Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2549
สะพานแขวนเชื่อมสองบ้าน             
 


   
search resources

Architecture




บ้านที่เป็นเหมือนวิมานกลางป่าเขาลำเนาไพรนี้เป็นของสองสามีภรรยา Gavin Macrae-Gibson สถาปนิกผู้ถือกำเนิดในอังกฤษ แต่ปัจจุบันพำนักอยู่ใน New York City กับ Anne Balcer คู่ชีวิต ซึ่งได้รับมรดกตกทอดคือบ้านฤดูร้อนหลังนี้ จากพ่อแม่ชาวแคนาดาของเธอ เป็นบ้านหลังงามตั้งอยู่ใน Quebec ริมฝั่งทะเลสาบที่เกิดจากธารน้ำแข็ง ทะเลสาบนี้ยาว 10 ไมล์ อยู่ในหุบเขา Laurentian Mountains ทางตอนเหนือของ Montreal

ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก Balcer มีความสุขกับการได้มาพักผ่อนที่บ้านหลังนี้ทุกครั้ง เมื่อมีคู่ชีวิต Macrae-Gibson ผู้สามีก็หลงรักที่นี่เช่นเดียวกับเธอ มันมีสภาพเป็นเกาะเล็กๆ ล้อมรอบด้วยป่าสูงทึบที่เต็มไปด้วยต้นสน ซิลเวอร์เบิร์ช เมเปิ้ล มะกอก และซีดาร์ ที่สำคัญคือไฟฟ้าเข้าไปไม่ถึง และในฤดูร้อนจะเดินทางมาถึงที่นี่ได้ด้วยเรือเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

เมื่อมีโครงการสร้างบ้านพักอันสุขสงบและห่างไกลให้กับตัวเองและลูกชายวัยรุ่นอีก 2 คน พวกเขารู้ดีว่าในท้ายที่สุดแล้วก็จำเป็นต้องรื้อบ้านที่เป็นมรดกตกทอดแล้วสร้างใหม่ เพราะบ้านหลังเดิมมีลักษณะเหมือนบ้านพักตากอากาศรุ่นเก่าในแถบนี้ ที่ปลูกไว้สำหรับเข้าพักเฉพาะในฤดูร้อน จึงไม่สามารถทนทานกับสภาพความหนาวเหน็บอันแสนจะโหดร้ายของภูมิอากาศแถบเทือกเขาในฤดูหนาวได้

ความท้าทายจึงอยู่ที่การออกแบบและสร้างบ้านหลังใหม่ให้เหนือกว่าและคุ้มกว่าการรื้อบ้านหลังเก่าของครอบครัวทิ้ง แถมยังตั้งอยู่บนทำเลทอง คือริมฝั่งทะเลสาบอีกต่างหาก

ก่อนจะเริ่มต้นงานออกแบบ สถาปนิกมืออาชีพอย่าง Macrae-Gibson ต้องทำการบ้านด้วยการศึกษาและทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ถึงสไตล์บ้านแบบพื้นเมือง 3 สไตล์ที่ปรากฏให้เห็นทั่วไปตามชายฝั่งทะเลสาบ Laurentian เพื่อดูว่าจะมีสไตล์ใดบ้างที่สามารถนำมาปรับเข้ากับงานออกแบบและการก่อสร้างบ้านหลังใหม่ของครอบครัว

Macrae-Gibson เล่าว่า กระท่อมแบบดั้งเดิมที่สร้างในรุ่นแรกๆ ราวปี 1910 โดยพวก Anglo-Canadians นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นบ้านบังกะโลชั้นเดียวตามแบบฉบับของอาณานิคมอังกฤษ ลักษณะเฉพาะคือมีห้องขนาดใหญ่หนึ่งห้อง พร้อมเตาผิงทำด้วยหิน มีห้องนอนเล็กๆ อยู่ติดกันอีก 2-3 ห้อง และระเบียงกว้างหันหน้าไปทางทะเลสาบ

ช่วงปลายทศวรรษ 1930 บ้านแถบนั้นจะเป็น Shingle Style ยุคปลายที่มีลักษณะเด่นคือ บ้านมีขนาดใหญ่ขึ้น แบบแปลนของบ้านจะเปิดโล่ง ตำแหน่งของหน้าต่างไม่เป็นระเบียบ การมุงหลังคาเน้นความซับซ้อน และระเบียงมีพื้นที่กว้างขวางกว่า

ล่วงถึงทศวรรษ 1990 จึงเริ่มมีการสร้างบ้านหลังใหญ่ขึ้นตามสไตล์ French Canadian ที่เรียกว่า "คฤหาสน์" (manoir) ซึ่งเป็นสไตล์ที่เข้าสู่แคนาดาในช่วงต้นทศวรรษ 1600 โดยมีต้นแบบดั้งเดิมเป็น farmhouse สร้างด้วยหินทางตอนเหนือของฝรั่งเศส คฤหาสน์ยุคนี้นิยมใช้เป็นที่พำนักตลอดทั้งปี ลักษณะเด่นอย่างหนึ่งคือ หลังคาสูงและลาดชัน มีชายคารูปทรงโค้งลึกยื่นออกมา เพื่อรับก้อนหิมะในฤดูหนาวที่มีน้ำหนักมากนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม งานก่อสร้างใน Quebec เป็นไปตามเทรนด์คือนิยมใช้วัสดุสำเร็จรูปที่สร้างหรือผลิตจากโรงงานมาก่อนแล้วนำมาประกอบในภายหลัง ที่เรียกกันว่า "prefab" เพราะนอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างแล้ว ยังลดความจำเป็นในการใช้บริการผู้รับเหมาก่อสร้างในท้องถิ่น ซึ่งมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการตลอดเวลาอยู่แล้ว เพราะระยะเวลาของฤดูก่อสร้างในแต่ละปีนั้นมีอยู่สั้นมาก

Macrae-Gibson ยังเล่าต่อไปว่า ปัจจุบันยังไม่มีใครนำเอาคุณลักษณะเฉพาะของคฤหาสน์ (manoir) มาปรับใช้กับบังกะโลแบบ Anglo-Canadians ซึ่งทำให้เหมาะกับการพำนักในฤดูร้อนได้อย่างวิเศษ เพราะจะมีโอกาสใกล้ชิดกับธรรมชาติอย่างมาก

นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้สถาปนิกลูกสองต้องการทำให้เกิดความเป็นไปได้ในงานออกแบบบ้านหลังใหม่ของครอบครัว

Macrae-Gibson ออกแบบตัวบ้านขนาด 5,000 ตารางฟุตให้ตั้งอยู่บนที่สูง เพื่อชื่นชมวิวของทะเลสาบและริมฝั่งทะเลสาบที่ร่มครึ้มไปด้วยป่าทึบอย่างจุใจ บ้าน 2 ชั้นหลังนี้มีห้องนอนอยู่ชั้นบนแบบเดียวกับบังกะโลยุคเริ่มแรก และมีโครงสร้างเป็นไม้

ส่วนการออกแบบให้หน้าต่างและระเบียงมีขนาดกว้างใหญ่เป็นพิเศษก็ได้แบบอย่างมาจากงานออกแบบ Shingle Style ยุคปลาย ตัวผนังด้านนอกออกแบบให้ชนกับฝานอก (siding) ที่เป็นท่อนไม้แบบ prefab ซึ่งเชื่อมติดกับโครงไม้อีกทีหนึ่ง ไม้แต่ละท่อนประกบเข้ามุมด้วยรอยบากเพื่อสวมเดือยหางเหยี่ยว (dovetail notch)

สถาปนิกช่างคิดผู้นี้เล่าว่า "ความน่าสนใจอยู่ที่ว่า เทคนิคการก่อสร้างนี้ผสมผสานโครงไม้ของบังกะโลแบบ Anglo-Canadians กับการสร้างฝาผนังที่สามารถเป็นฉนวนกันความร้อนได้อย่างวิเศษตามแบบฉบับของ French Canadian log farmhouse ทำให้สามารถเขียนแบบแปลนให้เปิดโล่ง และเพื่อให้เกิดพื้นที่โล่งภายในตัวบ้านมากขึ้น"

ระหว่างตัวบ้านใหญ่กับเรือนรับรองที่มีธารน้ำตื้นๆ ไหลผ่านและปกคลุมไปด้วยป่าเฟิร์นและต้น lupine นี้เองที่กลายเป็นจุดสะดุดตาในความคิดสร้างสรรค์ของ Macrae-Gibson เพราะแทนที่จะสร้างเป็นทางเดินเชื่อมต่อกันอย่างที่เห็นอยู่ดาษดื่น เขากลับออกแบบเป็นสะพานแขวนสำหรับเดินข้ามยาว 60 ฟุตพาดผ่านไป

บ้านหลังงามของครอบครัวจึงสะดวกสบายและติดจะหรูหราในบางจุดด้วยซ้ำไป ซึ่งเจ้าของบ้านเองก็สารภาพว่า ความรักในธรรมชาติของเขาก็มีขอบเขตอยู่เหมือนกัน "ตัวผมกับครอบครัวไม่ต้องการอยู่ในสภาพแบกเป้ไว้บนหลัง แล้วพักคุดคู้อยู่ในกระต๊อบไม้เล็กๆ กลางป่าดิบชื้นแฉะ แต่เรารักที่จะอยู่ในบ้านที่แห้งสบายและมีกลิ่นอายของป่าดิบชื้นอยู่ด้วย สำหรับผมแล้วบ้านหลังนี้คือกระต๊อบระดับ 5 ดาวดีๆ นี่เอง"

แปลและเรียบเรียงโดย ดรุณี แซ่ลิ่ว
จากนิตยสาร Architectural Digest/ September 2006   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us