Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2549
Maya Romanof จากชิคาโกสู่ MCX กรุงเทพฯ             
โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข
 


   
www resources

โฮมเพจ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ

   
search resources

Crafts and Design
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ
Material ConneXion
Maya Romanof
Maya Romanof




ภาพฮิปปี้ยุคซิกตี้ที่เห็นบนโบรชัวร์ คือ Maya Romanof หนุ่มผมยาวที่ศึกษาจบคณะมานุษยวิทยา จากมหาวิทยาลัยเบิร์กเลย์ แคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ ปัจจุบันเขาเป็นเจ้าของธุรกิจบริษัท Maya Romanof ในชิคาโก มูลค่าไม่ต่ำกว่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี

ระยะเวลาดำเนินธุรกิจ 37 ปี ได้สร้างชื่อเสียงแก่ Maya Romanof ในตลาดลูกค้าระดับ high-end ราคาแพง ซึ่งบรรดาสถาปนิกและมัณฑนากรชื่อดังนิยมนำมาออกแบบและตกแต่ง เขามีลูกค้าส่วนใหญ่เป็นโรงแรม โดยตลาดหลักอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส และฮ่องกง ส่วนตลาดอาเซียนอยู่ที่สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน และมาเลเซีย ขณะที่ลูกค้าระดับดารานักร้องชื่อดัง ก็มีบริทนีย์ สเปียร์ เป็นต้น

ในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของ MCX หรือ Material ConneXion® ที่นิวยอร์ก Maya Romanof สามารถขยายฐานกลุ่มคนที่รู้จักเขากว้างขึ้น ทั้งลูกค้ากราฟิกดีไซเนอร์ นักออกแบบตกแต่ง สถาปนิก มัณฑนากร ผู้รับเหมาก่อสร้าง รวมถึงเป็นที่รู้จักของแกลเลอรี่และมิวเซียม

ช่องทางนี้เองที่เชิญชวนให้ Maya Romanof เข้ามาจัดแสดงนิทรรศการที่ Material ConneXion® Bangkok ซึ่งมีชมพูนุช วีรกิตติ์ เป็นผู้อำนวยการดูแลจัดการบริหารศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุเพื่อการออกแบบและกระบวนการผลิตใหม่ๆ มากกว่า 3,000 รายการ ที่แยกเป็นโพลิเมอร์ แก้ว เซรามิก คาร์บอน ซีเมนต์ โลหะ วัสดุธรรมชาติ และวัสดุแปรรูปจากธรรมชาติ

ดังนั้น ห้องนี้เป็นที่มาของแรงบันดาลใจใหม่ๆ ของนักสร้างสรรค์ออกแบบมานักต่อนักแล้ว จนได้ชื่อว่าเป็น "Leading Edge innovators"

สำหรับนิทรรศการ Maya Romanof : Extraordinary Surfacing Materials ได้เน้นแสดงชิ้นงานนวัตกรรม อันมีดีไซน์เรียบแต่หรู ประณีตด้วยงานฝีมือ (craftsman) เน้นจุดเด่นคือใช้วัสดุธรรมชาติ ที่แสดงความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและหลากหลายการใช้งาน

ดังผลงานโดดเด่นที่ปรากฏ เช่น "Beadazzled" วัสดุบุผนังที่มีผิวสัมผัสเป็นลูกปัดแก้วเล็กๆ ที่แวววาว (Flexible Glass Bead Wallcovering) Maya Romanof ได้นำนวัตกรรมนี้ไปสร้างสรรค์งานจิตรกรรมฝาผนังรูปเกอิชา (mural) ที่ทางบริษัท Rockwell group ทำให้กับ Geisha Restaurant ในนิวยอร์กซิตี้

นอกจากนี้ยังมี wallcovering ทำด้วยเปลือกหอยมุกบางเฉียบ หรือแผ่นไม้บางๆ ที่แกะสลักลวดลายวิจิตรด้วยเลเซอร์ wallcovering เหล่านี้ถูกจัดวาง ดัดโค้งมน ม้วน อวดผิวสัมผัสอย่างเร้าใจ

"งานนี้ถือเป็นผลงานของดีไซเนอร์ชาวนิวยอร์ก Dror Benshetrit ซึ่งเป็นคนดีไซน์งานที่โชว์ทั้งหมดในนิทรรศการนี้ ซึ่งเป็น Wall covering & Surfacing ลักษณะแผ่นบางๆ ทาง Dror จึงออกไอเดียว่า ทำไมไม่โชว์ในลักษณะดัดแผ่นวัสดุให้เป็น art form โดยเขาส่งร่างต้นแบบมาให้เราทำในไทย โดยเขาแนะนำว่า ควรจะใช้อะลูมิเนียมหรือเหล็กขนาดเท่าไรจึงจะสามารถดัดได้รูปร่างประมาณนี้ จากนั้นเขาถึงส่งผลิตภัณฑ์พวกนี้มาติดทีหลัง" ผู้อำนวยการชมพูนุชเล่าให้ฟัง และกว่าที่ Maya Romanof จะมาที่นี่ ต้องคุยติดต่อกันนานพอควร

"ตอนแรกๆ คุยกันเบื้องต้น เหมือนกับว่าจะให้ทางนี้ช่วยหาซัปพลายเออร์หรือตัวแทนจำหน่ายในไทย ซึ่งตลาดบ้านเรายังรู้จักแบรนด์ของเขาไม่มากนัก ล่าสุดเขาเดินทางมาทำธุรกิจที่มาเก๊า ฮ่องกง ก็เลยต่อมาที่ไทย" นี่คือเบื้องหลังการจัดนิทรรศการ

การเดินทางมาไทยครั้งนี้ Maya Romanof พร้อมด้วยภรรยา Joyce ในฐานะ President ซึ่งเพิ่งจะมาไทยครั้งแรก เธอเล่าว่าทำกระเป๋าเงินหล่นหายบนเครื่อง กว่าจะตามเจอ ก็ต้องนั่งรอในห้องรับรองของสนามบินสุวรรณภูมิ ที่ซึ่งเธอได้เห็นวอลล์เปเปอร์ลวดลายไทย และเป็นเหตุจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้เธอซื้อผลิตภัณฑ์ไหมไทยจากจิม ทอมป์สัน ไปจำนวนมาก

นอกจากนี้หลานสาว Laura ซึ่งดูแลด้านการตลาดและการขาย ในฐานะ VP Sales & Marketing ยังให้ความสนใจติดต่อขอนัดคุยกับซัปพลายเออร์ไทยบางราย เช่น บริษัท โยทะกา ซึ่งเด่นด้วยเฟอร์นิเจอร์และสินค้าตกแต่งบ้านที่ทำจากหวาย และของกลุ่มดาวรัฐที่ลำปาง

Joyce ในฐานะ President เล่าให้ฟังว่า โรงงานนอกสหรัฐฯที่มีอยู่ขณะนี้ไม่ต่ำกว่า 6 แห่ง ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน ฟิลิปปินส์ อังกฤษ ฝรั่งเศส และอิตาลี โดยกระบวนการผลิตสินค้าบางอย่างต้องอาศัยวัตถุดิบจากประเทศหนึ่ง และกว่าจะผลิตเสร็จก็ต้องไปอีกที่หนึ่ง เพื่อให้ได้คุณภาพงานที่ดีเลิศและแตกต่างกว่า ซึ่งทุกชิ้นงานเป็นการ made to order

อย่างไรก็ตาม การจะเป็น Trend setter ในวงการธุรกิจนี้ได้ เธอบอกว่า เป็นการทำงานร่วมกับดีไซเนอร์ชั้นนำของโลก ซึ่งกำหนดเทรนด์ของสี ความนิยม ผิววัสดุ ฯลฯ

ปัจจุบัน Maya Romanof ในฐานะ Chief Creative Officer ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านออกแบบ เนื่องจากสุขภาพไม่อำนวย โดยมีภรรยาคอยช่วยบริหารธุรกิจ ซึ่งมีคนงานกว่า 50 คน ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานกันมานานตั้งแต่ 15-25 ปี

"เราพยายามทำแบบนี้ โดยเชื่อมโยง Material ConneXion® อื่นๆ เพื่อให้คนเห็นและรู้จัก เราจะจัดให้ส่วนสมาชิก TCDC กลุ่มพรีเมียมและซิลเวอร์ สามารถเข้าชมได้ อย่างน้อยวัสดุของไทยจะไปโชว์ในงาน BIG+BIH 2006" ชมพูนุช Director ที่นี่กล่าว

ปัจจุบัน TCDC ได้ผลักดันวัสดุเพื่อการออกแบบที่ผลงานของคนไทยขึ้นทำเนียบ Material ConeXion® ของโลกได้แล้วถึง 40 รายการ และเป็นที่รู้จักของนักออกแบบทั่วโลกอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us