|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
บริษัทจัดสรรเริ่มใจชื้น!! แนวโน้มแบงก์ปฎิเสธเงินกู้ลูกค้าเริ่มน้อยลง หลังภาวะน้ำมัน ดอกเบี้ย เงินเฟ้อ และการเมือง ไม่กดดันเหมือนช่วงก่อนปฎิวัติ ด้านประธานสมาคมสินเชื่อรับผู้บริโภคเป็นหนี้มากเกินไปจากนโยบายที่ผ่านมา ทำให้กู้ซื้อบ้านไม่ผ่าน เตือนคนซื้อบ้าน เลือกบ้านพอเพียงกับฐานะและมีเงินแล้วค่อยซื้อบ้าน เพื่อลดความเสี่ยงในอนาคต "ชาลอต โทณวณิก" จี้ผู้ประกอบการต้องสกรีนลูกค้าก่อนรับเงินดาวน์ พร้อมช่วยลูกค้าติดเครดิตบูรโรหากจ่ายหนี้หมดแต่ชื่อติด ก็ให้สินเชื่อ
ในช่วงที่ผ่านมา จากผลพวงของราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ย และเงินเฟ้อ รวมถึงความอ่อนไหวทางด้านเศรษฐกิจ ได้กลายเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่กดดันต่อภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ประสบปัญหาทางด้านการขาย และต้นทุนการบริหารจัดการโครงการที่เพิ่มตามต้นทุน ขณะที่ผู้บริโภคที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัย ก็ประสบปัญหาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ซึ่งมีผลต่ออำนาจในการซื้อที่ลดลง และรุกรามไปถึงภาคธนาคารพาณิชย์ต่างเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ส่งผลให้ยอดปฎิเสธสินเชื่อในระยะที่ผ่านมามีอัตราที่สูง ซึ่งมีการคาดการในระบบ ยอดปฎิเสธสูงถึง 30% หรือบางโครงการอาจมีปริมาณไม่ผ่านสินเชื่อกว่าตัวเลขของระบบ
นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต กรรมการและผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ PS เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ไม่ผันผวนเหมือนระยะที่ผ่านมา แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเริ่มชะลอสัญญาณที่จะปรับตัวสูง และอัตราเงินเฟ้อที่ไม่ได้ผลกระทบมากนักจากราคาน้ำมัน ได้กลายเป็นปัจจัยบวกที่อาจจะส่งผลให้ กำลังซื้อของผู้บริโภคเพิ่ม ซึ่งแนวโน้มที่เป็นบวกเช่นนี้ จะส่งผลให้ลูกค้าที่ขอสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ มีโอกาสได้รับการอนุมัติมากขึ้นกว่าช่วงที่ปัจจัยลบที่กล่าวมามีความรุนแรง จนส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์กังวลและเริ่มใช้นโยบายเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ
"ตนคิดว่าช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้จะเป็นจุดสูงสุดที่ทั้งระบบอาจจะมีตัวเลขปฎิเสธสินเชื่อสูง แต่แนวโน้มปี 2550 มีความเป็นไปได้ที่แบงก์จะผ่อนเรื่องการปฎิเสธสินเชื่อ เพราะความเสี่ยงดูเหมือนจะไม่เพิ่มขึ้น อีกทั้งสถานการณ์เมือง การเบิกจ่ายงบประมาณต้นปีหน้า จะกระตุ้นให้เศรษฐกิจมีการขับเคลื่อน ภาคธุรกิจกล้าลงทุนหลังจากรอประเมินสถานการณ์มาระยะหนึ่ง "นายประเสริฐกล่าว
นายไพโรจน์ สุขจั่น ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท บัวทอง พร็อพเพอร์ตี้ฯ กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่ลูกค้าที่ต้องการซื้อบ้านและขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน จะผ่านการอนุมัติ เหตุผลก็คือ ด้วยปัจจัยเสี่ยงทางด้านอัตราดอกเบี้ย ราคาน้ำมัน และการเมือง ไม่ได้กดดันอย่างมากเหมือนช่วงที่ผ่านมา แต่ถึงกระนั้น โอกาสที่สถาบันการเงินจะปฎิเสธสินเชื่อของลูกค้าที่จะกู้ซื้อบ้านอาจจะมีอยู่ ภายใต้ความพร้อมของลูกค้าและความสามารถแต่ละรายบุคคล แต่สัดส่วนการไม่ผ่านสินเชื่อจะน้อยลงบ้าง ไม่รุนแรงเหมือนระยะที่ผ่านมา ที่มีการคาดการว่าลูกค้าโครงการไม่ผ่านมีมากกว่า 30%
" แบงก์อาจจะปฎิเสธบ้างแต่น้อยลง ยิ่งในช่วงหลังปฎิวัติแล้ว ดูไปแล้วทุกอย่างดีไปหมด น้ำมัน ดอกเบี้ยจากต่างประเทศไม่กระทบชิงกับไทยมากนัก แบงก์มีความมั่นใจในภาพรวมเศรษฐกิจ แต่หลักสำคัญสำหรับคนที่คิดจะซื้อบ้านแล้ว การมีเงินออมระดับหนึ่ง เป็นสิ่งที่ต้องมี เพื่อเป็นหลักประกันและลดความเสี่ยงกับลูกค้าได้ " นายไพโรจน์กล่าว
แบงก์คาดปี50ยอดปฎิเสธเงินกู้เบาลง
นายกิตติ พัฒนพงศ์พิบูล ประธานสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย กล่าวว่า ปัญหาการปฏิเสธสินเชื่อของสถาบันการเงินในช่วงที่ผ่านมา มี 4 ประเด็นที่ทำให้ผู้บริโภคขอสินเชื่อไม่ผ่าน ได้แก่ 1.ในช่วง 1-2 ปีก่อนหน้านี้มีการแข่งขันปล่อยสินเชื่อบ้านของสถาบันการเงินอย่างมาก ทำให้คนที่มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์สินเชื่อของสถาบันการเงินได้ขอสินเชื่อไปจนเกือบหมดแล้ว 2. อัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นตั้งแต่ปี 2548 ประมาณ 2% ทำให้ภาระการผ่อนชำระเพิ่มขึ้นทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยรวมประมาณ 20% ในขณะที่รายได้ของผู้กู้ไม่ได้เพิ่มตามหรือเพิ่มน้อยกว่าภาระที่ต้องจ่ายเพิ่ม
3.ข้อมูลเครดิตบูรโรที่มีความละเอียดมากขึ้น ทำให้สถาบันการเงินสามารถตรวจสอบประวัติการใช้เงินของผู้กู้ได้อย่างละเอียด ต่างจากในอดีตที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าผู้กู้มีหนี้ที่ใดบ้าง และ 4. การแข่งขันออกบัตรเครดิต รวมไปถึงการแข่งขันทางด้านสินเชื่อบุคคลของสถาบันการเงิน ทำให้ประชาชนมีหนี้เพิ่มมากขึ้น มีภาระการใช้จ่ายเพิ่ม ส่งผลให้เหลือเงินออมน้อยลง และเมื่อขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินจึงขอเงินกู้ไม่ผ่าน
ทั้งนี้ปัญหาดังกล่าว ควรปล่อยให้เป็นไปตามกลไกลของตลาด เพราะหากไปสนับสนุนหรือออกนโยบายออกมาเพื่อให้คนมีหนี้มากขึ้นก็จะเป็นการเพิ่มภาระ ซึ่งอาจทำให้เป็นหนี้เสียในภายหลังได้ นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องธรรมชาติที่ที่ดอกเบี้ยขึ้น คนกู้ก็ต้องน้อยลงเป็นธรรมดา ปัญหาดังกล่าวควรปล่อยให้เป็นไปตามกลไกลตลาด คือ ผู้กู้ถึงเวลามีเงินหรือรายได้เพียงพอที่จะซื้อบ้านก็จึงค่อยซื้อ หรือเก็บเงินจนกว่าจะเพียงพอที่จะดาวน์บ้านได้ ขณะที่ผู้ประกอบการไม่ควรไปเร่งรัดให้ผู้บริโภคซื้อบ้านทั้งๆที่ยังไม่พร้อม แต่ที่ผ่านมาผู้ประกอบการเองได้ปรับมาผลิตบ้านราคาถูกลงเพื่อรองรับกำลังซื้อในปัจจุบัน
"ปัญหากู้ซื้อบ้านไม่ผ่านไม่ควรหาทางป้องกันหรือออกมาตรการมาช่วย ควรปล่อยให้เป็นไปตามกลไกลตลาด ถ้าไปทำอะไรเพื่อเอื้อให้คนซื้อบ้านได้ ตลาดก็จะบิดเบือน ทางที่ดีซื้อบ้านตามกำลังที่มี หรือออมเงินแล้วค่อยซื้อจะดีกว่า จะได้ไม่เป็นหนี้เสียภายหลัง แต่จากภาวะดอกเบี้ยเริ่มทรงตัว เชื่อว่าในปีหน้าดอกเบี้ยบ้านน่าจะลดลงมาประมาณ 1% ซึ่งจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น " นายกิตติกล่าว
นางชาลอต โทณวณิก ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การปฏิเสธสินเชื่อรายย่อยของธนาคารพาณิชย์ในช่วงที่ผ่านมามีสัดส่วนเพิ่มขึ้น โดยปัญหาหลักๆมาจาก ลูกค้าติดเครดิตบูรโร แม้จำนวนจะไม่มาก แต่ก็ยังมีประวัติการเป็นหนี้เสีย ปัจจุบันธนาคารบางแห่งก็ได้ผ่อนปรนลงบ้าง โดยในส่วนของธนาคารกรุงศรีฯ จะพิจารณารายละเอียดของผู้ที่ติดเครดิตบูรโร หากมีการชำระหนี้คืนแล้ว แต่ยังมีรายชื่ออยู่ในเครดิตบูรโรก็สามารถปล่อยสินเชื่อได้ ซึ่งจะเป็นการช่วยลูกค้า(ปลดล็อก)ไปได้บ้าง นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังมีภาระหนี้เพิ่มมากขึ้น ทั้งจากบัตรเครดิต การผ่อนซื้อสินค้า ทำให้รายได้ที่เหลือไม่เพียงพอเมื่อไปผ่อนชำระสินเชื่อบ้าน
ทั้งนี้การแก้ปัญหา ผู้ประกอบการพัฒนาที่อยู่อาศัยและธนาคารพาณิชย์ ควรจะมีการร่วมมือกัน ตรวจสอบ(สกรีน)ลูกค้าในเบื้อต้นก่อนรับเงินจอง หรือเงินดาวน์ เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาเมื่อธนาคารไม่อนุมัติสินชื่อ นอกจากนี้ ลูกค้าควรมีการวางแผนการใช้เงินให้ดีก่อนตัดสินใจขอสินเชื่อจากธนาคาร โดยหลักสำคัญ ต้องมีเงินออมส่วนหนึ่ง หรือหากมีเงินไม่พอก็ควรซื้อบ้านหลังเล็กลงให่เหมาะสมกับรายได้ของตนเอง
"ในส่วนของการปล่อยสินเชื่อโครงการ ก็เป็นธรรมดาในภาวะที่การเติบโตลดลง ธนาคารก็ต้องดูประวัติผู้กู้อย่างละเอียดมากขึ้น ผู้ประกอบการต้องมีประสบการณ์ในตลาดนั้นๆ มาบ้างแล้ว ทำเลโครงการต้องดี ส่วนรายใหม่ก็เป็นธรรมดาที่แบงก์จะต้องดูละเอียดมากกว่า เนื่องจากเสี่ยงถ้าขายดีเฉพาะวันเปิดตัวโครงการและอีก 10 -12 เดือนที่เหลือขายไม่ได้เลย เราเองก็ต้องระวังให้มาก" นางชาลอตกล่าว
|
|
|
|
|