SMA) อันเป็นบริษัทลูกของ Geely ที่รับผิดชอบการผลิตรถยนต์ขนาดกลางยี่ห้อ "SMA" เพื่อป้อนตลาดภายในประเทศจีน

ขณะที่ในแง่ของการจัดจำหน่ายรถแท็กซี่ ดังกล่าว Geely จะได้สิทธิ์การจัดจำหน่ายทั่วเอเชีย โดยเฉพาะตลาดจีนที่ปัจจุบันมีแท็กซี่วิ่งอยู่ทั่วประเทศกว่าล้านคัน ขณะที่ Manganese Bronze จะครองสิทธิ์การจัดจำหน่ายแท็กซี่ดำในทวีปอื่นๆ ทั่วโลก

ท่านผู้อ่านหลายคนคงทราบดีว่า London Black Cabs นั้นเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของมหานคร ลอนดอน เช่นเดียวกับหอนาฬิกาบิ๊กเบน, ชิงช้าสวรรค์ ลอนดอนอาย, รถประจำทางสองชั้นสีแดง และตู้โทรศัพท์สาธารณะสีแดง

แต่ใครจะคาดคิดว่า หนึ่งในสัญลักษณ์ ของลอนดอนนี้กำลังจะกลายพันธุ์ ทั้งยังเป็นการกลายพันธุ์ที่เป็นการผสมกับสายพันธุ์ข้ามทวีป กับอุตสาหกรรมรถยนต์ของจีน ที่เพิ่งเกิดขึ้นได้ไม่กี่ปีมานี้เอง!

เพราะเหตุใดบริษัทผู้ผลิตแท็กซี่ลอนดอน รายใหญ่ที่สุดของอังกฤษอย่าง Manganese Bronze จึงตัดสินใจย้ายฐานการผลิตไปจีน และ ทำไมต้องเป็นบริษัทรถยนต์จีนที่ชื่อ Geely

ปัจจุบันในลอนดอนนั้น มีแท็กซี่ทรงคลาสสิกวิ่งอยู่บนท้องถนนราว 21,500 คัน (ทุก วันนี้แท็กซี่แบบนี้ไม่ได้มีสีดำเพียงอย่างเดียว แต่มีสีอื่น เช่น สีแดง สีเงิน สีน้ำเงินอีกด้วย) โดยในจำนวนรถสองหมื่นกว่าคันนี้ เป็นรถที่ผลิต โดย Manganese Bronze จำนวนร้อยละ 93 หรือเกือบ 20,000 คัน ขณะที่รถแท็กซี่ในส่วนที่เหลือนั้นผลิตโดยบริษัท Metrocab

นับตั้งแต่ ค.ศ.1948 หลังสงครามโลกเป็นต้นมา แท็กซี่ของ Manganese Bronze ก็มีฐานการผลิตอยู่ที่โรงงานในเมืองโคเวนทรี ที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงลอนดอนมาโดยตลอด และนับถึงปัจจุบันโรงงานดังกล่าว ผลิตรถแท็กซี่สีดำออกมาแล้วมากถึง 120,000 คัน ขณะที่ปีที่แล้วด้วยจำนวนพนักงาน 350 คน โรงงานในโคเวนทรี สามารถผลิตรถแท็กซี่ออกจากสายพานได้จำนวน 2,412 คัน โดยในปีที่แล้ว รถแท็กซี่ที่ผลิตจากโรงงานแห่งนี้มีราคาสูงถึงคันละประมาณ 22,000-30,000 ปอนด์ (ราว 1,540,000-2,100,000 บาท) เลยทีเดียว

ในยุคโลกานุวัตรที่บริษัทรถยนต์อังกฤษ ต่างถูกเทกโอเวอร์โดยบริษัทรถยนต์ต่างชาติไปเกือบหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากบริษัทรถยนต์ สัญชาติเยอรมัน ถ้าหาก Manganese Bronze ยังคงยึดติดอยู่กับความคิดอนุรักษนิยม คือยืนยันจะใช้อังกฤษเป็นฐานในการผลิตเพื่อขายใน ประเทศและส่งออก ก็คงไม่พ้นต้องขายกิจการให้บริษัทต่างชาติเป็นแน่แท้

ดังนั้น เพื่อให้บริษัทอยู่รอด Manganese Bronze จึงจำเป็นที่จะต้องรุกไปลงทุนยังต่างประเทศ เพื่อลดต้นทุนในการผลิตรถของตนให้ต่ำลง ทั้งยังถือเป็นการขยายตลาดผลิตภัณฑ์ของตนให้กว้างขวางขึ้นอีกด้วย

สำหรับลำดับขั้นของการรุกไปยังต่างประเทศของ Manganese Bronze บริษัทอังกฤษ แห่งนี้พยายามติดต่อกับต่างประเทศ เพื่อขยายการลงทุนมาตลอดหลายปี

โดยปัจจุบันบริษัทแห่งนี้ก็มีโรงงานเล็กๆ เพื่อผลิตแท็กซี่ดำในประเทศไทยด้วยเช่นกัน

ในส่วนของการหาผู้ร่วมทุนสัญชาติจีน Manganese Bronze ติดต่อบริษัทจีนมาตั้งแต่ ค.ศ.2001 แล้ว ครั้งแรกเป็นการติดต่อกับบริษัทBrilliance China Automotive Holdings เพื่อทำการผลิตรถแท็กซี่ลอนดอน ณ เมืองหนิงปอ มณฑลเจ้อเจียง แต่แผนดังกล่าวกลับต้องพับ ไปเมื่อ Brilliance ประสบปัญหาทางด้านการเงิน

กระนั้นบริษัทรถยนต์อังกฤษก็ยังไม่ยอมแพ้ โดยอีกสองปีต่อมาได้เปิดการเจรจากับ Bluestar Group (ปัจจุบันอยู่ในกลุ่มบริษัท Chem China Group) ที่มีฐานการผลิต อยู่ที่หลานโจว เมืองอุตสาหกรรมทางทิศตะวันตก เฉียงเหนือของประเทศจีน อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ Bluestar ไม่ได้เป็นผู้ผลิตรถยนต์อยู่ก่อน ประกอบกับใน ค.ศ.2004 รัฐบาลกลางของจีนภายใต้การนำของประธานาธิบดีหูจิ่นเทา ได้ประกาศใช้นโยบาย Soft Landing หรือนโยบาย ลดความร้อนแรงของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับมหภาค ทำให้แผนการขยาย กิจการของ Bluestar ไม่ผ่านการอนุมัติจากคณะ กรรมาธิการเศรษฐกิจในรัฐบาลกลาง สุดท้ายข้อตกลงระหว่าง Manganese Bronze กับบริษัท จีนจึงต้องล้มเลิกไปเป็นคำรบที่สอง

เมื่อพลาดหวังติดๆ กันถึงสองครั้ง ผู้บริหาร ของ Manganese Bronze จึงได้ข้อสรุปว่า บริษัทจีนที่จะทำการเจรจาด้วยเป็นครั้งที่สาม จะต้องเป็นบริษัทรถยนต์ที่มีพื้นฐานในการผลิตอยู่แล้ว มีกำลังการผลิตเพียงพอ และมีเครือข่ายในการจัดจำหน่ายด้วย... สุดท้ายก็ลงเอยกับ Geely

คงมีคนไทยน้อยคนนักที่รู้จักชื่อของ "Geely" หรือในเสียงจีนคือ "จิ๋ลี่" ที่แปลความหมายได้ว่า "โชคดี"

Geely เป็นบริษัทผลิตรถยนต์เอกชนที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน มีบริษัทแม่ตั้งอยู่ในมณฑลเจ้อเจียง โดยผลิตรถยนต์ขนาดเล็กที่มีเครื่องยนต์ขนาด 1.1, 1.3 และ 1.5 พันซีซี เพื่อ จำหน่ายในประเทศจีนเป็นหลัก (ขณะเดียวกัน ก็สร้างยี่ห้อ SMA เพื่อทำตลาดรถยนต์ขนาดกลาง)

11 กรกฎาคมปีที่แล้ว ผมเคยเขียนบทความเกี่ยวกับพัฒนาการของอุตสาหกรรมรถยนต์จีน เรื่อง "แล้วก็ถึงยุค (รถ) จีนบุกอเมริกา" ลงในเว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์ เนื่อง จากในช่วงนั้นมีข่าวแพร่สะพัดออกมาว่า มีบริษัทนำเข้ารถยนต์ในรัฐอริโซนา เจ้าหนึ่ง นาม "China Motor" ต้องการจะนำเข้ารถยนต์ที่ผลิต ในประเทศจีน ไปขายในสหรัฐฯ โดยหนึ่งในรถยนต์ที่บริษัทอเมริกันต้องการนำเข้าก็คือ รถยนต์ขนาดเล็กของ Geely นี่เอง!

จะเห็นได้ชัดว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา บริษัทรถยนต์จีนไม่ได้หยุดที่เพียงการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์เพื่อส่งออก หรือประกอบรถยนต์ราคาถูกเพื่อส่งออกเท่านั้น จากข้อตกลงระหว่าง Manganese Bronze กับ Geely ได้ชี้ให้เห็นว่า บริษัทรถยนต์ของจีนเองก็มีศักยภาพพอที่จะร่วมทุนกับบริษัทตะวันตก เพื่อผลิตรถยนต์คุณภาพระดับพรีเมียมเพื่อส่งออก

ขณะเดียวกัน ก็ยังมีข่าวจากสื่อมวลชนจีนรายงานด้วยว่า ในปีนี้ Geely ได้ขยายการลงทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเต็มตัวแล้ว โดยภายในสิ้นปีนี้ โรงงานของ Geely ใกล้ๆ กับเมืองจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ก็พร้อมที่จะผลิตรถยนต์ยี่ห้อ Geely ออกมาจำหน่ายในตลาดอินโดนีเซีย และส่งออกไปยังประเทศในภูมิภาคนี้อีกด้วย

คนไทยเราจำเป็นต้องจับตาอย่างใกล้ชิด ครับว่า อุตสาหกรรมรถยนต์ของจีนจะก้าวไปใน ทิศทางใด แล้วเราก็ต้องคิดล่วงหน้าด้วยว่า อุตสาหกรรมรถยนต์ของไทย จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไร   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us