แบงก์กรุงเทพเปิดศึกรับการแข่งขันกับ ธนาคารขนาดใหญ่ โดยเฉพาะกรุงไทยหวังแย่งตำแหน่ง
ผู้นำทางด้านการตลาด ปรับกลยุทธ์ตั้งหน่วยงานดูแลสินเชื่อ 4 ประเภท พร้อมยืนยันไม่เพิ่มทุน-ไม่จ่ายเงิน
ปันผลให้ผู้ถือหุ้นลุ้นราคาในตลาดเอง ขณะที่สลิปส์และแคปกว่า 4.6 หมื่นล้านบาทไม่ต้องเร่งชำระ
เพราะหมดอายุปี 2549 ปีนี้เน้น นโยบายบริหารระมัดระวังต่อเนื่อง เพราะความไม่แน่นอนหลายปัจจัย
พร้อมแข่งแบงก์กรุงไทย
นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)เปิดเผยว่า
ธนาคารกรุงเทพไม่หวั่นการที่จะแข่ง กับธนาคารกรุงไทย เป็นเจ้าแห่งธนาคารพาณิชย์ไทย
เพื่อปล่อยสินเชื่อ เพราะธนาคารพร้อมทุกด้าน อยู่แล้วและที่ผ่านมาได้เน้นเรื่องของ
การดูแลลูกค้าเป็นอย่างดี อีกทั้งวัฒนธรรมของธนาคารเป็นลักษณะ ที่จะเติบโตไปพร้อมๆ
กับลูกค้า
ธนาคารกรุงเทพพยายามผลักดันขยายสินเชื่อเพิ่มอย่างน้อย ปีละ 10% โดยเน้นปล่อยสินเชื่อ
4 ประเภท คือสินเชื่อเพื่อการส่งออก สินเชื่ออุปโภคบริโภครายย่อย สินเชื่อ
เพื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสินเชื่อเพื่อการลงทุน เขาเปรียบ การปล่อยสินเชื่อธนาคารพาณิชย์เหมือนคนกินข้าว
"หากธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อ ก็เหมือนการฆ่าตัวตาย" เขากล่าว ขณะที่ธนาคารต้องสร้างผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้น
ที่ ต้องทำต่อเนื่อง ซึ่งบางครั้งดูความ ผิดปกติของสินเชื่อลูกค้ายาก ขณะ
ที่ธนาคารรัฐไม่มีปัญหาปล่อยสินเชื่อ เพราะสามารถย้ายบัญชีสินเชื่อ ที่มีปัญหาออกจากธนาคารได้
ไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุน
สำหรับความแข็งแกร่งของธนาคารนั้น ขณะนี้ธนาคารมีเงินกองทุนขั้นที่ 1 เพียงพอต่อการดำเนินงานของธนาคาร
ไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุนปีนี้ โดยเงินกองทุนขั้นที่ 1 ของธนาคารเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ตัวเลข หลังวิกฤตการเงินปี 2540 ประมาณ 8.7% ปัจจุบันเพิ่มเป็น 12% ขณะที่
ทุนสำรองธนาคารก็เพิ่มขึ้นมากกว่าที่แบงก์ชาติกำหนด
ส่วนกำไรธนาคารก็ทำได้สม่ำเสมอ รวมถึง หนี้เน่า (Non-Performing Loans)
ทรงตัวระดับต่ำต่อเนื่อง เงินกองทุนธนาคารหลังปี 2540 ก็เพิ่มขึ้นเรื่อย
ๆ เขายืนยันว่าธนาคารไม่ต้องเพิ่ม ทุนตามข่าวลือก่อนหน้านี้
ส่วนปัญหาสลิปและแคปธนาคารกรุงเทพ 4.6 หมื่นล้านบาท จะหมดอายุปี 2549 จึงไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนที่ธนาคารต้องไถ่ถอน
ที่สำคัญ การ ไถ่ถอนดังกล่าว ต้องไม่กระทบผู้ถือหุ้นรายย่อย
นายชาติศิริกล่าวว่าปกติ หนี้จัดชั้นของธนาคาร ซึ่งขึ้นกับความสม่ำเสมอในการชำระหนี้
ของลูกหนี้ รวมถึงทรัพย์สินที่ด้อยค่าลง จะมากกว่า หรืออย่างน้อยเท่ากับหนี้เน่า
ปี 2542 ธนาคาร กรุงเทพมีสินทรัพย์มีปัญหาประมาณ 51% ของพอร์ตสินเชื่อทั้งหมด
ซึ่งสะท้อนขนาดสินทรัพย์มีปัญหาที่มากของธนาคาร
แต่ปัจจุบันทรัพย์สินมีปัญหาลดลง เพราะ เศรษฐกิจไทยเริ่มพลิกฟื้นดีขึ้น
ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าปีนี้จะทรงตัวระดับปัจจุบันทั้งปี
ประกอบกับการปรับโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะปี 2542/43
ประสบความสำเร็จมาก รวมทั้งลูกหนี้ที่มีปัญหายืดเยื้ออย่างทีพีไอ ซึ่งธนาคารไม่รับรู้ปัญหาระหว่างอดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร-ผู้ถือหุ้นใหญ่
นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ กับบริษัทในเครือ เฟอร์เรียร์ ฮอดจ์สัน จากออสเตรเลีย
ในฐานะผู้บริหารแผนฟื้นฟูทีพีไอ
ปีนี้เน้นบริหารระมัดระวัง
ปีนี้ ธนาคารยังคงนโยบายบริหารแบบระมัด ระวัง เพราะยังมีหลายปัจจัยความไม่แน่นอน
จึงยังคงนโยบายไม่จ่ายเงินปันผลปีนี้แน่ แม้ธนาคารไทยพาณิชย์จะประกาศจ่ายเงินปันผลเป็นธนาคารแรก
หลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ก็ตาม เพราะธนาคารหวังให้ผู้ถือหุ้นได้กำไรส่วน
ต่างจากราคาหุ้นที่สูงขึ้นมากกว่า
ส่วนการร่วมทำโรดโชว์กับทางการที่ลอนดอน-นิวยอร์กครั้งนี้ ถือเป็นผลดีกับธนาคาร
และเศรษฐกิจไทย เพราะนักลงทุนต่างประเทศทราบความเปลี่ยนเปลี่ยนทางบวกของเศรษฐกิจ
ไทย จาก 2-3 ปีที่แล้ว เริ่มเห็นว่าเศรษฐกิจไทยพลิกฟื้น และขยายตัวต่อเนื่อง
ปีที่แล้วสูงถึงประมาณ 5% ซึ่งปีนี้คาดว่าจะเติบโตอัตราเดียวกัน ดีกว่าที่คนทั่วไปคิด
นอกจากนี้ การที่อัตราดอกเบี้ยไทยทรงตัว ระดับต่ำต่อเนื่อง ช่วยแก้ปัญหาปรับโครงสร้างหนี้ลูกค้าธนาคารได้ดี
รวมถึงกระตุ้นเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อเนื่อง เขาคาดว่าดอกเบี้ยไทยจะทรงตัวระดับต่ำต่อไปอีกอย่างน้อย
12-18 เดือน ข้างหน้า
ส่วนกรณีทางการพยายามผลักดันธนาคาร กรุงไทยเป็นผู้นำปล่อยสินเชื่อมากขึ้น
หลังจากธนาคารพาณิชย์เอกชนปล่อยกู้เพิ่มน้อยมากปีที่ผ่านมา นายชาติศิริ ในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทยกล่าวว่าที่จริง
ทุกธนาคารพยายามปล่อยสินเชื่อเพิ่ม รวมถึงการที่ธนาคารรัฐปล่อยสินเชื่อมากขึ้น
ก็เป็นประโยชน์กับระบบเศรษฐกิจรวม