Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2543
People Smart             
 





คุณเข้ากับ เพื่อนได้ดีแค่ไหน? นี่อาจเป็นคำถามพื้นๆ แต่ใช่ว่าจะตอบได้ง่ายๆ โดยเฉพาะในเรื่องการเข้ากับ เพื่อนในบริบทของอาชีพการงาน เมล ซิลเบอร์แมน นักจิตวิทยาผู้เขียนหนังสือ People Smart ระบุว่าผู้ที่จะประสบความสำเร็จทั้งในแง่ส่วนบุคคล และในเชิงวิชาชีพได้จะต้องเป็นคนที่เข้ากับผู้คนได้ และหากคุณไม่แน่ใจว่ามีความสามารถในการผูกมิตรกับผู้อื่นแล้วล่ะก็ ลองทำตามคำแนะนำ 8 ประการที่เรียกว่า "People Smart" ดังนี้

1. หัดเป็นคนที่เข้าอกเข้าใจผู้อื่น

2. อธิบายความคิดของตัวเองให้ชัดเจน

3. นำเสนอความต้องการของตัวเองออกมา

4. ยอมรับฟัง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเมื่อได้รับข้อวิจารณ์ต่างๆ

5. รู้จักชักจูงผู้อื่น

6. แก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้

7. ร่วมมือกับทีมงาน

8. ปรับเปลี่ยนทิศทางให้เป็น

หนังสือเริ่มต้นด้วยคำถามสั้นๆ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านระบุได้ว่ามีทักษะใดใน ข้อ 1-8 ที่ตนเองยังไม่มีความชำนาญเท่า ที่ควร จากนั้น จึงกล่าวถึงรายละเอียดของทักษะในแต่ละข้อโดยแยกเป็นบทๆ แบ่งเป็นสี่ส่วนด้วยกันคือ "อยากได้ เรียนรู้ ลองทำดู และรักษาให้คงอยู่"

ส่วนแรก "อยากได้" เป็นแบบทดสอบ ที่ใช้วัดว่าคุณมีทักษะในการรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ดีมากน้อยเท่าไร

ส่วน ที่สอง "เรียนรู้" ผู้เขียนนำเสนอยุทธศาสตร์ในการสร้างทักษะการมี ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เช่น ในการเป็นทีมงานคุณจะต้องรู้จักร่วมมือกับผู้อื่นให้ การสนับสนุนทีม และสร้างความร่วมมือ เป็นต้น

ส่วน ที่สาม "ลองทำดู" เป็นส่วนของแบบฝึกหัด ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้แนวคิดในสถานการณ์ต่างๆ เช่น ในบทว่าด้วยการทำงานเป็นทีมจะมีแบบฝึกหัด ที่ช่วยให้ผู้อ่านได้สังเกตว่าคนกลุ่มน้อย ที่ร่วมทีมมีโอกาสแสดงความเห็นด้วยหรือไม่ รวมทั้งวิธีการที่จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าคนกลุ่มน้อยมีส่วนร่วมในทีมจริงจัง

ส่วน ที่สี่ "รักษาให้คงอยู่" ว่าด้วยอุปสรรคต่างๆ ที่อาจขัดขวางการฝึกทักษะการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

ทั้งหมดนี้อาจดูเหมือนเป็นเรื่อง ที่ใช้สามัญสำนึกก็เข้าใจได้ แต่ลองพิจารณาข้อเสนอ ที่ว่าด้วยการทำความเข้าใจว่าทำได้ยากง่ายอย่างไร ผู้เขียนเสนอว่า วิธีการที่จะทำความเข้าใจผู้คนได้ดีขึ้นก็คือ รู้จักฟัง และสังเกต ทำความเข้าใจถึงเนื้อหาของ สิ่งที่คุณได้รับฟัง และแปลความหมายของพฤติกรรมของคู่สนทนา เพื่อให้รู้ถึงแรงผลักดันเบื้องหลัง ที่ทำให้คู่สนทนามีพฤติกรรมดัง ที่แสดงออกมา

จุดเด่นของหนังสืออยู่ ที่แนวทาง ที่นำเสนออย่างเป็นแบบแผนชัดเจน และไม่ได้เพียงชี้แนะให้คุณเป็นนักฟังที่ดี แต่จะต้องรู้ว่าเมื่อไร ที่จะใช้ทักษะใดในการมี ปฏิสัมพันธ์กับ เพื่อนร่วมงาน ทำไมจึงต้องใช้ทักษะดังกล่าวรวมทั้งจะใช้ทักษะให้ได้ผลดีรวดเร็วทันใจได้อย่างไร

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us