Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน27 ตุลาคม 2549
ธปท.เตือนเงินไหลเข้าแค่ระยะสั้นแนะส่งออกทำฟอร์เวิร์ดรับบาทผันผวน             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Economics




ธปท.ระบุค่าบาทแข็งค่าขึ้นมาจากเงินทุนไหลเข้ามาในตลาดหุ้นและพันธบัตร เชื่อเป็นเพียงระยะสั้น พร้อมเตือนผู้ส่งออกหาวิธีป้องกันความเสี่ยง ด้านกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ แนะผู้ส่งออกทำการขายฟอร์เวิร์ดในช่วงระยะเวลาสั้น เพื่อดูแลผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการปรับตัวของค่าเงิน

นางสุชาดา กิระกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งล่าสุดได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยถึงกรณีที่ค่าเงินบาทในช่วงเช้าได้แข็งค่าสูงสุดอยู่ที่ระดับ 36.98 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จนเมื่อเปิดตลาดกลับมาแตะที่ระดับ 37.01 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และช่วงบ่ายกลับมาอ่อนค่ามาอยู่ที่ระดับ 37.22 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐว่า การแข็งค่าของสกุลเงินบาทในขณะนี้เกิดจากนักลงทุนต่างชาตินำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ทั้งในพันธบัตรและตลาดหุ้น เห็นได้จากดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในส่วนของต่างชาติยังมียอดซื้อสุทธิอยู่

ทั้งนี้ ยอมรับว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในช่วงนี้ ถือว่าเร็วจนเกินไป อย่างไรก็ตาม แม้เงินที่ไหลเข้าออกส่วนใหญ่จะเป็นเงินลงทุนระยะสั้นในตลาดหุ้นที่เมื่อนักลงทุนมีกำไรในระดับหนึ่งก็อาจจะย้ายเงินทุนเหล่านั้นออกได้ ธปท.ก็จะจับตาดูแลไม่ให้มีเงินไหลเข้าออกแรงจนเกินไป ขณะเดียวกันถือเป็นโอกาสที่ดีที่ผู้นำเข้าควรที่ซื้อดอลลาร์เก็บไว้ และผู้ส่งออกก็ควรมีการป้องกันความเสี่ยงจากค่าเงิน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคตด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ค่าเงินบาทที่แตะระดับ 36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในครั้งนี้ นับว่าเงินบาทแข็งค่ามากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา และเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลอื่นๆ ที่สำคัญ พบว่า ค่าเงินบาทได้แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เงินยูโรของสหภาพยุโรป และค่าเงินเยนของญี่ปุ่น

ทั้งนี้ ธปท.ได้รายงานอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 26 ต.ค.ที่ผ่านมา พบว่า ค่าเงินบาทเทียบกับค่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ระดับ 37.01 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นจากวันที่ 25 ต.ค.ที่ผ่านมา 0.3% แต่เมื่อเทียบกับสิ้นเดือนก.ย. ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น 1.38% และหากเทียบกับสิ้นปี 48 ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น 10.83%

ขณะที่เมื่อเทียบกับค่าเงินบาทกับค่าเงินสกุลยูโร พบว่า ค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 46.7473 บาทต่อยูโร อ่อนค่าขึ้นจากวันที่ 25 ต.ค.ที่ผ่านมาถึง 0.23% และแข็งค่าขึ้น 1.89% เมื่อเทียบกับสิ้นเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับช่วงสิ้นปี 48 ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น 4.37% ส่วนค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลเยนของญี่ปุ่น 100 เยน อยู่ที่ 31.15 บาทต่อเยน อ่อนค่าขึ้นจากเมื่อวันที่ 25 ต.ค.ที่ผ่านมา 0.05% และแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก.ย.ที่ 2.20% แต่หากเทียบกับสิ้นปีก่อน แข็งค่าขึ้น 11.4%

ด้านคุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงสถานการณ์การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจนทะลุระดับ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐว่าแข็งเกินไปในรอบ 7 ปี โดยมีสาเหตุมาจากการที่เงินทุนไหลเข้ามาในประเทศมากขึ้นในช่วงเดือนที่ผ่านมา ประกอบกับมีเงินทุนไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์มากขึ้น จนส่งผลให้ขณะนี้ผู้ส่งออกเริ่มได้รับผลกระทบจากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นบ้างแต่ก็คงต้องไปดูว่าประเทศคู่แข่งมีค่าเงินเป็นอย่างไร

“ในช่วงเดือนที่ผ่านมาเงินทุนไหลเข้ามาในประเทศมากขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย โดยขณะนี้ผู้ส่งออกเริ่มได้รับผลกระทบบ้างแล้วจากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น” คุณหญิงชฎา กล่าว

ทั้งนี้ในส่วนของธนาคารได้มีการเตือนลูกค้าให้มีการปรับตัวรับการภาวะการณ์ของการปรับตัวของค่าเงินบาท โดยแนะนำให้ผู้ส่งออกควรที่จะมีการทำการขายฟอร์เวิร์ดในช่วงระยะเวลาสั้น เพื่อเป็นการดูแลผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากค่าเงินบาทที่แข็งค่า อย่างไรก็ตามเชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทยคงจะดูแลไม่ให้เงินบาทแข็งค่ามากเกินไป

“เชื่อว่าทางการคงมีมาตรการที่จะช่วยไม่ให้ค่าเงินบาทมีความผันผวนเกินไปในแต่ละวัน ซึ่งอาจจะใช้แนวทางการดึงเงินออกจากระบบด้วยวิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลหรือตั๋วเงินคลังแต่ขณะเดียวเขาก็คงพยายามไม่ทำอะไรที่ฝืนตลาดมากเกินไป”คุณหญิงชฎา กล่าว

อย่างไรก็ตามการที่ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นจะกระทบต่อการส่งออกของประเทศหรือการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือไม่นั้นคงจะต้องพิจารณาสกุลเงินของประเทศคู่ค้าการส่งออกของไทยด้วยว่ามีทิศทางปรับตัวไปเช่นเดียวกันกับประเทศไทยหรือไม่ โดยหากเปรียบเทียบกับประเทศจีน ซึ่งมีความยืดหยุ่นทางด้านค่าเงินน้อยกว่า และค่าเงินหยวนมีการปรับตัวอ่อนค่าลงไปตามค่าเงินดอลลาร์มากกว่าสกุลเงินบาทก็อาจจะทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบประเทศจีนได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us