Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน26 ตุลาคม 2549
SCCลุยลงทุน7หมื่นล.สวนทางกำไรQ3ลดเหลือ7.6พันล้าน             
 


   
www resources

โฮมเพจ เครือซิเมนต์ไทย

   
search resources

ปูนซิเมนต์ไทย, บมจ.
กานต์ ตระกูลฮุน
Cement




ปูนใหญ่ เดินหน้าลงทุนขยายธุรกิจมูลค่าเกือบ 7 หมื่นล้านบาท ด้วยการทุ่มเงิน 5.2 พันล้านบาท ผุดโรงงานผลิตกระดาษคร๊าฟในเวียดนาม หลังตลาดขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วไม่ต่ำกว่าปีละ 10-15% ขณะที่โครงการผลิต Naphtha Cracker และ Downstream รวม 6.2 หมื่นล้าน จะเริ่มต้นผลิตในปี 2553 สวนทางผลงานไตรมาส 3 กำไรหดเกือบ 10% เหลือแค่ 7.6 พันล้านบาท เหตุต้นทุนพุ่ง และรับรู้การขาดทุนสุทธิภาษีจากการด้อยค่าในทรัพย์สินของ ไทยซีอาร์ที 798 ล้านบาท แต่มั่นใจทั้งปีโตเกิน 10% ระบุไตรมาสสุดท้ายโชว์กำไรไม่ต่ำกว่า 5 พันล้านบาท ด้านผู้บริหาร ปฎิเสธตั้งกองทุนเพื่อเข้าซื้อหุ้น SHIN จากเทมาเส็ก

นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท มีมติอนุมัติโครงการตั้งโรงงานผลิตกระดาษอุตสาหกรรมของธุรกิจกระดาษ ที่ประเทศเวียดนามในบริเวณใกล้เคียงนครโฮจิมินท์ มีมูลค่าเงินลงทุนรวมประมาณ 5,200 ล้านบาท มีกำลังการผลิต 220,000 ตันต่อปี และคาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการผลิตได้ภายในกลางปี 2552

โดยการตั้งโรงงานในประเทศเวียดนามนั้น จะทำให้ SCC มีกำลังการผลิตกระดาษอุตสาหกรรมเพิ่มเป็น 1,740,000 ตันต่อปี (1,320,000 ตันต่อปีในประเทศไทย 200,000 ตันต่อปีในประเทศฟิลิปปินส์และ 220,000 ตันต่อปีในประเทศเวียดนาม) เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของเวียดนามที่มีการพัฒนาและความต้องการบริโภคกระดาษอุตสาหกรรมประมาณ 580,000 ตันต่อปี ซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศ 45% แต่ยังมีอัตราการบริโภคกระดาษอุตสาหกรรมในระดับประมาณ 7 กิโลกรัมต่อคนต่อปีในขณะที่ประเทศไทยมีอัตราการบริโภคประมาณ 32 กิโลกรัมต่อคนต่อปี

ทั้งนี้ บริษัทได้เข้าไปลงทุนถือหุ้นทั้ง 100% และได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากรัฐบาลเวียดนามด้วย โดยกำลังการผลิตทั้งหมดจะรองรับความต้องการในเวียดนาม เพราะที่ผ่านมาเราส่งออกไปจำหน่าย ซึ่งการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ในเวียดนามมีต่อเนื่องและคาดว่าตลาดในเวียดนามจะมีการขยายตัวปีละ10-15% ในอีก 10 ปีข้างหน้า

"ตลาดเวียดนามเป็นตลาดส่งออกกระดาษอุตสาหกรรมหลักของธุรกิจกระดาษ โดยปี 2549 มีการส่งออกกระดาษอุตสาหกรรมเกือบถึง 100,000 ตัน ซึ่งการลงทุนครั้งนี้ถือเป็นกลยุทธ์ส่วนหนึ่งของ SCC ที่จะขยายการลงทุนในธุรกิจหลักสู่ต่างประเทศ ขณะเดียวกันจะทำให้ SCC สามารถใช้ความได้เปรียบจากฐานการตลาดที่มีอยู่ในปัจจุบันในประเทศเวียดนาม รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากการเข้าถึงตลาดที่กำลังเติบโตและแหล่งเชื้อเพลิงขนาดใหญ่โดยตรง"

นายกานต์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างโรงงาน naphtha Cracker แห่งที่ 2 โดยมีมูลค่าการลงทุน 45,600 ล้านบาท และ SCC จะถือหุ้น 67% ส่วน DOW CHEMICAL COMPANY จากสหรัฐฯ จะถือหุ้นส่วนที่เหลือ 33% ซึ่งโรงงานโอเลฟินส์ คอมเพล็กซ์แห่งที่ 2 กำลังการผลิต 1.7 ล้านตันต่อปี แบ่งเป็นการผลิต เอททิลีน 9 แสนตันต่อปี และโพรไพลีน 8 แสนตันต่อปี ขณะที่มีผลิตอื่นอีก 7 แสนตันต่อปี

ทั้งนี้ จะใช้เทคโนโลยีซึ่งสามารถผลิต Propylene ได้ปริมาณสูงสุด โดยโรงงานโอเลฟินส์แห่งที่ 2 นี้จะสามารถผลิต Propylene ได้มากกว่าโรงงานแรกถึง 75% เพื่อรองรับภาวะอุปทานที่ตึงตัวอย่างต่อเนื่องในอนาคต เนื่องจากส่วนใหญ่โรงงานผลิตโอเลฟินส์ที่สร้างใหม่จะมาจากตะวันออกกลาง และใช้ก๊าซเป็นวัตถุดิบในการผลิต ทำให้มีกำลังการผลิต Propylene และผลิตภัณฑ์อื่นๆ น้อย

นอกจากนี้ SCC ยังได้ลงทุนในโครงการ Downstream โดยถือหุ้น 100% มีมูลค่าการลงทุน 450 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 17,100 ล้านบาท ซึ่งจะใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโรงงานโอเลฟินส์แห่งที่ 2 เป็นวัตถุดิบ มีกำลังการผลิตรวม 800,000 ตันต่อปี(HDPE 400,000 ตันต่อปี และ PP 400,000 ตันต่อปี) เน้นการผลิตผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม ให้มากที่สุดทำให้มี Margin เพิ่มขึ้นโดยใช้ความได้เปรียบจากเครือข่ายการกระจายสินค้าที่มีอยู่ทั้งภายทั้งในประเทศและในภูมิภาคนี้ ซึ่งทั้งสองโครงการเริ่มผลิตในปี 2553

"การลงทุนโอเลฟินส์นั้น เราจะใช้เงินกู้หรืออาจต้องออกเป็นหุ้นหากไม่เพียงพอ เพราะขณะนี้เรามีหุ้นกู้ที่ออกแล้ว 81,000 ล้านบาท แต่เราขออนุมัติจากผู้ถือหุ้น 1 แสนล้านบาท เราก็สามารถเพิ่มวงเงินได้ และเราจะรักษาอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน หรือ D/E ของเราให้อยู่ที่ระดับ 1.5 ต่อ 1 เท่า"

ด้านผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2549 สิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2549 นายกานต์ กล่าวว่า บริษัทมีมีกำไรสุทธิ 7,598.25 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 8,415.52 ล้านบาท ส่งผลให้กำไรสุทธิต่อหุ้นลดลงจาก 7.01 บาทเหลือ 6.33 บาทต่อหุ้น เนื่องจากต้องรับรู้ผลขาดทุนสุทธิภาษีจากการด้อยค่าในทรัพย์สินของบริษัทย่อยคือ บริษัท ไทยซีอาร์ที จำกัด ในไตรมาสนี้ 798 ล้านบาท และต้นทุนการดำเนินงานเพิ่มขึ้น จากราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม ยอดขายในไตรมาสนี้ของบริษัทมียอดขายสุทธิ 67,690 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20% จากงวดเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากราคาผลิตภัณฑ์ของธุรกิจเคมีภัณฑ์ที่เพิ่มสูงขึ้นและการรวมผลการดำเนินงานของบริษัทไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) (TPC) ซึ่งหากไม่รวมยอดขายของ TPC แล้ว เครือซิเมนต์ไทยจะมียอดขายสุทธิเพิ่มขึ้น 9% จากงวดเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ เครือฯ มีกำไรจากการดำเนินงานก่อนรายการที่ไม่เกิดขึ้นเป็นประจำ เท่ากับ 8,396 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% จากงวดเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผลต่างทางด้านราคา(Margin) ที่เพิ่มสูงขึ้นของธุรกิจเคมีภัณฑ์ แม้ว่าต้นทุนด้านพลังงานยังคงอยู่ในระดับสูง

"ซีเมนต์ยังเป็นธุรกิจที่มีต้นทุนสูง แต่ยอดขายในไตรมาสนี้ก็สูงขึ้น สวนทางกับไตรมาส 2 ที่ติดลบ โดยเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสเดือนกันยายนนี้ อันเป็นผลจากการก่อสร้างองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) ในต่างจังหวัด ทำให้ความต้องการเพิ่มเข้ามาสูง ขณะที่ธุรกิจโอเลฟินส์กลับสดใส เพราะมาร์จิ้นดีมาก โดยปกติขายที่ 500 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันก็ถือว่าดีแล้ว แต่ช่วงไตรมาส 3 ปีนี้พุ่งไปที่ 700 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน แต่ ณ วันนี้ก็ปรับลดลงมาที่ 600 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ซึ่งระดับนี้ถือเป็นช่วงพีคของธุรกิจปิโตรเคมีและถือว่ายังดีอยู่ " นายกานต์กล่าว

สำหรับในปี 50 นั้นถือว่าปิโตรเคมี จะยังคงดีและมาร์จิ้นก็น่าจะอยู่ในระดับสูง ขณะที่ธุรกิจซีเมนต์ปีนี้จะส่งออกประมาณ 7 ล้านตัน ขณะที่ประมาณความต้องการใช้ในประเทศมี 29 ล้านตันหรือเพิ่มขึ้นปีละ 2 ล้านตัน โดยภาพรวมปีหน้าธุรกิจซีเมนต์น่าจะดีกว่าปีนี้ 0-3% เพราะไตรมาส 4 ผลจากน้ำท่วม ทำให้วัสดุก่อสร้างยอดขายไม่สูงมาก แต่หลังจากน้ำลด บวกกับงบประมาณในปี 50 ที่ออกมา คงจะมีการอัดฉีดเงินเข้าไปเพื่อภาคธุรกิจ น่าจะทำให้ความต้องการใช้ปูนมีมากขึ้น

โดยรวมแล้วปีนี้ SCC มั่นใจว่าผลการดำเนินงานโตเกิน 10% เพราะ 9 เดือนที่ผ่านมานั้นโตถึง 16% ขณะที่ไตรมาส 4 คาดว่าจะมีกำไรไม่ต่ำกว่า 5 พันล้านบาท เพราะจะรับรู้การประเมินด้อยค่าสินทรัพย์และเงินลงทุนคงเหลือสุทธิ 2,700 ล้านบาทของ ไทยซีอาร์ที และการขายเงินลงทุน บริษัทสยามยูไนเต็ดสตีล (1995) จำกัด (SUS) จากร้อยละ 19.5 เหลือ 5% ประมาณ 2,000ล้านบาทและจะมีกำไรหลังภาษีจากรายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำประมาณ 1,600 ล้านบาทด้วย

ส่วนกรณีที่มีข่าวว่า SCC อาจจะมีการตั้งกองทุนเพื่อเข้าซื้อหุ้น SHIN จากเทมาเส็กนั้น นายกานต์กล่าวยืนยันว่ายังไม่ทราบถึงกระแสข่าวที่เกิดขึ้น และไม่สนใจที่จะเข้าซื้อ ไม่ทราบเรื่องและไม่มีใครสอบถามเข้ามา ที่สำคัญเรื่องดังกล่าวยังไม่เคยเข้าบอร์ดด้วย

ขณะที่วานนี้ราคาหุ้นปิดที่ 246 บาท ลดลง 4 บาท ด้วยมูลค่าซื้อขาย 207.97 ล้านบาท ขณะที่วันก่อนซึ่งปิด ณ ราคา 250 บาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us