เปิดแนวคิด "ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์" คนสานฝัน "หมอเลี้ยบ"
ยกเครื่องยุทธศาสตร์ทศท. ย้ำมี 4 ประเด็นหลักที่ต้องหารือจุดยืนทศท.เรื่องแปรสัญญา
ผลกระทบการ เข้าตลาดฯ แนวทางสร้างความเข้มแข็ง องค์กร และไทยโมบายมือถือ 1900 ที่ต้องล้างภาพเดิม
คิดใหม่ทำใหม่ ตั้งแต่จำเป็นต้องมีหรือไม่ ถ้ามีต้องหาจุดแข็งจุดขายอย่างไร และประเด็นเด็ดความได้เปรียบไลเซนส์
3G รายเดียว ในประเทศ
ในวันที่ 2 ก.พ.ที่จะถึงนี้ บอร์ดทศท.ชุดใหม่จะมีการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับคณะผู้บริหารของบริษัท
ทศท คอร์ปอเรชั่นหรือทศท. ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ที่ปรึกษารมว. กระทรวงการคลังในฐานะกรรมการบอร์ด
และเป็นนักวิชาการที่น.พ. สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.กระทรวงไอซีที ตั้งความหวังว่าจะเข้ามาช่วยด้านยุทธศาสตร์การตลาดของทศท.
เวิร์กชอปดังกล่าว ส่วนหนึ่งเป็น เพราะนโยบายรัฐในเรื่องแปรสัญญาสัมปทานที่เปลี่ยนส่วนแบ่งรายได้บางส่วนให้มาเป็นภาษีสรรพสามิต
ทำให้ยุทธศาสตร์ต่างๆที่ทศท.ทำมาแต่เดิม จำเป็นต้องทบทวนหรือเปลี่ยนแปลง ภายใต้กรอบและแนวคิดที่บอร์ดทศท.
จะทำหน้าที่กำหนดยุทธศาสตร์เชิงนโยบายให้ทศท.เดินตาม
ดร.สุวิทย์ ให้สัมภาษณ์พิเศษถึงโจทย์ที่ผู้บริหารทศท.ควรมีคำตอบ ในวันประชุมเวิร์กชอปว่า
ทศท.อยู่ในอุตสาหกรรมที่มีพลวัตรสูง ไม่ว่าจะเป็นทิศทางของผู้บริโภค ในภาวะที่การ
แข่งขันจากเดิมที่ผูกขาด มาเป็นแข่งขันสูง องค์กรจะปรับตัวอย่างไร และเรื่องประสิทธิภาพในองค์กรเอง
ทั้ง 3 ปัจจัยในภาวะการแข่งขันรุนแรง ภาวะพลวัตรสูงในเรื่องความต้องการของตลาด
ในเรื่องเทค-โนโลยีและขีดความสามารถในการแข่ง ขันและประสิทธิภาพ ล้วนแต่เป็นประเด็นท้าทายทศท.ในปัจจุบัน
4 ประเด็นร้อนทศท.
ถ้ามองดูมี 4 ประเด็น ในเชิงยุทธศาสตร์ที่ต้องมาคุยกัน และตัด สินใจประกอบด้วย
1.เรื่องการแปรสัญญา ทศท.จะมีจุดยืนในส่วนนี้อย่างไร ซึ่งต้องมองประโยชน์ชาติเป็น
หลัก 2.การแปรสัญญาจะส่งผลการเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯด้วย ทศท.จะหาจุดที่เหมาะสมและลงตัวได้อย่างไร
เป็น 2 เรื่องแรกที่พันกันอยู่
3.ความแข็งแกร่งขององค์กรจะต้องมาพิจารณาทบทวนหรือไม่ ระหว่างการรวมกันของทศท.และการสื่อสารแห่งประเทศไทย(กสท.)
ต้องมามองดูว่าสภาพการดำเนินธุรกิจในอนาคตซึ่งจะเปลี่ยนไปจากเดิมแน่นอน ต่างฝ่ายจะต่างดำเนินธุรกิจกันไปอยู่ในรูปแบบเดิมหรือจะมา
Synergy กัน
4.ประเด็นการให้บริการโทยโม-บายโทรศัพท์มือถือความถี่ 1900 เมกะ เฮิรตซ์ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการรวมกิจการกันระหว่างทศท.กับกสท.
ซึ่งมีอีก 2- 3 ประเด็นในส่วนนี้คือ 4.1 คู่แข่งในธุรกิจมือถือ รายใหญ่ทั้งนั้นไม่ว่าเอไอเอส
ดีแทค ออเร้นจ์ การเข้าสู่ อุตสาหกรรมนี้ต้องคิดว่าจำเป็นจะต้อง เข้าหรือไม่ ถ้าจะเข้าจะต้องเข้าอย่างไร
ในขณะที่ 3 รายแรกยึดครองตลาดไว้แล้ว ไทยโมบายจะค่อยเป็นค่อยไปหรือก้าวร้าวรุนแรง
4.2 ถ้าไทยโมบายจะก้าวร้าวรุน แรง ทศท.คาดหวังอะไร หวังส่วนแบ่ง ตลาดแค่ไหน
และจะมีกลยุทธ์ในการเจาะทลวงแย่งส่วนแบ่งตลาดจากชาวบ้านที่เป็นบิ๊กทรีได้อย่างไร
4.3 หรือในขณะที่ทศท.มีจุดแข็งที่มีไลเซ็น 3G รายเดียว ตอนนี้จะค่อยเป็นค่อยไปก่อนแล้วรอเข้าไปครองตลาด
3G เพราะทศท.เป็นคนบุก เบิกก่อนหรือไม่ แต่จุดที่น่าระวังคือกว่าจะถึงเวลานั้นจะมี
4G มาหรือไม่ เป็นประเด็นที่จะต้องถกเถียง และ4.4 ปัจจุบันที่มีซูเปอร์บอร์ด การทำงานมีความคล่องตัวจริงหรือไม่
ต้องทบทวน เพราะตอนนี้ทุกอย่างดูจะร่วมทุนกันไปหมด แม้กระทั่งการจัดการก็ร่วมกันทั้ง
2 ฝ่าย
ในธุรกิจที่มีพลวัตรสูง ความคล่องตัว การตัดสินใจ เป็นเรื่องสำคัญ การมีซูเปอร์บอร์ด
การมีทีมแมเนจ-เมนต์ร่วมกัน องค์กรแบบนี้จำเป็นหรือไม่
ทั้งหมดนำมาสู่การที่มองว่าโอกาสในการสร้างรายได้หรือการสร้าง มูลค่าในองค์กรหลังแปรสัญญาจบไปแล้วมันจะมาจากไหน
ต้องยอมรับว่ารายได้ 40-50% ของทศท. มาจากส่วน แบ่งรายได้สัมปทาน
แต่ในช่วงให้สัมปทานมันก็มีเงื่อนไขทำให้ทศท.ไม่สามารถไปลงทุน ในสิ่งที่ทศท.ให้สัมปทานเอกชนไป
ในช่วงนั้นดูเหมือนเป็นเสือนอนกิน แต่ทศท.ก็มีข้อจำกัดไม่ให้มีการลงทุน เข้าไปในอุตสาหกรรมเหล่านั้น
ถึงจุดนี้ทศท.จะฟื้นขึ้นมาจากยักษ์หลับเป็นยักษ์ตื่นได้อย่างไร จะต้องมานั่งทบทวน
ขอบเขตของธุรกิจในอนาคต ซึ่งต้องดูจากพื้นฐาน 8 กลุ่มธุรกิจ มีศักยภาพในการทำกำไร
ในการเป็นผู้นำตลาดหรือในการแข่งขัน เป็นอย่างไร
ยกตัวอย่างเช่นเรื่องโทรศัพท์พื้น ฐานจะมีทิศทางเช่นไร ทศท.ยังมีจุดแข็งในเรื่องเน็ตเวิร์ก
มีบริการเสริมมากน้อยแค่ไหน ในขณะที่การใช้งานลดลง หรือเรื่องโทรศัพท์สาธารณะ ตราบใดที่ยังไม่มีคณะกรรมการกิจการ
โทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.) ทศท. ก็สามารถขยายบริการโทรศัพท์สาธารณะไปได้เรื่อยๆ ยุทธศาสตร์ทศท.ควรยึดครองความเป็นผู้นำในตลาดนี้
"โทรศัพท์สาธารณะมันเหมือน Cash Machine ปั๊มเงินได้สบายเครื่องละ 3-4,000บาท
ประเด็นคือเราครอบคลุมได้หมดหรือยังเฉพาะใน ไพรม์แอร์เรีย และในส่วนที่ 2 ปัญหาคือไม่ใช่แค่เรื่องจำนวนเครื่องเพิ่มเติม
แต่เครื่องที่มีอยู่มันเป็นเครื่องเก่า ใช้งานไม่ได้มาก ตรงนี้ตัดโอกาสในการเก็บเงิน
จะทำอย่างไร"
ประเด็นหลักคือในการเพิ่มรายได้ มีหลายจุด อย่างเรื่องเน็ตเวิร์กที่มี อยู่ ทศท.จะให้เอกชนเช่าแล้วให้บริการ
อย่างเดียวหรือจะใช้วิธีร่วมทุนกัน เป็นประเด็นท้าทายที่ต้องมาทบทวน ในบางเรื่องต้องรอบคอบแต่บางเรื่องจำเป็นต้องรีบตัดสินใจ
ยุทธศาสตร์การตลาดของทศท.
ดร.สุวิทย์กล่าวว่า ในเรื่องนี้ต้อง ยอมรับว่าอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ที่สุดต้องกลายเป็นคอนซูเมอร์
โปร-ดักต์ไปหมด มันเป็นเรื่องของอุตสาห-กรรมว่าด้วยคอนเทนต์โพรวายเดอร์ เหมือนเป็นคอนซูเมอร์ฟูด
ที่เป็นส่วน หนึ่งของไลฟ์สไตล์คน ทศท.ต้องมองในแต่ละส่วนของตลาดว่าตลาด B2B, B2C
ว่าจะเข้าไปเล่นอย่างไร
ในที่สุดแล้วในเรื่องเทคโนโลยีมันคอนเวอร์เจนต์ อุตสาหกรรมมันคอนเวอร์เจนต์ ธุรกิจต่างๆมันคอน-เวอร์เจนต์
จะต้องหาจุดแข็งที่สุดของทศท.ให้เจอแล้วต้องหาแนวร่วมเพื่อสร้างเครือข่ายของพันธมิตร
ทศท.จะร่วมค้า ร่วมแข่งกับใครได้บ้าง
แต่สิ่งที่สำคัญจุดหนึ่งที่จะตอบคำถาม คนที่จะชนะในอุตสาหกรรมนี้คือคนที่เข้าใจคอนซูเมอร์ได้มากน้อย
เพียงใด เพราะเทคโนโลยีมันเปลี่ยน แปลงตลอดเวลาอยู่แล้ว ประเด็นสำคัญคือถ้าทศท.จับใจ
จับทางคอนซูเมอร์ได้ในระยะยาว ลงทุนในส่วนเกี่ยวกับตัวลูกค้า ทศท.ก็คงจะไปได้
"คำถามง่ายๆของผมว่าทศท. ไม่มีโทรศัพท์มือถือได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ ยังไงต้องมีเพราะมันเป็นอนาคต
ยกตัวอย่างพวกดอทคอมพังกันเป็นแถบ แต่ตอนนี้พวกคอนเทนต์โพรวายเดอร์ ต่างๆ มาใช้
M-Mobile ซึ่งบางบริษัท อย่างแกรมมี่ ได้กำไรจากตรงนี้ไม่น้อย 10-20 ล้านจากพวกโลโก้
ริงโทน" เขาย้ำว่า ทศท.คงต้องมานั่งดูคำถามง่ายๆ แต่ต้องตรงไปตรงมาว่า
ทศท.จะทิ้งโทรศัพท์มือถือที่มีแนวโน้มจะโตวันโตคืนหรือไม่ ถ้าไม่ทิ้งจะวางตัวเองไว้ในสถานภาพแบบไหนจะเป็นผู้ท้าทายหรือเป็นแค่ผู้ตาม
ไปก่อน หรือถ้าจะเป็นผู้ท้าทาย (ชา-แลนเจอร์)ทศท.ก็ต้องลงทุนอีกจำนวน มาก ประเด็นคือทศท.จะลงทุน
ในเรื่อง อะไรที่พอจะตอบผู้ถือหุ้นได้ว่าสามารถ ที่จะเป็นนิชมาร์เก็ต มีส่วนแบ่งตลาดได้ตามเป้าหมาย
"ตอนนี้ทศท.กำลังเผชิญสิ่งท้า ทายหลายมิติ ไม่ว่ามิติเรื่องแปรสัญญา มิติเรื่องการเข้าตลทด.
มิติเรื่องคอนซูเมอร์ ไดนามิค ที่มันเปลี่ยนไปตลอด เวลา"
เขากล่าวว่าอย่างปีที่แล้ว ทศท. กำไรมหาศาลจากที่เอไอเอสบูม ตัวเลขคนใช้โทรศัพท์มือถือมันโตกว่าโทร.พื้น
ฐานไปเป็นเท่าตัวแล้ว ตรงนี้บอร์ดต้อง มาตัดสินใจว่าถ้าจะเดินหน้า เดินหน้าอย่างไร
ด้วยวัตถุประสงค์อะไร ต้องตอบคำถามตัวเองให้ได้ว่าต้องการอะไรกันแน่ทั้งระยะสั้นและระยะยาว
แล้วมันจะง่ายกับฝ่ายจัดการ ที่จะดำเนินตามนโยบายที่กำหนดไว้
"ไทยโมบาย 1900 ถ้าต้องการทำให้เกิดอย่างน้อยต้องค้นหา 2-3 ประเด็นคือ 1.ต้องหาจุดแข็ง
2.จะเชื่อมหรือมีลูกเล่นกับฟิกซ์ไลน์ได้อย่างไร 3.การหาพันธมิตรเรื่องคอน-เทนต์โพรวายเดอร์อย่างไรต้องหาจุดที่เป็นนิชมาร์เก็ตให้ได้
เราไม่ใช่เบอร์ 1 หรือ 2 แต่เราเป็นเบอร์ 4 ต้องปล่อยให้ 3 ราย ตีกันเอง แต่ประเด็นคือต้อง
หาตลาดหรือเซกเมนต์ไหน ที่เราเข้มแข็งสุดๆหรือคู่แข่งไม่อยากเข้ามา"
ต้องยอมรับว่าเวลาเข้าสู่ธุรกิจ ไทยโมบายช้าไปมาก 3 รายสร้างตลาด ใหญ่มาก ถ้าเจะขยายผลด้านการ
ตลาดอาจติดปัญหาด้านอินฟรา- สตรักเจอร์เครือข่ายไม่พอ การทำงาน ในรูปรัฐ การจัดซื้อแบบรัฐ
ประเภทสัญญาหนาเป็นปึกในขณะที่เอไอเอสเหลือแผ่นเดียว จะไปสู้อะไรกับคู่แข่ง ได้
แค่นี้ก็ตายแล้ว
"การทำงานภายใต้ข้อจำกัด ต้องดูว่าข้อจำกัดอันไหนไม่จำเป็น ซึ่งผมคิดว่าทศท.ทำงานภายใต้เงื่อนไขไม่จำเป็นมาก
ต้องยกประเด็นนี้ขึ้นมา"
ในความคิดของดร.สุวิทย์ อยากให้ทศท.ต้องเป็นเบอร์1ในภาวะแวด-ล้อมการแข่งขัน เป็นเบอร์
1 ในบางเรื่องแต่ไม่ต้องเก่งทุกเรื่อง เป็นองค์กร ที่มีบทบาทนำในการแข่งขัน อาจไม่ใช่มาร์เก็ต
ลีดเลอร์ แต่ก็ทำกำไรในระดับหนึ่ง เป็นองค์กรที่เก่งในบางด้าน แต่ลึกในบางเรื่อง
"ถ้าทิศทางยุทธศาสตร์เคลียร์กลยุทธ์การตลาดจะตามมาเอง ถ้ากลยุทธ์การตลาดเคลียร์เราก็มาดูว่าเรามีศักยภาพความพร้อมมากแค่ไหน
บางส่วนทำเองไหว ก็อัพเกรดคนของเราทำ ถ้าไม่ไหวก็หาพาร์ตเนอร์ บางส่วนไม่ไหว เอาต์ซอร์ตเพื่อตอบยุทธ-ศาสตร์ของเรา
แต่ที่สำคัญต้องรู้ทิศทาง เชิงยุทธศาสตร์ขององค์กรนี้"
ทศท.ต้องวิเคราะห์ว่าแต่ละกลุ่ม มีจุดแข็งตรงไหนศักยภาพตรงไหน จุดอ่อนตรงไหน
แต่ละกลุ่มรวมพลังอย่างไร เขาเชื่อว่าจะทำอะไรก็ตามต้อง รู้ว่าหัวใจอยู่ตรงไหนแล้วกุมหัวใจไว้ให้ได้ส่วนที่เหลือ
ร่างกาย อวัยวะส่วน อื่น ไม่มีเวลาสร้างก็ซื้อเอา
สำหรับ8 กลุ่มธุรกิจ ต้องวิเคราะห์ว่าครบแล้วหรือยัง หรือบางเรื่องมันเชื่อมต่อกันอย่างไร
หัวใจอยู่ตรงไหน โอกาสที่จะทำกำไรมาจากไหน ต้องมองทั้งข้างนอกเข้าใน และมองจากข้างในออกไปนอก
มองแนวโน้มอุตสาหกรรมนี้ดูชาวบ้านทำอย่างไร ต่างประเทศเป็นอย่างไร ธุรกิจขับเคลื่อนเช่นไร
แล้วมองว่า 8 กลุ่มธุรกิจ ดังกล่าวไปถึงจุดที่ทศท.ต้องการอย่าง ไร ถ้า 8 กลุ่มธุรกิจไม่พอ
ภาพไม่สมบูรณ์ต้องมีกลุ่มที่9หรือ10ก็ต้องมี หรือจัดกลุ่มใหม่ให้เหลือแค่ 4 กลุ่มก็ทำให้ภาพสมบูรณ์ได้ก็มีแค่
4 กลุ่มก็พอ
"ผมชอบดูกลยุทธ์นำโครงสร้าง ไม่ชอบเอาโครงสร้างนำกลยุทธ์เราต้อง สร้างคอมมอน
กราวน์ เพื่อกำหนดคอมมอนโกล เพื่อเข้าใจร่วมกัน เมื่อได้อย่างนั้นกลยุทธ์จะตามมา"