Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2549
ปากช่องที่ไม่มีคนปากช่อง             
โดย สุภัทธา สุขชู สมเกียรติ บุญศิริ
 

   
related stories

ชุมชนชีวิตของคนที่ต้อง "ตกผลึก" แล้ว
เที่ยวเขาใหญ่...ไม่มีอด (ความ) อยาก
St.Stephen's โรงเรียนนานาชาติกลางขุนเขา
Gran Monte Vineyard สวรรค์น้อยกลางเขาใหญ่
คีรีมายา: มายาชีวิต กิตติ ธนากิจอำนวย

   
search resources

Tourism




คนที่มาเที่ยวหรือพักอาศัยในเขาใหญ่ต้องรู้จักปากช่อง เพราะเป็นหัวใจสำคัญของคนในย่านนี้ในการซื้อหาสินค้าอุปโภคบริโภค การติดต่อทางนิติกรรม และธุรกรรมต่างๆ

หากเขาใหญ่เปรียบเหมือนใบหน้าที่สวยงามเชิญชวนให้มอง ปากช่องก็เปรียบเหมือนท้อง ที่คอยส่งสารอาหาร เพื่อบำรุงให้ร่างกายและใบหน้าสดใส

ตัวอำเภอปากช่อง แยกจากถนนมิตรภาพตัดใหม่เข้าไประยะทางกว่า 10 กิโลเมตร ก็เริ่มเข้าสู่ศูนย์กลางราชการและธุรกิจแล้ว ในตลาดปากช่องมีหน่วยงานราชการตามแบบแผนที่อำเภอ ทั่วไปควรจะมี แต่ในภาคของธุรกิจเอกชนแล้ว ปากช่องมีธนาคารพาณิชย์ และธนาคารของภาครัฐ เปิดให้บริการครบถ้วน ร้านค้าสะดวกซื้อ ตลาดสด ร้านอาหาร

ปากช่องสามารถรองรับการทำธุรกรรมของคนในพื้นที่และคนที่แวะเวียนมาได้อย่างสมบูรณ์แบบ

ชนะศักดิ์ อุ่นเมตตาอารีย์ อดีตนายกเทศบาลปากช่อง 4 สมัย บอกว่า สาเหตุที่ทำให้ปากช่องมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายอย่างนี้ เพราะเป็นอำเภอที่มีประชากรหนาแน่น กำลังการซื้อสูง แต่ที่สำคัญก็คือ อำเภอปากช่องถูกเลือกเป็นบ้านหลังที่สองของข้าราชการ นักธุรกิจจำนวนมาก ปัจจัยหนึ่งก็คือปากช่องใกล้กรุงเทพฯ มีดินฟ้าอากาศดี ธรรมชาติดี มีโรงแรม รีสอร์ต ไม่ต่ำกว่า 30 แห่ง สนามกอล์ฟอีกหลายสนาม

ตัวเลขประชากรในอำเภอปากช่องขณะนี้ประมาณกันว่าอยู่ที่ 190,000 คน ยังไม่นับรวมผู้ที่ย้ายถิ่นฐานแต่ไม่ได้แจ้งย้ายตามกฎหมาย ความหนาแน่นของประชากรขนาดนี้ กลายเเป็นแม่เหล็กที่ดึงให้ธุรกิจต่างๆ วิ่งเข้ามาที่นี่

ส่วนการเติบโตของปากช่อง ชนะศักดิ์ ยังจำได้ดีว่า ยุคที่พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ปี 2533 เกิดความเปลี่ยน แปลงมากมายในปากช่อง เขาใหญ่ และพื้นที่ ใกล้เคียง ราคาที่ดินขยับขึ้นกันเป็นรายวัน คนในพื้นที่ต่างปรับฐานะตัวเองจากเกษตรกร เป็นเศรษฐีใหม่ พร้อมๆ กับการเข้ามาของกลุ่มนักลงทุนจากกรุงเทพฯ ที่เข้ามาพัฒนาโครงการสนามกอล์ฟ โรงแรม รีสอร์ต บ้านพักอาศัย แต่เมื่อถึงวิกฤติเศรษฐกิจ ทุกอย่างก็ล่มสลายลงไป จนเมื่อช่วง 5 ปีที่ผ่านมาค่อยกลับมาบูมอีกครั้งหนึ่ง

เขาอธิบายด้วยว่า ราคาที่ดินในบริเวณ อำเภอปากช่อง กับเขาใหญ่จะมีความแตกต่างกัน โดยราคาที่ดินของเขาใหญ่จะแพงกว่า เพราะได้รับความนิยมจากคนกรุงเทพฯ และนักลงทุน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ทั้งปากช่อง และเขาใหญ่ ต่างก็มีธรรมชาติ ความสวยงาม ที่ทัดเทียมกัน

จากการที่ลงเล่นการเมืองท้องถิ่นและทำธุรกิจในปากช่อง เขาติดตามความเปลี่ยนแปลงของปากช่องในช่วงนี้อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการซื้อขายที่ดิน เขาพบว่า เดิมทีจะมีแต่ข้าราชการระดับใหญ่ๆ มาซื้อที่ในย่านนี้ ก็เปลี่ยนมาเป็นนักธุรกิจจากกรุงเทพฯ เข้ามาแทน กลุ่มที่ต้องการบ้านพักดีๆ ก็ไปซื้อที่ทางเขาใหญ่ แต่กลุ่มที่ต้องการทำเกษตร ก็มุ่งมาที่ปากช่อง จนขณะนี้ในปากช่องมีสวนกล้วยไม้ส่งออกขนาดใหญ่ และแปลงปลูกผักขนาดใหญ่ เพื่อส่งเข้ามาขายในกรุงเทพฯ

"ที่น่าสนใจคือ มีคนจากพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ที่กำลังมีปัญหาอยู่ขณะนี้ มาซื้อที่เพื่อทำไร่บ้าง ทำสวนบ้าง ผมคิดว่าพวกที่ย้ายมาคงต้องการความปลอดภัย และมั่นคง"

เขาบอกด้วยว่า การซื้อที่ดินทั้งปากช่อง และเขาใหญ่ใน 2 ปีมานี้ผิดสังเกต คือมีคนซื้อ ที่ทุกประเภท มีเอกสารสิทธิ์แบบไหนก็ได้ ทุกวันนี้ที่ทำการที่ดินในอำเภอปากช่องคนแน่นมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าธุรกิจที่ดินเติบโต

ส่วนย่านทำเลทองที่มีการซื้อขายที่ดินที่แพงที่สุดในช่วงนี้ เขาบอกว่า ตั้งแต่กิโลเมตรที่ 9 ของถนนธนะรัชต์ ขึ้นไปถึงอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ริมถนนราคาไร่ละกว่า 1 ล้านบาทขึ้นไป และทำเลที่กำลังเริ่มแพงขึ้นตามกระแสนิยมก็คือบ้านเหวปลากั้ง ที่มีนักธุรกิจจากกรุงเทพฯมาซื้อที่ปลูกบ้าน และทำไร่องุ่น เพื่อผลิตไวน์ อีกจุดหนึ่งก็คือเส้นทางไปอำเภอวังน้ำเขียว บริเวณบ้านคลองเดื่อ คลองดินดำ ทั้ง 2 ทำเลหลังนี้ราคายังอยู่ที่ไร่ละหลักแสนเท่านั้น

สำหรับบริเวณปากช่องเอง กลางอำเภอปากช่องมีราคาแพงที่สุด เพราะอยู่กลางเมือง จากนั้นก็กระจายออกไปทางหนองกระจาด ซับเศรษฐี

การเติบโตของเขาใหญ่ ย่อมทำให้ปากช่องได้รับผลดีตามไปด้วย

ชนะศักดิ์บอกว่า ยิ่งมีการย้ายเข้ามามาก มีการสร้างบ้าน โรงแรม รีสอร์ต ทำสวน ทำไร่ ธุรกิจที่ดีที่สุดในช่วงที่ผ่านมาก็คือ วัสดุก่อสร้าง ทั้งในส่วนของผู้ผลิต และร้านค้า เมื่อมีการก่อสร้าง วัสดุก่อสร้าง เช่น เหล็ก ก็เป็นสินค้า จำเป็น และขณะนี้ที่ปากช่องจะมีโรงงานผลิต เหล็กขนาดใหญ่เพื่อส่งป้อนให้กับภาคอีสานทั้งหมดเร็วๆ นี้ โดยเป็นการลงทุนของคนปากช่องเองด้วย

ร้านค้าวัสดุก่อสร้างในอำเภอปากช่อง มีหลายร้าน แต่ละแห่งมีสินค้าขายแบบครบวงจร และข้อได้เปรียบก็คือ อยู่ใกล้กับแหล่งผลิตวัสดุก่อสร้างที่รวมตัวกันอยู่บนถนนมิตรภาพ เส้นทางระหว่างสระบุรีมาปากช่อง

ส่วนธุรกิจที่ดีรองลงมาก็คือ ร้านขายอุปกรณ์การเกษตรต่างๆ เพราะที่ปากช่องมีโรงแรม รีสอร์ต สนามกอล์ฟ บ้านที่อยู่อาศัย จำนวนมาก การบำรุงรักษาต้นไม้ สวนต่างๆ ก็ต้องพึ่งพาอุปกรณ์เหล่านี้

เช่นเดียวกับร้านค้าอุปกรณ์การเกษตรที่ตัวอำเภอปากช่อง มีเรียงรายอยู่สองฝั่งถนนในตัวอำเภอ พื้นที่ของแต่ละร้านใช้อาคารพาณิชย์ตั้งแต่ 2-3 ห้อง มีอุปกรณ์เรียงรายอยู่เต็มหน้าร้าน และอุปกรณ์ที่ดูว่าได้รับความสนใจมากที่สุดก็คือ เครื่องตัดหญ้าแบบสะพายบ่า มี จำนวนมากที่สุด ส่วนร้านค้าแต่ละร้านก็ไม่ได้ตั้งห่างกัน อยู่ถัดกันไป ขึ้นอยู่กับว่าลูกค้าจะเลือก ร้านไหนเท่านั้น

"แต่ธุรกิจที่ไม่ดีเลย ก็พวกร้านโชวห่วยของชาวบ้าน ไม่ดีเท่าไร" เขาให้คำตอบถึงธุรกิจ ที่ไม่ประสบความสำเร็จ

ในตัวอำเภอปากช่องก็มีร้านสะดวกซื้ออย่าง 7-11 จำนวน 2 สาขา แห่งแรกอยู่ในตัวอำเภอ อีกแห่งหนึ่งอยู่ในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ก่อนเข้าตัวอำเภอ นอกนั้นก็มีร้านสะดวกซื้อ อย่างเฟรชมาร์ท สลับด้วยร้านสะดวกซื้อแบบชาวบ้าน

ระหว่างที่ชาวปากช่องกำลังดำเนินชีวิตไปตามปกติ พร้อมๆ กันนั้นการเข้าย้ายเข้ามาของคนกรุงเทพฯ บางส่วนก็เริ่มเพิ่มขึ้น สิ่งอำนวยความสะดวกเช่นโรงแรม ที่พัก มากขึ้น กลุ่มทุนต่างชาติรายใหญ่คือ กลุ่มเทสโก้ ก็วางแผนเปิดสาขาที่อำเภอปากช่อง

ชนะศักดิ์บอกว่า โลตัสจะมาเปิดสาขาขนาดเล็กประมาณ 990 ตารางเมตร ได้เช่าที่ดิน และยื่นเรื่องต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบไว้แล้ว ซึ่งกลุ่มผู้ประกอบการปากช่องได้ติดตามเรื่องนี้มาตลอดได้แสดงจุดยืนที่ชัดเจนแล้วว่าคัดค้านไม่ต้องการให้เปิดสาขาที่นี่

การต่อสู้ของชนะศักดิ์ได้รวบรวมผู้ประกอบการในปากช่องตั้งเป็นชมรม เพื่อให้เกิดพลังในการเรียกร้อง และทำหนังสือถึง อำเภอ จังหวัด บอกถึงจุดยืนที่ชัดเจน รวมทั้งเข้าร่วมกับสมาพันธ์ผู้ประกอบการค้าปลีกทั่วประเทศ ยื่นหนังสือต่อคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ให้ระงับการขยายสาขาของค้าปลีกต่างชาติเอาไว้ก่อน ซึ่งเขาบอกว่า ทางคณะปฏิรูปฯ ได้รับเรื่องไว้ แต่ขณะนี้มีเรื่องเร่งด่วนสำคัญที่ต้องลงมือทำ ขอให้รอก่อน ซึ่งทางสมาพันธ์ฯ ก็รับทราบและเข้าใจดี

ในตลาดปากช่อง มีป้ายที่ทำจากกระดาษ ผ้า เขียนข้อความคัดค้านการเข้ามาเปิดสาขาของเทสโก้ โลตัส ตลอดสองข้าง ทางก่อนเข้าตัวอำเภอ

"ห้างขนาดใหญ่เข้ามา ก็ไม่ใช่ว่าจะขายดี คนมาท่องเที่ยวเขาใหญ่ ที่มากันเป็นครอบครัว ก็จะซื้อของกิน ของใช้มากันเอง ขาดเหลือของเล็กน้อยแล้วค่อยซื้อที่นี่"

เขายืนยันว่าจะเรียกร้องคัดค้านต่อไป ซึ่งจะทำทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับประเทศ

ในขณะที่คนปากช่องกำลังห่วงโลตัสเปิดสาขาใหม่ ทุนค้าปลีกจากส่วนกลางอีกกลุ่มหนึ่งก็รุกเข้ามาทันที นั่นก็คือ ร้านเอาต์เล็ต มอลล์ (Outlet Mall) ที่ขายสินค้าเสื้อผ้าแบรนด์เนมต่างประเทศ

เอาต์เล็ต มอลล์ ตั้งอยู่บนถนนมิตรภาพ ก่อนถึงทางแยกอำเภอปากช่องกับเขาใหญ่ ขณะนี้กำลังลงมือก่อสร้าง และไม่ได้สร้างเป็นโกดังขายสินค้าทั่วไป แต่สร้างอาคารเป็นหลังๆ เพื่อใช้เป็นที่ตั้งร้านของแต่ละแบรนด์ โดยเป็นสินค้าเสื้อผ้าต่างประเทศที่ผลิตในประเทศไทย เช่น สตูดิโอวอร์เนอร์ บราเดอร์ ความคืบหน้าในการก่อสร้างกว่า 70% และมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะเปิดบริการได้ภายในสิ้นปีนี้

"เอาต์เล็ตที่มาสร้างใหม่ เราก็พอรู้บ้างตอนเข้ามาซื้อที่ดิน แต่ไม่รู้ว่าจะสร้างออกมาลักษณะนี้ และมีข่าวออกมาตลอดว่าจะมีห้างบิ๊กซี อยู่ในโครงการด้วย แต่เมื่อสอบถามไปเขาก็บอกว่าไม่มี ชมรมเราก็ยังจับตาดูโครงการนี้อยู่ เพราะมีสิ่งผิดสังเกตหลายอย่าง" ชนะศักดิ์ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับความผิดปกติของโครงการนี้

สภาพที่เกิดขึ้นกับปากช่องและเขาใหญ่ ชนะศักดิ์เชื่อว่าในอนาคตพื้นที่ย่านนี้จะกลายเป็นของคนกรุงเทพฯ และคนนอกพื้นที่ ส่วนคนปากช่องเองจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มแรกเมื่อขายที่ดินได้เงินแล้วก็แปรสภาพมาเป็นลูกจ้างของโรงแรม รีสอร์ตที่เกิดขึ้น หากมีการจัดสรร เงินทองที่ดีก็จะมีกินมีใช้ตลอดไป แต่บางคนก็ใช้เงินหมดอย่างรวดเร็ว หมดเนื้อหมดตัวไปเลยก็มี

อีกกลุ่มหนึ่งจะออกไปจับจองที่ดินที่ไกลออกไปอีก โดยมีเงินทุนก้อนใหญ่ติดตัวไปด้วย จากนั้นก็เริ่มทำไร่ ทำสวนต่อไป แต่เขาคาดว่าแนวโน้มคนปากช่องจะเลือกแบบแรกมากกว่า คือได้เงินมาก็ซื้อของ เมื่อเงินหมดก็ไปเป็นลูกจ้าง

"เมื่อก่อนคนปากช่องส่วนใหญ่จะรู้จักกัน ทักทายกัน แต่มาช่วงหลังผมไปนั่งกินข้าวที่ร้านอาหารในปากช่อง เชื่อมั้ยว่าทั้งร้านผมไม่รู้จักใครเลย" ชนะศักดิ์ทิ้งท้ายถึงความสัมพันธ์ ในชุมชนหลังการเข้ามาของความเจริญ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us