Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน31 ตุลาคม 2549
เอพีชี้หลังปฎิรูปยอดขายพุ่ง200ล.             

 


   
search resources

อนุพงษ์ อัศวโภคิน
Real Estate




" อนุพงษ์ อัศวโภคิน" วิเคราะห์อสังหาฯในยุครัฐบาลชุดใหม่แนวโน้มดี ชี้หลังปฏิรูปการปกครองยอดขายพุ่งเกือบ 200 ล้านบาท/สัปดาห์ คาดสิ้นปียอดขายไม่ต่ำกว่า 7,500 ล้านบาทสูงกว่าที่วางไว้ 7,000 ล้านบาท ล่าสุดเปิด 3 โครงการใหม่ ต้นปีหน้าเปิดอีก 4 โครงการ ทำให้มีสินค้ารอขายมูลค่ารวม 11,000 ล้านบาท เผยขายตึกอาร์เอสทาวน์เวอร์ ซ.ทองหล่อให้กองทุนสิงคโปร์มูลค่า 1,432 ล้านบาท ฟันกำไร 600 ล้านบาท ด้านวิจัยกสิกรไทยฯ ชี้บทสำรวจลูกค้า พบความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเริ่มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องถึงปี 2551 ระบุระดับราคาที่ต้องการซื้อบ้านตั้งแต่ 1 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 3 ล้านบาท ประเภทบ้านเดี่ยวยังมาแรง

นายอนุพงษ์ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ AP เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่มีการปฏิรูปการปกครองเมื่อวันที่ 19 ก.ย.ที่ผ่านมา บริษัทมียอดขายเพิ่มมากขึ้นเฉลี่ย 150-200 ล้านบาท/สัปดาห์ จากเดิมช่วงก่อนที่มีการปฏิรูปการปกครองมียอดขายประมาณ 100-150 ล้านบาท/สัปดาห์ แสดงให้เห็นว่าประชาชนมีความเชื่อมั่นมากขึ้น รวมไปถึงราคาน้ำมันได้ปรับลดลงมาบ้างแล้ว ประกอบกับภาวะอัตราดอกเบี้ยเริ่มนิ่ง ทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นมากขึ้น

ปัจจุบันบริษัทมียอดจองซื้อโครงการจำนวน 6,500 ล้านบาท โดยสิ้นปีตั้งเป้ายอดขายประมาณ 7,000 ล้านบาท จากอัตราการขายดังกล่าว จะทำให้บริษัทมียอดขายไม่ต่ำกว่า 7,500 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่วางเอาไว้ และในไตรมาส 3 บริษัทมีกำไร 580 ล้านบาท

นายอนุพงษ์ กล่าวต่อว่า แม้ว่าปัจจัยลบต่างๆจะคลี่คลายลงไปใช่วงปลายไตรมาส 3 ทำให้ภาวะตลาดกลับดีขึ้นมาบ้าง โดยเชื่อว่าในปี 2550 ภาวะตลาดยังคงดีอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีปัญหาในเรื่องของการแข่งขันที่สูงในบางทำเล ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้าในทำเลนั้น

“ภาพรวมของตลาดอสังหาฯตอนนี้ดีขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงที่แย่ที่สุด และปีหน้าก็น่าจะดี แต่การแข่งขันจะดุเดือดมากขึ้น โครงการเปิดตัวมากขึ้น เพราะอั้นมานาน และที่ผ่านมาไม่มีใครตายหรือเจ๊งเลย เมื่อมีการแข่งขันค่าการตลาดก็จะต้องเพิ่มขึ้นตาม ทำให้กำไรขั้นต้นต้องลดลงอย่างแน่นอน ปัญหาใหญ่ก็คือ จะบริหารอย่างไรไม่ให้ต้นทุนการดำเนินงานเพิ่มขึ้น ถ้าลดลงได้มากก็จะมีกำไรสุทธิมากขึ้นได้ เพราะค่าก่อสร้างไม่ได้ปรับขึ้น“ นายอนุพงษ์กล่าวและชี้ว่า

บริษัทเอพี มีต้นทุนจากการบริหารการขายและการตลาดประมาณ 10% ของยอดขาย และมีงบโฆษณาประชาสัมพันธ์ 2.5% ของยอดขาย โดยบริษัทในตลาดจะมีค่าการตลาดดังกล่าวตั้งแต่ 6-25% ขึ้นอยู่การบริหารจัดการของแต่ละบริษัท

ล่าสุดบริษัทได้เปิดตัวโครงการใหม่ 3 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการ บ้านกลางเมือง Swiss Town เกษตร-นวมินทร์ เนื้อที่ 31 ไร่ ทาวน์เฮาส์ 321 ยูนิต ราคาเริ่มต้น 3.49 ล้านบาท มูลค่า 1,000 ล้านบาท 2. บ้านกลางเมือง The Paris พระราม 9 เนื้อที่ 23 ไร่ 297 ยูนิต ราคาเริ่มต้น 2.75 ล้านบาท มูลค่าโครงการ 750 ล้านบาท และ 3. บ้านกลางเมือง The Royal Monaco ศรีนครินทร์ – พัฒนาการ เนื้อที่ 31 ไร่ จำนวน 309 ยูนิต ราคาเริ่มต้น 3.69 ล้านบาท มูลค่าโครงการประมาณ 1,000 ล้านบาท

โดยทั้ง 3 โครงการจะเปิดขายอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 พฤศจิกายนนี้ ลูกค้าที่ซื้อตั้งแต่วันนี้จะถึงวันที่ 12 พ.ย. จะได้รับบัตรกำนัลจาก เอสบี เฟอร์นิเจอร์ และอินเด็กซ์ มูลค่า 5 แสนบาท/ยูนิต และก่อนหน้านี้ได้ทำการเปิดขายอย่างไม่เป็นทางการโครงการคอนโดมิเนียม Life @ รัชดา มูลค่าโครงการ 1,000 ล้านบาท ราคาประมาณ 1.5 ล้านบาท นอกจากนี้บริษัทจะออกโฆษณาใหม่ 3 เรื่อง ตลอด 2 สัปดาห์ก่อนเปิดขายโครงการอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 พ.ย. โดยใช้งบ 13 ล้านบาท

**ทุ่มกว่าพันล้านกว้านซื้อที่ดิน ลุยคอนโดฯ-ทาวน์เฮาส์เบรกบ้านเดี่ยว

สำหรับแผนการดำเนินงานในปี 2550 นายอนุพงษ์ กล่าวว่า ได้เตรียมงบประมาณซื้อที่ดินไว้1,500 ล้านบาท เฉลี่ย 6-7 แปลง ขณะที่ในปีนี้ ได้ใช้เงินซื้อที่ดินไปแล้ว 1,200 ล้านบาท คาดว่าจนถึงสิ้นปีจะใช้เม็ดเงินซื้อที่ดินรวมประมาณ 1,500 ล้านบาท ปัจจุบันบริษัทมีที่ดินจะพัฒนาโครงการและเปิดในปีหน้า 4 โครงการ รวมมูลค่า 3,500 ล้านบาท ได้แก่ 1.ดิแอสเดรท ชิดลม, 2. บ้านกลางเมือง กรุงเทพกรีฑา, 3.บ้านกลางเมือง ลาดปลาเคล้า และ 4. ออฟฟิต พาร์ค วังหิน โดยในปีหน้าบริษัททจะไม่พัฒนาโครงการบ้านเดี่ยว จากที่ปัจจุบันมีการผลิตอยู่ที่ 25% คอนโด 15% และทาวน์เฮาส์ 60% ส่วนในปีหน้าจะเพิ่มสัดส่วนการพัฒนาคอนโดเป็น 40-45% และที่เหลือเป็นทาวน์เฮาส์ โดยบริษัทมีสินค้ารอขายประมาณ 7,500 ล้านบาท แต่หากรวมกับ 3 โครงการที่จะเปิดใหม่ และรวมกับโครงการใหม่ในช่วงไตรมาส 4 จนถึงปีหน้า จะทำให้ขนาดของมูลค่าสินค้าที่จะขายมีถึง 11,000 ล้านบาท

" สาเหตุที่ไม่พัฒนาโครงการบ้านเดี่ยว เนื่องจากเห็นว่าราคาน้ำมันแพง ทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูง ขณะเดียวกัน พฤติกรรมของผู้บริโภคเริ่มหันมาใช้บริการรถไฟฟ้ามากขึ้น หากพัฒนาบ้านเดี่ยวต้องพัฒนาในพื้นที่ไกล ๆซึ่งไม่ค่อยตรงกับความต้องการของลูกค้า ขณะที่สต็อกบ้านเดี่ยวและที่ดินที่ผู้ประกอบการซื้อมาเพื่อพัฒนาบ้านเดี่ยวนั้นยังเหลืออีกมาก ดังนั้นจึงไม่อยากเข้าไปแข่งขันในตลาดดังกล่าว "นายอนุพงษ์กล่าว

**ขายตึกอาร์เอสฟันกำไร 600 ล้าน **

นายอนุพงษ์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้บริษัทสามารถขายโครงการอาคารอาร์เอสทาวน์เวอร์ ที่ตั้งอยู่ในซอยทองหล่อได้แล้วเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา มูลค่ารวม 1,432 ล้านบาท ให้แก่กลุ่มทุนอสังหาริมทรัพย์จากสิงคโปร์ที่ชื่อ Bigton Investment เข้ามาซื้อในนามของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ City Asset โดยสาเหตุที่เข้ามาซื้อในนามของกองทุนฯนั้น เนื่องจากสามารถถือหุ้นได้ 100% แต่หากซื้อในนามบริษัทนั้นจะถือหุ้นได้ไม่เกิน 49% เท่านั้น โดยการขายในครั้งนี้ บริษัทสามารถทำกำไรได้เกือบ 600 ล้านบาท

" ที่ขายตึกออกไป เนื่องจากไม่ถนัดเรื่องของอาคารสำนักงาน แต่กลุ่มทุนที่มาซื้อ เป็นกลุ่มทุนที่ทำธุรกิจค้าปลีกและอาคารสำนักงาน รวมถึงเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์อยู่แล้ว และถือเป็นกลุ่มทุนจากสิงคโปร์กลุ่มใหม่ล่าสุดที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย"

***ความต้องการที่อยู่อาศัย-แรงซื้อยังโตต่อเนื่อง

บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ได้รายงานถึงทิศทางและความต้องการของตลาดที่อยู่อาศัยในช่วงระยะเวลาที่เหลือของปี 2549 - 2551 โดยผ่านการสำรวจจากลุ่มตัวอย่าง 695 คน พบว่า ความต้องการที่อยู่อาศัยช่วงที่เหลือของปี49 -51 มีอยู่ต่อเนื่อง โดยกลุ่มตัวอย่างที่คิดจะซื้อที่อยู่อาศัยมีสัดส่วน 69.7% (ผู้ที่คิดจะซื้อที่อยู่อาศัยจากกลุ่มตัวอย่างผู้ที่ไปชมงาน "มหกรรมบ้านและคอนโดฯ ครั้งที่ 15") ส่วนกลุ่มตัวอย่างทั่วไปที่มีความคิดที่จะซื้อที่อยู่อาศัยมีสัดส่วน 42.1% กลุ่มผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยสามารถแยกได้เป็น กลุ่มที่ต้องการซื้อภายในปี49 คิดเป็น 10.5% และคิดจะซื้อหรือสร้างภายในปี 50 มี 43.1 % และคิดจะซื้อหรือสร้างในปี 51 หรือหลังจากนั้น 23.9%

ทั้งนี้ จำนวนผู้ที่ตัดสินใจจะซื้อที่อยู่อาศัยในปี 50 มีสัดส่วนค่อนข้างสูง เนื่องจากไตรมาสสุดท้ายปี 49 ปัจจัยลบต่างๆเริ่มคลี่คลาย ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคฟื้นคืนมา ผู้ที่ชะลอการซื้อที่อยู่อาศัยในช่วงปี 49 เริ่มกลับมาในปี 50 อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เลือกที่จะซื้อที่อยู่อาศัยในปี 50 หรือหลังจากนั้น พบว่าส่วนหนึ่งมาจากสินค้าในตลาดยังไม่ตรงกับความต้องการ อาทิ ทำเลของโครงการรูปแบบที่อยู่อาศัยและ ราคา

โดยกลุ่มที่มีความต้องการซื้อสูงสุด มีช่วงอายุระหว่าง 25-30 และ31-40 ปี คิดเป็น 38.9% และ 35.7% ซึ่งทั้ง 2 กลุ่ม เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อ เพราะเป็นวัยทำงาน เริ่มมีความมั่นคงทางการงานและคิดจะตั้งครัวเรือนใหม่ โดยสามารถแบ่งได้ตามความต้องการหรือวัตถุประสงค์ในการซื้อประกอบด้วย ต้องการขยับขยายที่อยู่เดิม60.6%เพราะ และแบ่งเป็นกลุ่มที่กำลังสร้างครอบครัว 9.3% กลุ่มที่ไม่มีที่อยู่อาศัย 8.5% โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ที่มีรายได้สูงกว่า 20,000 บาทขึ้นไป

*** บ้านใหม่ทำเลดียังแรงไม่ตก

นอกจากนี้ ยังพบอีกว่า กลุ่มที่จะซื้อบ้านใหม่มีสูงถึง 63.8%บ้านมือสอง25.3% และต้องการสร้างบ้านเอง10.9% โดยกลุ่มนี้ต้องการที่อยู่อาศัยใหม่ ทั้งบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียม สำหรับกลุ่มที่ต้องการสร้างบ้านเองส่วนใหญ่ 74.3% เพราะมีที่ดินเอง สามารถออกแบบบ้านได้ตามความต้องการ ควบคุมค่าใช้จ่ายและคุณภาพของวัสดุได้ ส่วนผู้ที่ต้องการซื้อที่บ้านมือสอง เนื่องจากมีราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับบ้านใหม่ในทำเลที่ต้องการ ทั้งนี้ กลุ่มอายุ 31-40 ปี จะมีสัดส่วนผู้ที่สนใจบ้านมือสองมากกว่ากลุ่มอายุอื่น โดยมีสัดส่วนความสนใจบ้านมือสอง 40.9% ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีรายได้อยู่ระหว่าง 10,000 –40,000บาท

ทั้งนี้ กลุ่มผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ต้องการซื้อโครงการสร้างเสร็จแล้ว 64.4% โครงการที่กำลังสร้าง 27 % และโครงการที่เปิดตัวใหม่ 8.6% โดยแบ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกที่ซื้อที่อยู่อาศัย คือ ทำเลที่ตั้งของโครงการ21% ซึ่งทำเลที่ต้องการมากที่สุด ได้แก่ กรุงเทพฯตะวันออก บางนา สุขุมวิท นวมินทร์ และสุวรรณภูมิ รองลงมาย่านใจกลางเมือง 69.2 % ถัดมา ได้แก่ กรุงเทพฯตอนบน แจ้งวัฒนะ ติวานนท์ ประชาชื่น รังสิต และ กรุงเทพฯ ตะวันตก พระราม 5 วงแหวนตัดใหม่ ตลิ่งชัน ฝั่งนนทบุรี

ปัจจัยรองลงมาคือ ราคาของที่อยู่อาศัย18.2% ทั้งนี้ราคาของที่อยู่อาศัยนั้น ผู้ซื้อจำเป็นต้องเลือกในระดับราคาที่สอดคล้องกับความสามารถหรือกำลังซื้อของตนโดยเฉพาะต่อผู้ที่ต้องการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน รองลงมาคือ ปัจจัยด้านการเดินทาง คือ ที่ตั้งอยู่ใกล้โครงการรถไฟฟ้าและทางด่วน 13.9% เนื่องจากปัจจุบันราคาน้ำมันแพงกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ปัจอีกตัวหนึ่งคือความน่าเชื่อถือของเจ้าของโครงการ13.2% รูปแบบที่อยู่อาศัย11.8% คุณภาพของวัสดุก่อสร้าง 8.9%

*** บ้านเดี่ยวครองแชมป์ความต้องการสูงสุด

ทั้งนี้แม้ว่าคอนโดมิเนียมจะมีกระแสการตอบรับสูง และมียอดขายเติบโตมากกว่าโครงการแนวราบ แต่รูปแบบที่อยู่อาศัยที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดยังคงเป็นบ้านเดี่ยว 38.3% รองลงมาคือทาวน์เฮาส์ 28.5% และคอนโดมิเนียม18.3% ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่มีอายุ ระหว่าง 25-30 ปี ชอบความอิสระ สะดวกสบายในการเดินทาง และใกล้สิ่งอำนวยความสะดวก ส่วนผู้มีอายุ 40 ปีขึ้นไปที่ซื้อคอนโดฯจะเป็นการซื้อเพื่อปล่อยให้เช่า

สำหรับแหล่งเงินทุนที่จะนำมาเพื่อใช้ซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่มาจากเงินออมของตัวเองส่วนหนึ่งและสินเชื่อจากสถาบันการเงิน 92.3% ส่วนผู้ที่ใช้เงินออมทั้งหมดมี 7.8% และใช้เงินกู้ยืมจากญาติพี่น้องมีจำนวน3.2% ส่วนสัดส่วนของผู้ที่คิดจะขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินต่อราคาบ้านนั้น โดยส่วนใหญ่ต้องการขอสินเชื่อเป็นสัดส่วนระหว่าง 80-90% ของราคาที่อยู่อาศัย58.2% รองลงมาต้องการขอสินเชื่อเป็นสัดส่วนระหว่าง 70-80% ของราคาที่อยู่อาศัย 14.1% และต้องการขอสินเชื่อเป็นสัดส่วนระหว่าง 60-70%ของราคาที่อยู่อาศัย9.2%

*** เศรษฐกิจปัจจัยหลังการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย

จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยลบต่างๆ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ทำให้มีความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคต้องมีการวางแผนให้รอบคอบ ซึ่งรวมถึงฐานะการเงินและรายได้ในอนาคตด้วย ทั้งนี้ความไม่แน่นอนของภาวะทางเศรษฐกิจเป็นสาเหตุที่ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยให้ความสำคัญ และเป็นกังวลอย่างมาก คิดเป็น 29.6% ปัจจัยรองลงมา ระดับรายได้ในอนาคตของผู้บริโภคคิด 27.5% เนื่องจากการซื้อที่อยู่อาศัยนั้นผู้ซื้อส่วนใหญ่ จะขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าการใช้เงินออมของตนเองในการซื้อที่อยู่อาศัย

นอกจากนี้ความไม่แน่นอนของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อคิดเป็น 22.5% เห็นได้จากอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่ออำนาจการซื้อที่ลดลง โดยเฉพาะต่อผู้ที่มีภาระที่ต้องผ่อนจ่ายสินเชื่อบางประเภท ทั้งนี้จากผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาระต้องผ่อนสินเชื่อต่างๆ ซึ่งคิดเป็น 92.4% ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ส่วนปัจจัยที่สร้างความกังวลต่อผู้ซื้อที่อยู่อาศัย อื่นๆ ได้แก่ ฐานะความมั่นคงของเจ้าของโครงการ12.6% และการเวนคืนที่ดินที่ในอนาคต 7.7%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us