Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์30 ตุลาคม 2549
จับตา Regulator ชุดใหม่ยึดสายส่ง-ท่อก๊าซคืนจากปตท.!             
 


   
www resources

โฮมเพจ กระทรวงพลังงาน

   
search resources

กระทรวงพลังงาน
ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์
Energy




โครงสร้าง Regulator ชุดใหม่ดูแลพลังงานทั้งระบบ พร้อมยกระดับพ.ร.บ.ประกอบกิจการไฟฟ้าฯเป็นกฏหมาย เตรียมยึดอำนาจดูแลสายส่ง- เขื่อน -ท่อก๊าซคืนจากปตท. ส่งผลให้ปตท.มีสิทธิ์เท่าเอกชนรายหนึ่งทีต้องจ่ายค่าเช่า ขณะเดียวกัน หนุน SPP -VSPP มีส่วนร่วมขายไฟฟ้าให้รัฐได้มากขึ้น ยืนยันไม่เกี่ยวกับการลอยตัวก๊าซหุงต้มในระยะเวลาอันใกล้

ภายหลังที่ ยงยุทธ วิชัยดิษฐ ประธานคณะกรรมการกำกับกิจการไฟฟ้า หรือ Regulator และคณะกรรมการฯ อีก6 คน ได้ลาออก หลังรับทราบนโยบายจาก ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ว่าจะให้ Regulator ชุดใหม่ดูแลทั้งกิจการไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งที่ผ่านมาคณะกรรมการฯ ชุดเก่าได้รับมอบหมายจากรัฐบาลชุด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ดูแลเฉพาะกิจการไฟฟ้าเท่านั้นซึ่งการเพิ่มงานดูแลก๊าซธรรมชาติจะมีผลกระทบต่อประชาชน โดยเฉพาะราคาก๊าซหุงต้มจะสูงขึ้นหรือไม่ และหัวใจของการปรับโครงสร้าง Regulator ชุดใหม่มีเป้าหมายอย่างไร

"Regulator" ดูแลพลังงานทั้งระบบ

ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ในเวลา 1 ปีจากนี้ไปจะเดินหน้าผลักดันการมีองค์กรกำกับดูแลในด้านกิจการไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ (Regulator) โดยมีกฎหมายรองรับ แต่ในระหว่างที่ยังไม่สามารถออกกฎหมายบังคับได้ อาจจะตั้งเป็นองค์กรกำกับดูแลชั่วคราวขึ้นมาก่อน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ เพราะเป็นการช่วยโอนอำนาจมหาชนที่อยู่ใน พ.ร.ฎ. กำหนดอำนาจสิทธิประโยชน์ของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ออกมาด้วย เนื่องเพราะRegulator ที่จะเกิดขึ้นภายใต้ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ต้องการให้มีองค์กรอิสระที่ดูแลระบบพลังงานภาพรวมซึ่งจะรวมไปถึงการดูแลก๊าซธรรมชาติด้วย

ดังนั้นจะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชั่วคราว หลังจากที่กระทรวงพลังงานร่าง พ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงานให้มีผลบังคับใช้ก็จะมีการสรรหาคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานภายใต้ร่างกฎหมายดังกล่าวขึ้นมาอีก 1 ชุด

อย่างไรก็ดีการเร่งตั้ง Regulator มาแทนชุดเท่าที่ลาออกไปนั้น รมว.พลังงานระบุว่า เนื่องจากอำนาจหน้าที่ในขณะนี้มีเรื่องการดูแลค่าไฟฟ้าฐาน และค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ หรือ เอฟที รวมทั้งเรื่องการประมูลการผลิตไฟฟ้าภาคเอกชน (ไอพีพี) ดังนั้นต้องเร่งหาคณะกรรมการชุดใหม่เพื่อให้มีความต่อเนื่องในงานที่ยังค้างอยู่โดยในการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งต่อไป จะเสนอที่ประชุมเรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการพลังงานตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี และจะเพิ่มอำนาจการดูแลเรื่องพลังงานทั้งระบบเข้าไปด้วย

ดึงอำนาจดูแลท่อก๊าซคืนจากปตท.

ส่วนการนำก๊าซธรรมชาติเข้าอยู่ในความดูแลของ Regulator ปิยสวัสดิ์ ระบุว่าองค์กรกำกับดูแลดังกล่าวจะเข้าไปดูแลเฉพาะท่อส่งก๊าซฯ แทน ปตท.ที่เป็นผู้ดูแลในปัจจุบันนั้น จะช่วยผ่อนปรนประเด็นการฟ้องร้อง ปตท.ได้ด้วย อีกทั้งจะสร้างเงื่อนไขที่เป็นธรรมมากขึ้น ซึ่งจะมีความชัดเจนในเรื่องใครเป็นคนกำกับดูแล ไม่ใช่ผู้ประกอบการกำกับดูแลตัวเอง

"การกำกับดูแลราคา และเงื่อนไขจะเป็นธรรมมากขึ้นสำหรับผู้บริโภค ส่วนผู้ลงทุนก็สบายใจ ที่จะมีคนกลางมาดูแล ที่ผ่านมาผู้ลงทุนไม่สบายใจ เพราะอาจจะมีการยื่นฟ้องได้ " รมว.พลังงานกล่าว

ขณะที่แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงานกล่าวถึงโครงสร้าง Regulator ชุดใหม่ว่า ต้องปรับโครงสร้างคณะกรรมการกำกับกิจการไฟฟ้า ( Regulator ) เพื่อให้สอดรับกับร่างพระราชบัญญัติประกอบกิจการไฟฟ้าที่เป็นกฏหมายในการดูแลกิจการไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ เดิม Regulator กำกับดูแลเฉพาะด้านไฟฟ้าเท่านั้น ซึ่งยังไม่มีกฎหมายรองรับเพราะพรบ.ประกอบกิจการไฟฟ้ายังไม่ได้ผ่านการเห็นชอบจากสภาฯในรัฐบาลทักษิณ

เพิ่มอำนาจ ให้ Regulator คุมสายส่ง - เขื่อน

ดังนั้น Regulator ที่ยุบไปแล้วอาจจะถูกโอนเรื่องที่ดูแลให้กลับไปอยู่ที่สำนักนโยบายและแผนพลังงานหรือสนพ.ตามเดิมก็ได้ หรืออาจตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อดูแลก๊าซฯเนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานกลางขึ้นมาดูแล แต่ทางออกที่ดีสุดคือต้องมีตัวแทนที่มีความรู้เรื่องก๊าซธรรมชาติเข้ามาอยู่ในโครงสร้าง Regulator ด้วย

อีกทั้งเมื่อพ.ร.บ.ประกอบกิจการไฟฟ้าฯยกระดับเป็นกฏหมายแล้วอาจจะต้องดึงอำนาจที่เกี่ยวกับรัฐว่าด้วยการกำกับกิจการไฟฟ้า เช่น สายส่ง เขื่อน โอนอำนาจของบริษัทปตท.เกี่ยวกับระบบดูแลท่อก๊าซธรรมชาติออกมาไว้ใน Regulator ด้วย

ยืนยันไม่เกี่ยวลอยตัวก๊าซหุงต้ม

ด้านพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงานงาน กล่าวว่า การดึงเอาก๊าซธรรมชาติมาอยู่ในความรับผิดชอบ Regulator จะเกิดผลดีมากกว่าของเดิมเพราะจากเดิมที่ปตท.เป็นคนดูแลท่อก๊าซ และเป็นทั้งผู้ใช้อาจจะมีข้อครหาจากเอกชนอื่นๆว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม แต่โครงสร้าง Regulator ชุดใหม่จะให้คนกลางที่เป็นองค์กรอิสระเข้ามาดูแล ซึ่งฐานะของปตท.ก็เท่ากับเอกชนอื่นๆคือจะต้องจ่ายค่าขนส่งผ่านท่อก๊าซด้วย

ส่วนที่มีความกังวลว่าอาจจะมีการปล่อยลอยตัวราคาก๊าซหุงต้มในระยะเวลาอันใกล้เนื่องจากผลของการนำก๊าซธรรมมาอยู่ในความดูแลของ Regulator นั้น ปลัดกระทรวงพลังงานชี้แจงว่า ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะนโยบายของรมว.พลังงานชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้นจะไม่มีการปรับลอยตัวก๊าซหุงต้ม การเอาก๊าซธรรมชาติมาอยู่ในความดูแลก็เพื่อให้ Regulator ดูแลพลังงานทั้งระบบมากกว่า

หนุน SPPมีส่วนร่วมมากขึ้น

ขณะเดียวกัน รัฐมนตรีพลังงานได้อธิบายว่า ผลจากนโยบายของการปรับโครงสร้าง Regulator ที่เป็นรูปธรรมก็คือ จะให้เอกชนเข้ามามีบทบาทมากขึ้น โดยจะส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากผู้ประกอบการรายเล็ก (SPP) และรายเล็กมาก (VSPP) ที่มีกำลังผลิตต่ำกว่า 10 เมกะวัตต์ โดยคาดว่าในส่วน SPP ที่เป็นการผลิตไฟฟ้าประเภทโคเจเนอเรชั่นนั้น จะออกประกาศเปิดรับซื้อได้อีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน หลังปิดการรับซื้อมาตั้งแต่ปี 2540 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว ขณะนี้กำลังปรับเงื่อนไขรับซื้อ รวมไปถึงหากมีผู้ยื่นเสนอขายไฟฟ้าSPPจำนวนมากอาจจะทำให้ลดภาระสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ (IPP) ได้

ในส่วนการเปิดประมูลไอพีพีนั้น คาดว่าจะออกประกาศได้ประมาณปลายไตรมาส 1 ปี 2550 ปัจจุบันอยู่ระหว่างสรุปรายละเอียดที่ชัดเจนของการเปิดประมูลไอพีพี ทั้งเรื่องการให้สิทธิการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้สิทธิ์ผลิตไฟฟ้าใหม่ในสัดส่วนร้อยละ 50 หรือไม่ และบทบาทของบริษัทลูก กฟผ.ในการเข้าประมูลด้วย ขณะที่การเดินหน้าเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากเอกชนนั้น เพื่อช่วยรองรับกำลังผลิตไฟฟ้าที่อาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ตั้งแต่ปี 2554 พร้อมกันนี้ยังเดินหน้าขยายความร่วมมือซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะลาว ส่วนพม่าที่จะมีโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำสาละวินนั้น ต้องรอความชัดเจนนโยบายด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

สำหรับ Regulator ชุดเก่าที่ลาออกไปแล้วประกอบด้วย 1.นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ประธาน 2. นายชัยเกษม นิติสิริ ตัวแทนจากอัยการสูงสุด 3. นายวิชิต หล่อจิระชุณห์กุล อาจารย์จากนิด้า 4. นายศิริชัย ฉายามณีศิลป์ จากกฟน. 5. นายวีรพล จิระประดิษฐกุล รองผู้อำนวยการสนพ. 6.นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รองเลขาธิการ สศช. และ7.นายอนันต์ อัศวโภคิน ประธานเครือแลนด์แอนด์เฮ้าส์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us