|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤศจิกายน 2549
|
|
ความสำเร็จในการพัฒนาประเทศของสิงคโปร์ มักถูกหยิบยกมาเป็นกรณีตัวอย่างอยู่บ่อยครั้ง ถึงกระนั้นก็ตาม ทุกวันนี้ทั้งภาครัฐและเอกชน
ยังมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเองเพื่อยกระดับคุณภาพ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างไม่หยุดยั้ง
กรมสรรพากร หอสมุดแห่งชาติ และกรมราชทัณฑ์ ทั้ง 3 หน่วยงานนี้ในประเทศไทย มีความเกี่ยวข้องกันเพียงประการเดียวคือเป็นหน่วยงานราชการ แต่ที่สิงคโปร์ ทั้ง 3 หน่วยงานเชื่อมโยงกันอีกทางหนึ่งในฐานะองค์กรที่ได้รับรางวัล Singapore Quality Award หรือ SQA มาด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมราชทัณฑ์ หรือ Singapore Prison Service เป็น 1 ใน 3 องค์กรล่าสุดที่เพิ่งได้รับรางวัลดังกล่าว ซึ่งเป็นรางวัลที่แสดงถึงความเป็นเลิศในระดับสากลไปเมื่อวันที่ 12 ตุลาคมที่ผ่านมานี้เอง
ประเทศสิงคโปร์เป็นเพียงเกาะเล็กๆมีขนาดพื้นที่ประมาณ 700 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากร 4 ล้านกว่าคน และมีทรัพยากรธรรมชาติไม่มากนัก แม้กระทั่งน้ำจืดยังต้องนำเข้ามาจากมาเลเซีย ด้วยเหตุ นี้เองผู้นำสิงคโปร์ตระหนักดีว่าการจะสามารถ ยืนหยัด และอยู่รอดในตลาดโลกได้นั้นศักยภาพของคนและองค์กรภาครัฐและเอกชน ของสิงคโปร์จำเป็นต้องมีมาตรฐานในระดับโลกเพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้
รัฐบาลสิงคโปร์จึงได้ริเริ่มการมอบรางวัล Singapore Quality Award ขึ้นในปี 2537 รางวัลนี้จะมอบให้กับองค์กรที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นเลิศในด้านธุรกิจสูงสุด โดยมีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นให้องค์กรต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนมุ่งสู่ความเป็นเลิศในด้านธุรกิจในระดับสากล สอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลในการผลักดันให้ประเทศสิงคโปร์มุ่งสู่ความเป็นเลิศในระดับโลก รางวัล SQA มีพื้นฐานมาจากมาตรฐานความเป็นเลิศ ที่ได้รับการยอมรับกันทั่วโลก ได้แก่ Malcolm Baldrige National Quality Award ประเทศสหรัฐอเมริกา European Quality Award จากทวีปยุโรป Japan Quality Award ประเทศญี่ปุ่น และ Australian Quality Award ประเทศออสเตรเลีย
หลักเกณฑ์ในการพิจารณารางวัล SQA แบ่งออกเป็น 7 หมวดด้วยกัน ได้แก่ การนำองค์กร (Leadership) การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Planning) การมุ่งเน้นลูกค้าและตลาด (Customers) การวัด วิเคราะห์และการจัดการความรู้ (Information) การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล (People) การจัดการประบวนการ (Processes) และผลลัพธ์ทางธุรกิจ (Results) ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์เดียวกับรางวัล Thailand Quality Aword ที่ดูแลโดยสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
สำหรับรางวัล SQA ในปีนี้มีผู้ได้รับรางวัล 3 องค์กรด้วยกัน คือ Singapore Prison Service, Subordinate Courts of Singapore และ Teckwah Industrial Corporation Ltd ซึ่งได้มีพิธีมอบไปเมื่อวันที่ 12 ตุลาคมที่ผ่านมา
การที่ Singapore Prison Service และ Subordinate Courts of Singapore ได้รับรางวัลในปีนี้เป็นการเน้นย้ำและสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของสิงคโปร์ที่จะยกระดับมาตรฐานทั้งประเทศให้เข้าสู่ระดับสากล ไม่เว้นแม้แต่หน่วยงานภาครัฐที่ยังต้องนำแนวคิดของการมุ่งสู่ความเป็นเลิศมาใช้ในองค์กรด้วย เพราะผู้ที่ได้รับรางวัล SQA ที่ผ่านมาจนถึงปีนี้รวมทั้งหมด 25 ราย ในจำนวนนี้มีหน่วยงานของรัฐคิดเป็นสัดส่วนถึง 40% ด้วยกัน (ดูรายชื่อผู้ได้รับรางวัล SQA จากตารางประกอบ)
Toh Han Li ผู้พิพากษาจาก Subordinate Courts of Singapore อธิบายว่า หลักการทั้ง 7 หัวข้อตามเกณฑ์ของ SQA นั้นสามารถนำมาใช้ได้ไม่เฉพาะกับภาคธุรกิจ เท่านั้น องค์กรของรัฐก็สามารถนำมาใช้ได้ด้วยเช่นกัน เนื่องจากเป็นแนวทางปฏิบัติในด้านการบริหารจัดการองค์กร จึงไม่จำกัดอยู่ที่ภาคธุรกิจเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม Subordinate Courts of Singapore เริ่มนำ หลักการของ SQA มาใช้ก็เนื่องจากผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานแห่งนี้เคยอยู่ในธุรกิจธนาคารมาก่อนและเริ่มต้นกระบวนการมาตั้งแต่ปี 2544 จนกระทั่งประสบความสำเร็จในปีนี้
เมื่อ Singapore Prison Service และ Subordinate Courts of Singapore ได้รับรางวัลในปีนี้ทำให้องค์กรในกระบวนการยุติธรรมของสิงคโปร์ได้รับรางวัล SQA จนครบจนมีมุกตลกพูดกันว่า ถ้าใครมากระทำความผิดที่นี่จะถูกจับโดยตำรวจที่ได้ SQA จากนั้นจะถูกพิจารณาคดีโดยศาลที่ได้ SQA และถ้าถูกตัดสินว่ามีความผิดก็จะถูกส่งเข้าคุกที่ได้ SQA เช่นกัน เรียกได้ว่าในแต่ละขั้นตอนล้วนมีมาตรฐานรับรองทั้งสิ้น
ปัจจุบันหน่วยงานที่รับผิดชอบและดูแลในเรื่อง SQA ได้แก่ Standards, Productivity and Innovation Board of Singapore หรือ SPRING ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของหน่วยงาน National Productivity Board และ Singapore Institute of Standards and Industrial Research
บทบาทหน้าที่หลักของ SPRING คือ ส่งเสริมการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันขององค์กรเพื่อความรุ่งเรืองของเศรษฐกิจสิงคโปร์ โดยมีแนวทางหลัก 4 ประการด้วยกัน ได้แก่ การสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการริเริ่มธุรกิจใหม่และช่วยให้ธุรกิจเติบโต การพัฒนา กลุ่มอุตสาหกรรม (Cluster) การเพิ่มศักยภาพ ขององค์กร ทั้งในด้านผลิตผล นวัตกรรมและการบริการ สุดท้ายคือการช่วยหาตลาดและสร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจ
นอกจาก SQA แล้วสิงคโปร์ยังริเริ่มรางวัลเฉพาะด้านขึ้นมาอีก 2 รางวัลในปี 2544 ได้แก่ People Excellence Award สำหรับองค์กรที่ดูแลและพัฒนาบุคลากรอย่างดีเลิศและ Singapore Innovation Award สำหรับองค์กรที่มีความโดดเด่นในด้านนวัตกรรม รวมถึงรางวัล Service Excellence Award ที่จะเริ่มเป็นครั้งแรกในปีหน้าโดยมอบให้องค์กรที่มีความเป็นเลิศในด้านการบริการ ซึ่งทั้ง 3 รางวัลนี้จะสอดคล้องกับเป้าหมายของสิงคโปร์ที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยการมีนวัตกรรมที่โดดเด่นและเป็นเลิศในด้านการบริการ
จนถึงปัจจุบันมีองค์กรที่ได้รับรางวัล People Excellence Award ไปแล้ว 10 องค์กรด้วยกัน ส่วน Singapore Innovation Award มีแล้ว 6 องค์กร (ดูรายชื่อผู้ได้รับรางวัลจากตารางประกอบ) หน่วยงานที่ได้รับรางวัลด้าน Innovation มีทั้งที่เป็นการคิดค้นและพัฒนาสิ่งใหม่ๆ หรือการสร้างสรรค์นวัตกรรมในการบริการ อาทิ PUB ที่ได้รับรางวัลในปีนี้
PUB เป็นหน่วยงานที่ดูแลจัดการทรัพยากรน้ำทั้งหมดของสิงคโปร์ นวัตกรรมที่โดดเด่นของ PUB ได้แก่ NEWater ซึ่งเป็นน้ำที่ได้จากการนำน้ำใช้แล้วไปผ่านกระบวน การบำบัดและฆ่าเชื้อจนสะอาดและสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ รวมถึงบริโภคได้อีกครั้ง ปัจจุบันมีการใช้ NEWater ในสัดส่วน 1% ของปริมาณการใช้งานน้ำในแต่ละวันและคาดว่าสัดส่วนดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.5% ภายในปี 2554
ผลจากการริเริ่มและเอาจริงเอาจังของรัฐบาลสิงคโปร์ส่งผลให้อันดับความสามารถทางการแข่งขันของสิงคโปร์ที่จัดทำโดย World Economic Forum ในปัจจุบัน ติดกลุ่มผู้นำ 5 อันดับแรกของโลกไปเรียบร้อย สิงคโปร์อยู่ในอันดับที่สูงที่สุดในเอเชีย เหนือกว่าประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ หนึ่ง และสองของโลกอย่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น และหากวัดกันเฉพาะในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะมีมาเลเซียตามมาห่างๆ ที่อันดับ 26 ส่วนไทยอยู่ในอันดับ 35
ถึงแม้จะทำได้ขนาดนี้แต่สิงคโปร์ก็ยังไม่พอใจ เนื่องจากในกลุ่มผู้ได้รับรางวัลที่เป็น ภาคเอกชนนั้นยังมีบริษัท SMEs ของสิงคโปร์ อยู่เพียง 2 รายเท่านั้นคือ Qian Hu Corpo-ration ในปี 2547 และ Teckwah Industrial Corporation Ltd ที่เพิ่งได้รับในปีนี้ ด้วยเหตุนี้เองในปีนี้ SPRING ได้ประกาศเริ่มต้นโครงการ SME Management Action for Results หรือ SMART เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมธุรกิจ SMEs ของสิงคโปร์กว่า 300 รายให้เข้าสู่กระบวนการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศทางธุรกิจ โดยใช้งบประมาณ 4 ล้าน ดอลลาร์สิงคโปร์ในระยะเวลา 3 ปี
ความพยายามของสิงคโปร์ในการมุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศนี้ไม่ได้ส่งผลบวกเฉพาะกับประเทศสิงคโปร์เท่านั้น หน่วยงานหรือบริษัทที่พยายามปรับตัวมุ่งสู่ความเป็นเลิศก็ได้รับผลประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมเช่นกัน จากผลการศึกษาของ National University of Singapore ชี้ให้เห็นว่าในช่วงเวลา 5 ปีบริษัทหรือหน่วยงานที่ได้รับรางวัล SQA จะมีอัตราการเติบโตของรายได้สูงกว่าคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกันถึง 75% เลยทีเดียว
|
|
|
|
|