|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤศจิกายน 2549
|
|
การที่บริษัท Livesmart พุ่งเป้าหมายไปที่สินเชื่อบ้าน เป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะแต่ละปี วงเงินสินเชื่อเพื่อการซื้อบ้านของสถาบันการเงินทุกประเภทในบ้านเรามีมากกว่า 1 ล้านล้านบาท และทุกสถาบันการเงินต่างก็ให้ความสำคัญกับลูกค้าซื้อบ้านมาตลอด
บ้านในความคิดของคนไทย ยังเป็นเป้าหมายใหญ่ในชีวิตที่ทุกคนต่างพยายามหามาเป็นเจ้าของให้ได้ ไม่ว่าสถานการณ์บ้านเมืองจะเป็นอย่างไร ดอกเบี้ยจะสูงขึ้นก็ตาม
ตัวเลขล่าสุดของธนาคารแห่งประเทศไทยในไตรมาส 1 ของปีนี้ เฉพาะธนาคารพาณิชย์เพียงประเภทเดียว ปล่อยสินเชื่อบ้านไปแล้ว 612,559 ล้านบาท ส่วนธนาคารอาคารสงเคราะห์ของรัฐบาล ปล่อยสินเชื่อไปแล้ว 488,183 ล้านบาท เพียงแค่นี้วงเงินสินเชื่อที่อยู่อาศัยก็สูงกว่า 1 ล้านล้านบาทแล้ว
ประมาณกันว่าที่อยู่อาศัยที่เปิดตัวออกมา ส่วนใหญ่กว่า 80% อยู่ในเขตกรุงเทพฯ ซึ่งถือว่าเป็นตลาดใหญ่ที่สุด ซึ่งตรงกับความต้องการของ Livesmart พอดีที่ต้องการทำตลาดในกรุงเทพฯ ก่อน ส่วนช่วงต่อไปค่อยขยายออกไปต่างจังหวัด
ก่อนหน้านี้มีการประเมินกันว่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้ จะชะลอตัวลงต่อเนื่องจากปี 2548 เพราะกำลังซื้อของผู้บริโภค และภาวะอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ทำให้ความรู้สึกของคนซื้อบ้านลดความเข้มข้นลง
เมื่อกำลังซื้อบ้านลดลง ผู้ซื้อชะลอการตัดสินใจ แต่วงเงินสินเชื่อกลับสูงขึ้น เหตุผลง่ายๆ ก็คือ ราคาขายบ้านปรับขึ้น ตามภาวะดอกเบี้ย และต้นทุนการก่อสร้าง ราคาที่ดิน ที่ขยับราคาขึ้นมา
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้รายงานภาวะด้านสินเชื่อไว้ในวารสารธนาคารอาคารสงเคราะห์ฉบับล่าสุด เดือนกันยายนว่า มูลค่าสินเชื่อผู้ประกอบการ (Pre Finance) ในไตรมาสที่ 1 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 24.26 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งมาจากผู้ประกอบการเลื่อนเปิดโครงการมาจากปีที่แล้ว
ส่วนสินเชื่อบุคคลทั่วไป (Post Finance) มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่หากเปรียบเทียบไตรมาส 1 ของปีนี้กับไตรมาส 4 ปี 2548 หดตัวลงถึงร้อยละ 20.3 สาเหตุหลักมาจากผู้ประกอบการได้ปรับระดับราคาที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับกำลังซื้อของผู้บริโภค
สำหรับการประเมินอุปสงค์ของที่อยู่อาศัย ในวารสารฉบับเดียวกันเชื่อว่าเมื่อสถานการณ์ต่างๆ คลี่คลาย จะทำให้ประชาชนมีความมั่นใจในอนาคตของการจ้างงาน รายได้ จะทำให้กำลังซื้อที่แท้จริงกลับมาสู่ตลาดอีกครั้งหนึ่ง รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่เริ่มนิ่ง ผู้ซื้อบ้านสามารถประเมินความสามารถในการผ่อนชำระได้ ซึ่งส่งผลให้อัตราการปฏิเสธการให้สินเชื่อของธนาคารลดลงสู่ภาวะปกติด้วยเช่นกัน
เช่นเดียวกับอุปทานที่อยู่อาศัยที่หดตัวในปี 2549 จะเป็นผลดีต่อธุรกิจนี้ เพราะจะไม่ทำให้ที่อยู่อาศัยล้นตลาด
การวิเคราะห์สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดนี้ ไม่ได้นำ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเมื่อวันที่ 19 กันยายน มาประกอบ ด้วย เพราะยังไม่มีใครคาดคิด แต่คาดว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ไม่ทำให้ตัวเลขที่อยู่อาศัย และตัวเลขสินเชื่อเปลี่ยนแปลงมากนัก
|
|
|
|
|