Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์30 ตุลาคม 2549
รัฐบาลโอทีล้มแผนลงทุนรถไฟฟ้ารฟม.-สนข.เสียงแตกต่างคนต่างเชียร์             
 


   
search resources

Transportation




*กระทรวงคมนาคมติดเบรกโครงการลงทุนรถไฟฟ้า 7 สาย 10 สายพร้อมกัน ยอมรับขาดเงินงบประมาณลงทุนพร้อมกันทุกเส้นทาง
*สั่งระดมหัวกะทิ กลั่นกรอง จัดลำดับความสำคัญเลือกเส้นทางตามความเหมาะสม
*รฟม.เชียร์สายสีม่วงสุดตัว ขณะที่สนข.ดันสายสีแดงสู้ ด้านคนกรุงฯเบื่อเกมการเมือง เลิกหวังนั่งรถไฟฟ้ารอบเมือง
*นักวิชาการแนะใช้ดัชนีชี้วัดความพึงพอใจของประชาชนตัดสินใจเลือกเส้นทาง

แม้ว่าการเดินทางของคนกรุงเทพฯในปัจจุบันจะมีความจำเป็นต้องเดินทางด้วยขนส่งมวลชนระบบราง เพราะด้วยปัญหาจราจรที่ติดขัดจนเป็นอัมพาต ราคาน้ำมันที่แสนแพง แต่ด้วยประเทศอยู่ในภาวะที่ไม่พร้อมที่จะลงทุนโครงการรถไฟฟ้าได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ภายในเวลาเดียวกัน ทั้งจากปัญหามีงบประมาณไม่เพียงพอต่อการลงทุน ปัญหาการเวนคืนที่ดิน และหากลงทุนสร่งรถไฟฟ้าพร้อมกันหลายสายจะยิ่งทำให้รถติดมากขึ้น ดังนั้น รัฐบาลจึงจำเป็นต้องตัดสินใจเลือกลงทุนในเส้นทางที่จำเป็นและเกิดประโยชน์สูงสุดจากการลงทุนก่อน

ซึ่งแน่นอนว่ารัฐบาลโอทีของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ที่มีพล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ นั่งเก้าอี้ใหญ่อยู่ที่กระทรวงหูกวาง ที่มีเวลาทำงานราวปีเศษ ๆ จะตัดสินใจไม่ลงทุนโครงการรถไฟฟ้าพร้อม ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็น 3 สาย 7 สาย หรือ 10 สาย ตามนโยบายของรัฐบาลชุดก่อนหน้านี้ ที่มีแนวคิดลงทุนพร้อมกัน 7-10 สาย อีกทั้งยังเป็นนโยบายหลักที่ใช้ในการหาเสียงของพรรคการเมืองใหญ่ ทั้ง 2 พรรค ได้แก่ พรรคไทยรักไทย และพรรคประชาธิปัตย์ก่อนที่จะมีการยึดอำนาจ

พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมในฐานะที่ดูแลรับผิดชอบการลงทุนก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า มีนโยบายชัดเจนว่าจะเลือกลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าบางเส้นทางเท่านั้น ซึ่งจะไม่ลงทุนก่อสร้างพร้อมกันทั้ง 3 เส้นทาง ได้แก่ สายสีน้ำเงิน(หัวลำโพง-บางแค,บางซื่อ-ท่าพระ) สายสีแดง(รังสิต-มหาชัย) และสายสีม่วง(บางใหญ่-บางซื่อ) โดยจะเลือกลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าที่มีความจำเป็นเร่งด่วน และสามารถก่อสร้างได้อย่างรวดเร็วก่อน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณ

“กรอบการลงทุนที่แน่นอนว่าจะเลือกลงทุนในเส้นทางสายใดก่อน-หลังนั้น จะมีความชัดเจนในสัปดาห์นี้ ภายหลังการแต่งตั้งหัวหน้าส่วนราชการในระดับปลัดกระทรวง และรองปลัดกระทรวง ของคณะรัฐมนตรี เพื่อให้เกิดภาพชัดเจนว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบผลักดันโครงการในอนาคต”

ย้ำเส้นทางต่อเชื่อมเป็นวงกลม

ด้านสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า สำหรับการจัดลำดับความสำคัญในการเลือกลงทุนรถไฟฟ้าก่อนและหลังนั้นประเด็นแรกที่ต้องให้ความสำคัญ คือเส้นทางที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการด้านขนส่งสูงสุด หรือมีลักษณะทำให้เส้นทางต่อเชื่อมเป็นวงกลม ตัดผ่านย่านชุมชนและต้องการใช้ระบบขนส่งมาก

2.จะต้องเป็นเส้นทางที่มีอุปสรรคด้านการก่อสร้างน้อย เช่น ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเวนคืนเขตทางที่ดินมาใช้เป็นเขตทางเดินรถ ซึ่งจะช่วยการก่อสร้างแล้วเสร็จอย่างรวดเร็ว และ 3.จะต้องคำนึงถึงงบประมาณก่อสร้าง ซึ่งจะมาจากปัจจัยการกำหนดความสั้นและความยาวของระยะทางด้วย

รฟม.ยันสายสีม่วงเหมาะสม

ประภัสร์ จงสงวน ว่าที่ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า การลงทุนโครงการรถไฟฟ้ามีความสำคัญทั้ง 3 เส้นทาง แต่ถ้าต้องจัดอันดับความสำคัญ ทางรฟม.จะเสนอข้อมูลเปรียบเทียบในส่วนโครงการรถไฟฟ้า 2 สาย ได้แก่ สีม่วง และสีน้ำเงิน ที่รฟม.เป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งรฟม.เห็นว่าสายสีม่วงมีความพร้อมมากที่สุด เพราะมีพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน มีการจัดทำข้อมูลศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เรียบร้อยแล้ว รวมความคืบหน้าของการออกแบบและเตรียมพร้อมถึง 70%

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มีการประมาณการจำนวนผู้โดยสารที่จะใช้เส้นทางสายสีม่วงน้อยกว่าสายสีน้ำเงิน แต่หากมองในแง่ต้องการให้โครงการก่อสร้างได้เร็วภายใน 1 ปี เพื่อให้มีผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทางรฟม.ยืนยันว่าเส้นทางสายสีม่วงมีความพร้อมมากที่สุด ขณะที่เส้นทางสายสีน้ำเงิน ขณะนี้ยังไม่มีการออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อเวนคืนที่ดินที่ใช้ก่อสร้างเขตทางรถไฟฟ้า และยังไม่ได้ทำ อีไอเอ ซึ่งหากรัฐบาลวางแผนจะเร่งรัดให้โครงการก่อสร้างภายใน 1 ปี โดยเริ่มทำการประมูลไปพร้อมกัน สิ่งต้องควรระวังคือ กระแสต่อต้านการเวนคืน ที่จะกลายเป็นปัญหาทางสัญญาได้

“แม้ว่าเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินแม้จะมีผู้โดยสารมากกว่าสายสีม่วง แต่ก็มีค่าก่อสร้างสูงกว่าด้วยเช่นกัน โดยเส้นทางสีม่วงจะเป็นรถไฟลอยฟ้า ใช้งบประมาณก่อสร้างกว่า 4 หมื่นล้านบาท แต่สาย สีน้ำเงินจะใช้งบประมาณกว่า 7 หมื่นล้านบาท เพราะมีช่วงก่อสร้างเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค ก็ทำให้ค่าก่อสร้างสูงกว่า”

แนะถามประชาชนก่อนลงทุน

ขณะที่มานพ พงศทัต อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การลงทุนรถไฟฟ้าทั้ง 3 สายทางนั้น รัฐบาลควรจัดลำดับความสำคัญ โดยใช้ดัชนีชี้วัดความพึงพอใจของประชาชนในการตัดสินใจเลือกว่าจะก่อสร้างเส้นใดก่อน รวมถึงการกำหนดเส้นทางที่เหมาะสมและปัจจุบันยังมีระบบขนส่งมวลชนไม่ครอบคลุม

ทั้งนี้ ในส่วนของเส้นทางที่มีความจำเป็น และรัฐบาลควรเร่งดำเนินการก่อสร้างจาก 3 สายเดิม คือ สายสีแดง แนวเหนือใต้ รังสิต-มหาชัย ซึ่งจะมีจุดเชื่อมโยงต่อเชื่อมกับระบบรถไฟฟ้าที่จะเดินทางเข้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รวมทั้งมีข้อดีซึ่งจะใช้เขตทางรถไฟเป็นสายทางก่อสร้าง จะสามารถลดอุปสรรคในการต้องดำเนินการเวนคืนที่ดิน ซึ่งเส้นทางดังกล่าวรัฐบาลสามารถดำเนินการก่อสร้างได้เร็ว

นอกจากนี้ ยังมีเส้นทางที่ควรเร่งดำเนินการคือ ส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ เพื่อให้เส้นทางรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน ครบรอบวงกลมรองรับความต้องการใช้ระบบขนส่งของประชาชนได้

ขณะเดียวกัน รัฐบาลก็ควรมีส่วนสนับสนุนการลงทุนก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายของภาคเอกชน โดยที่รัฐบาลไม่ต้องเข้าไปดำเนินการเอง เช่น รถไฟฟ้าสายสีเขียวของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส จากสถานีสะพานตากสิน เข้าสู่ย่านฝั่งธนบุรี ซึ่งประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวมีความจำเป็นต้องใช้ระบบขนส่งมวลชนจำนวนมาก คิดเป็นสัดส่วน30% ของประชากรในกรุงเทพฯทั้งหมด และมีปัญหาความเดือดร้อนของปัญหาจราจรติดขัดอย่างมาก

“แม้ว่ารัฐบาลจะมีอายุการบริหารราชการเพียง 1 ปี แต่ก็ควรเร่งผลักดันโครงการระบบขนส่งมวลชนให้เกิดขึ้น ซึ่งเชื่อว่าเฉพาะ 3 สายทางแรกที่จะเริ่มก่อสร้างนั้น ก็จะใช้ระยะเวลาในการพัฒนาไม่น้อยกว่า 15 ปี   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us