Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2536
"สุขภัณฑ์ประหยัดน้ำ การตลาดทันยุค"             
โดย นฤมล อภินิเวศ
 

   
related stories

"น้ำประปา ความเหลื่อมล้ำของคนเมือง"

   
search resources

ศฤงคาร รัตนางศุ
Home and Office Appliances




สุขภัณฑ์ชักโครกเป็นผลิตภัณฑ์ตัวแรกที่ถูกนำมาใช้เป็นจุดขาย "ประหยัดน้ำ" ของบริษัทชั้นนำ เพราะเป็นสิ่งจำเป็นของชีวิตแทนส้วมนั่งยองที่นับวันจะน้อยลงทุกปี อีกทั้งเป็นตัวสิ้นเปลืองน้ำมากเพียงกดน้ำหนึ่งครั้งก็ต้องใช้น้ำถึง 12-15 ลิตร และอัตราการใช้หนึ่งวันย่อมไม่ต่ำกว่า 10 ครั้ง

บริษัทอเมริกันสแตนดาร์ดออกสุขภัณฑ์ประหยัดน้ำรุ่น "คอร์เวต" เสียน้ำ 6 ลิตร/ครั้ง เมื่อปลายปีที่แล้วใช้วิธีแนะนำสินค้าด้วยการร่วมมือกับนักวิชาการอนุรักษ์ในกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม หลังจากที่คอร์เวตออกมาได้ไม่กี่เดือน บริษัทกะรัตสุขภัณฑ์ออก "ซุปเปอร์เซฟ" ใช้น้ำ 4 ลิตร/ครั้ง และ "ไซฟอนเซฟ" ใช้น้ำ 6 ลิตร/ครั้ง การเปิดตลาดของบริษัทกะรัตใช้สื่อโฆษณาทางทีวีและสิ่งพิมพ์

ทิ้งช่วงไม่นานนักสุขภัณฑ์คอตโต้ และสุขภัณฑ์ของสตาร์ซานิทารีแวร์ ก็เริ่มใช้ชักโครกประหยัดน้ำเป็นกลยุทธ์ในการขายเช่นกัน รวมทั้งเจ้าแรกอย่างบริษัทอเมริกันสแตนดาร์ดได้ออกผลิตภัณฑ์ชักโครกเพิ่มขึ้นอีกเป็นระบบไซฟอนระดับลักซ์เชอรี่ ใช้น้ำ 6 ลิตร/ครั้ง และยังมีโถปัสสาวะชายใช้น้ำ 1 ลิตร/ครั้ง จากปกติที่ใช้น้ำ 5 ลิตร/ครั้ง

"ผู้ใช้สุขภัณฑ์ประหยัดน้ำควรเป็นคนอยู่ในพื้นที่ขาดน้ำ แต่ปรากฏว่าลูกค้าของเราส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าของโครงการที่ต้องใช้สุขภัณฑ์มากชิ้น เช่น อพาร์ตเมนต์ หอพักและเจ้าของโครงการต้องจ่ายน้ำเอง ตอนนี้ที่ขายดีคือที่เชียงใหม่และกรุงเทพฯ" ศรชัย จาติกวณิช ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาดของอเมริกันสแตนดาร์ดพูดถึงกลุ่มลูกค้าของสุขภัณฑ์ชักโครก

นอกจากบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านสุขภัณฑ์ที่หันมาชูป้าย "ประหยัดน้ำ" แล้ว ยังมีบริษัทไดนามิค กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ ของเล่นเด็กและผลิตภัณฑ์พลาสติก ได้ร่วมมือกับนักประดิษฐ์คนไทย สร้างอุปกรณ์ประหยัดน้ำชื่อ "CRANE FLUSHSAVER" ติดตั้งในถังพักน้ำของชักโครก ทำให้ชักโครกทั่วไปกลายเป็นชักโครกประหยัดน้ำทันที

"เมืองไทยเริ่มตื่นตัวและรณรงค์การประหยัดน้ำมากขึ้น ผมเห็นเป็นโอกาสดีจึงทดลองทำ CRANE FLUSHER เพื่อผลิตขายในเมืองไทยและต่างประเทศ" ศฤงคาร รัตนางศุ เจ้าของความคิดสิ่งประดิษฐ์บอกถึงแรงจูงใจในการทดลองทำแม่พิมพ์ ซึ่งกว่าจะสำเร็จต้องใช้เวลาทำปีเศษจนได้อุปกรณ์ต้นแบบ

CRANE FLUSHSAVER ทำจากพลาสติก ABS มีหน้าที่ควบคุมการไหลของน้ำจากถังพักลงสู่โถโดยการติดตั้งตรงบริเวณที่ตั้งของอุปกรณ์ลูกลอยในถัง เมื่อกดชักโครกแบบปล่อยมือเร็ว จะมีผลให้ย้ำลงโถเฉพาะส่วนชั้นในตรงช่องว่างระหว่างลูกลอยกับสิ่งประดิษฐ์ ส่วนน้ำที่อยู่ชั้นนอกจะคงจำนวนเดิมไม่ต้องเสียไปกับการกดชักโครก

สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ดี เพราะต้องแก้ไขตัวล็อกให้แข็งแรงขึ้น ซึ่งเมื่อสำเร็จแล้วจะมีการเสนอต่อการประปานครหลวงเพื่อเผยแพร่จำหน่ายในราคาที่จูงใจต่อการซื้อมาติดตั้ง

หากการทดลองใช้ CRANE FLUSHSAVER ใช้การได้ดีภายใต้ระบบทำงานของชักโครกทั่วไปที่ต้องพึ่งน้ำ 12-15 ลิตรในการทำความสะอาด รวมทั้งในสภาวะของแรงดันน้ำประปาที่ไม่สม่ำเสมออย่างเช่นที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ อุปกรณ์ชิ้นนี้คงช่วยประหยัดน้ำชักโครกได้มากทีเดียวโดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนชักโครกเดิมเป็นชักโครกประหยัดน้ำ

สุขภัณฑ์ในห้องน้ำยังมีอีก 2 ชิ้นที่มีการใช้บ่อยครั้งและสิ้นเปลืองไม่แพ้ชักโครก คือก็อกน้ำและฝักบัว การประปานครหลวงประมาณอย่างคร่าวๆ ว่า ถ้าเปิดก็อกน้ำหรือฝักบัวไหลนานหนึ่งนาทีจะสูญเสียน้ำ 9 ลิตร

คนไทยใช้ก็อกประหยัดน้ำมาหลายปีแล้ว ที่มีชื่อเรียกว่า AERATOR มีอุปกรณ์ที่สำคัญคือตระแกรงกรองน้ำอยู่ปลายก็อก เมื่อน้ำไหลผ่านจะเกิดฟองอากาศ อากาศที่ไหลเข้ามาแทนที่น้ำจะทำให้ประหยัดน้ำประมาณครึ่งหนึ่ง

สำหรับฝักบัวประหยัดน้ำเคยมีผู้นำเข้าจากนอร์เวย์มีชื่อว่า BEST SAVER เมื่อปี 2534 ก่อนที่บริษัทอเมริกันสแตนดาร์ดจะนำออกสู่ตลาดขณะนี้

"ตอนนั้นผมเคยออกงานโฮมโชว์แต่ไม่มีคนสนใจเท่าไร เพราะช่วงนั้นคนคิดว่าประหยัดไม่คุ้มทุนกับการซื้อฝักบัวที่แพงกว่าทั่วไป ผมก็เลยแจกเพื่อนเป็นของขวัญปีใหม่ แต่พอมาระยะหลังเริ่มมีคนติดต่อขอซื้อมากขึ้น ทำให้มีสต็อกเหลืออยู่ตอนนี้ 300 ชิ้นจากที่ซื้อมา 1,000 ชิ้น" วันชัย แสงกิตติไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการบริษัทพรีซีซั่นคอมมิวเนเคชั่น เล่าภาวะเปลี่ยนแปลงด้านตลาดของฝักบัวประหยัดน้ำ ซึ่งมีผลให้ตัดสินใจเปิดโรงงานผลิตในไทยโดยอาจจะร่วมทุนกับเจ้าของผลิตภัณฑ์

BEST SAVER ทำงานด้วยระบบ TURBULENCE PRINCIPLE ที่ให้ท่อส่งน้ำสู่หัวฝักบัวมีขนาดเล็กกว่าฝักบัวทั่วไป ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับการใช้นิ้วอุดสายยางเวลารดน้ำต้นไม้ เมื่อน้ำผ่านท่อมาแล้วจะชนกับแผ่นสแตนเลสทรงวงกลมที่เจาะรูรอบแผ่น 10 รู ส่วนตรงกลางจะทึบทำให้เกิดแรงสะท้อนกลับไปมาภายในท่อ ก่อนที่น้ำจะไหลผ่านหัวฝักบัวช่วยให้ประหยัดน้ำกว่าครึ่งที่ใช้ตามปกติ

BEST SAVER มีข้อเสียตรงที่แรงดันของน้ำต้องไม่ต่ำกว่า 4 บาร์ ฉะนั้นถ้าน้ำไหลอ่อยๆ คงหมดสิทธิ์ใช้ผลิตภัณฑ์นี้ อย่างไรก็ดีสุขภัณฑ์ประหยัดน้ำประเภทชักโครก ก็อกน้ำและฝักบัว ยังถือว่าใช้น้ำเปลืองน้อยกว่าอ่างอาบน้ำหลายเท่าตัว

"ยอดขายของอ่างอาบน้ำยังอยู่ในระดับปกติไม่ได้ลดลงเพราะเราถือว่าอ่างอาบน้ำเป็น STATUS SYMBOL ห้องน้ำที่สวยที่หรูต้องมีอ่างอาบน้ำ โดยปกติจะมีน้อยรายที่เปิดน้ำใส่อ่างแล้วแช่อาบทุกวัน ส่วนมากจะใช้ฝักบัว" ศรชัยกล่าว

สุขภัณฑ์ประหยัดน้ำจะมีผลต่อการประหยัดน้ำเพียงใด คงต้องขึ้นอยู่กับผู้ใช้ที่กำลังเลือกซื้อสุขภัณฑ์ในปัจจุบันและอนาคต เพราะคงมีน้อยรายที่จะรื้อสุขภัณฑ์เก่าทิ้งเพื่อเปลี่ยนมาเป็นชนิดประหยัดน้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะมีการปรับอัตราค่าน้ำสูงขึ้นมากจนคุ้มค่าเงิน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us