Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2536
"อาจารย์หว่อง เจ้าตำรับเรียนภาษาจีนกับคาราโอเกะ"             
โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข
 

   
related stories

"ลอดลายมังกร "โรงเรียนจีน"

   
search resources

เค.ซี.หว่อง
Education




สำหรับผู้ที่รู้ภาษาจีนบ้างเล็กน้อย การหาความเพลิดเพลินบันเทิงใจจากวิธีการเรียนภาษาจีนแบบคาราโอเกะเป็นเรื่องน่าสนใจ

สถานที่สอนร้องคาราโอเกะไม่ใช่ไปร้องตามภัตตาคาร เช่นแกแล็คซี่ ภัตตาคารซึ่งนักท่องเที่ยวชาวจีนฮ่องกงและไต้หวันนิยมมาเที่ยว แต่โรงเรียนสอนภาษาจีนที่ใช้คาราโอเกะเป็นสื่อการสอนนั้นอยู่ที่โคลีเซี่ยมหลังสหธนาคาร ชื่อ "ชลาลัยคาราโอเค"

ผู้ริเริ่มโรงเรียนคาราโอเกะภาษาจีนนี้เมื่อ 8 ปีที่แล้วคือ "อาจารย์เค.ซี.หว่อง" หรือ "เขียน อ. วรกุลชัย" เจ้าของวงดนตรี 'ชลาลัย' มืออาชีพในวงการบันเทิง ซึ่งรู้จักมักคุ้นกับเสกสรรค์ ภู่ประดิษฐ์แห่งรายการโลกดนตรีมานานนับ 15 ปี

"ผมอยู่ในวงการบันเทิงมานาน สมัยก่อนเล่นดนตรีตามภัตตาคารเช่นยิ้มยิ้มภัตตาคารที่เทียนกัวเทียน เยาวราช และกินรีนาวาที่สวนลุมพินี แฮปปี้แลนด์ พอตอนหลังอายุเรามาก วงคอมโบก็เลิกไป เพราะยุคนี้มีดีเจ. เปิดแผ่นดิ้นกัน มันคนละยุค ผมก็มาจับงานแสดงสินค้าโฮมโชว์ ตั้งบริษัทบอมซ์เอ็กซิบิชั่นส์ (ไทยแลนด์) พอมีเวลาว่างวันอาทิตย์ก็ไปออกกำลังกายและหิ้วออร์แกนตัวเล็กๆ ไปสอนร้องเพลงที่เกาะลอยด้วย ทำอยู่จนกระทั่งมีคนติด ผมจึงหาสถานที่สอนเป็นเรื่องเป็นราว" สำเนียงพูดไทยชัดคำของอาจารย์หว่องเป็นไปอย่างอารมณ์ดี

จากจุดเริ่มต้นของกลุ่มคนเรียนหลังจากออกกำลังกายที่เกาะลอยสวนลุมพินี จำนวนแรกเริ่ม 20 คน อาจารย์หว่องได้ยืมบ้านเพื่อนที่สวนหลวงสอนร้องเพลงโดยมีเครื่องดนตรีหลักในระยะแรกเป็นเปียโนไฟฟ้าสอนกันเป็นที่สนุกสนาน

ต่อมาเมื่อคาราโอเกะเข้ามามีบทบาทในวงการบันเทิง อาจารย์หว่องผู้ก้าวทันโลก ได้ปรับกลยุทธ์การสอนโดยวิธีสมัยใหม่ ลงทุนเครื่องไม้เครื่องมือครบเครื่อง มีโทรทัศน์สีขนาด 33 นิ้ว คาราโอเกะชุดใหญ่พร้อมแผ่นดิสก์ จำนวน 80 แผ่น ไมโครโฟนสี่ตัว คีย์บอร์ดสองตัว เปียโนไฟฟ้าหนึ่งตัว เทปอัดเสียง และแผ่นดิสก์คอมพิวเตอร์ในเครื่องโรแลนด์ ซึ่งบรรจุทำนองเพลงทั้งไทย สากล จีนนับร้อยแผ่น

ตรงนี้เป็นการผสมผสานระหว่างการตลาดกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ลงตัว โดยพัฒนาวิธีการสอนจากเดิมที่สอนร้องเพลงจีนกันตามสมาคมต่างๆ เช่นสมาคมกวางตุ้ง สมาคมแต้จิ๋ว สมาคมฮัคคา (สมาคมจีนแคะแถวเยาวราช)

"ที่นี่เป็นโรงเรียนแห่งเดียวที่ใช้ระบบคาราโอเกะเพียบพร้อมที่สุด ที่อื่นจะไม่มี เพราะต้นทุนสูงมากเป็นล้านบาท เช่น คาราโอเกะของผมจะใช้แต่แผ่นดิสก์เพลงจีนซึ่งราคาแพงมาก แผ่นหนึ่งตกประมาณ 1,500-3,000 บาท แต่ให้ภาพ และเสียงคุณภาพคมชัดดีมากๆ" อาจารย์หว่องเล่าให้ฟังถึงการลงทุนอุปกรณ์เครื่องมือ นอกเหนือจากค่าจ้างเงินเดือนครูคนละ 4,000 บาท/เดือน

ด้วยเหตุนี้ ที่นี่จึงประสบความสำเร็จด้านการตลาดโดยอาศัยปากต่อปากเป็นช่องทางโฆษณา ทำให้จำนวนคนเรียนเพิ่มขึ้นทุกๆ ปีจนกระทั่งปัจจุบันมีถึง 350 คน สอนทุกวันๆ ละสามชั่วโมง วันจันทร์ถึงพฤหัสเริ่มเรียนตั้งแต่ 9.30-12.30 น. วันศุกร์ 19.00-22.00 น. ส่วนวันเสาร์อาทิตย์สอนตั้งแต่ 12.30-17.00 น. ค่าเล่าเรียนคนละ 400 บาทต่อเดือน และค่าอุปกรณ์ประกอบการเรียนอีก 250 บาท ได้แก่ หนังสือเพลงพร้อมโน้ต เทปเพลงจีนสามตลับซึ่งบรรจุเพลงรวมทั้งสิ้น 48 เพลง เรียนกันได้ตลอดทั้งปี โดยมีอาจารย์หนุ่มที่มีชื่อเสียง คือ ฉาง ซิง หัว และอาจารย์ จี้ สอนสลับกันไป

"ส่วนใหญ่คนเรียนจะเป็นเถ้าแก่เนี้ยและแม่บ้าน บางคนมาจากตรอกจันทร์ ฝั่งธนฯ นนทบุรีก็มี ในชั้นเรียนวันเสาร์ซึ่งผมสอนตั้งแต่เที่ยงถึงห้าโมงเย็น มีลูกศิษย์ผมคนหนึ่งนั่งรถไฟสามชั่วโมงจากนครสวรรค์เพื่อมาเรียนที่นี่ทุกอาทิตย์ พอบ่ายสี่ก็รีบกลับไป เขาบอกว่าเขาชอบและมีความสุขจริงๆ แม้จะต้องเดินทางวันเดียวหกชั่วโมงก็ตาม" อาจารย์หว่องเล่าให้ฟัง

นับว่าเป็นความชาญฉลาดที่เจ้าของโรงเรียน มุ่งเน้นเจาะเฉพาะกลุ่มตลาดสตรีสูงอายุซึ่งมีความต้องการพักผ่อนร้องเพลงจีน มีสังคมใกล้เคียงกันและมีอำนาจซื้อ อันเป็นตลาดการศึกษาที่คนอื่นมองข้ามไป

บรรยากาศภายในห้องเรียน ในชั่วโมงแรก "เหล่าซือ" จะสอนให้อ่านตัวโน้ตเพลง โด-เร-มี…จากนั้นเมื่อรู้จักท่วงทำนองจังหวะของดนตรีแล้ว ต่อมาในชั่วโมงที่สอง "เหล่าซือ" จะใส่เนื้อร้อง โดยอธิบายความหมายคำแปลแต่ละตัวอักษรที่เรียงร้อยถ้อยคำ จากนั้นในชั่วโมงที่สามผู้เรียนก็จะหัดเปล่งเสียงและเนื้อร้องให้ถูกจังหวะดนตรี ซึ่งคาราโอเกะจะฉายภาพพร้อมเสียงซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกระทั่งสามารถต่อเพลงใหม่ได้ พออาทิตย์หน้าเมื่อมาเรียน แต่ละคนจะต้องออกมาร้องเพลงได้ โดยมี "เหล่าซือ" คอยแก้ไขภาษาและลีลาเพลงให้ดีขึ้น

"พอเขาร้องเสร็จ เราจะบันทึกเสียงร้องของนักเรียนลงในเทปให้เขากลับไปฟังที่บ้านว่า วันนี้เขาร้องเพลงผิดพลาดตรงไหน เสียงทีบันทึกจะไม่มีคลื่นรบกวน เพราะเราใช้มิกซ์เซอร์อย่างดี บางคนอยากให้เราอัดเสียงเขาลงในเทปวิดีโอคาราโอเกะ เราก็ทำให้ได้ นักเรียนจะเอาไปอวดที่บ้านหรือให้เป็นของขวัญญาติมิตรก็มี" อาจารย์หว่องเล่าให้ฟังถึงเทคนิคที่ประทับใจศิษย์

มาลินี เวศอุรัย สุภาพสตรีวัย 50 ต้นๆ เพิ่งจะเข้ามาเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้ได้เพียงหกเดือน ความรู้ด้านภาษาจีนของเธอเป็นไปแบบงูๆ ปลาๆ แม้จะเป็นลูกจีนเต็มร้อยเปอร์เซนต์ก็ตาม พื้นฐานการศึกษาเธอเรียนเภสัชกร ปัจจุบันเป็นเจ้าของบริษัท แอคคอนซึ่งผลิตยา

"ดิฉันชอบร้องเพลง เดิมก็เรียนจากสมาคมแต่พอตอนหลังได้รู้จักที่นี่จากเพื่อน ก็มาสมัครเรียน ได้รับความรู้ด้านภาษาดีขึ้นเยอะ เพราะ 'เหล่าซือ' จะสอนเรามากยิ่งใช้คาราโอเกะยิ่งทำให้เราสามารถจำคำและความหมายได้มาก พอเห็นก็จำได้เลย ไม่เหมือนร้องหรือท่องจำจากหนังสืออย่างเดียวที่ไม่น่าสนใจ อีกอย่างคือการสอนแบบใหม่นี้ทำให้เรามั่นใจและกล้าแสดงออก เวลามีงานปาร์ตี้ พวกเราก็ออกไปร้องเพลงจีนได้อย่างมั่นใจ" มาลินีเล่าให้ฟัง

ความเพลิดเพลินบันเทิงใจที่มาพร้อมกับสาระแห่งภาษาจีนนี้ได้กลายเป็นเสน่ห์ที่ทำให้โรงเรียนชลาลัยคาราโอเคมาถึงจุดขยายตัว แต่อาจารย์หว่องกล่าวว่า เขามีขีดจำกัดที่จะรับนักเรียนมากกว่า 300 กว่าคนไม่ได้อีกแล้ว

"ผมจะไม่ขยาย เพราะผมไม่ไหววิ่งหลายห้อง นักเรียนติดผมและในชั้นเรียนหนึ่งถ้าสอนโดยวิธีร้องคาราโอเกะไม่ควรจะเกินห้องละ 20 คน ซึ่งต้องใช้เวลาร้องทีละคนตั้งสองชั่วโมงกว่า ถ้าเรารับมากเราอาจจะได้รับเงินมากขึ้น แต่ไม่ดีสำหรับคนเรียน เราจะไม่มีโอกาสสอนเพลงได้ทั่วถึง ดังนั้นถ้าหากใครจะสมัครเข้ามาเรียนต้องรอให้คนเก่าออกก่อน" นี่คือขีดจำกัดของที่นี่ตามคำบอกเล่าของอาจารย์หว่อง

ทุกวันนี้ สมาชิกเกาะลอยจากสวนลุมพินียังคงเกาะกลุ่มเรียนกันอยู่ที่นี่ถึง 8 ปี โรงเรียนคาราโอเกะแห่งนี้ได้กลายเป็นแหล่งกิจกรรม ที่พวกเขาได้มาขับร้องลำนำเพลงจีนกันอย่างสำราญใจ

แต่ในเชิงธุรกิจ ตลาดโรงเรียนคาราโอเกะสอนภาษาจีนในบ้านเรายังมีโอกาสพัฒนาตลาดความต้องการและกลยุทธ์การเรียนการสอน ตำราเรียนสมัยใหม่ได้อย่างน่าทึ่ง จึงเป็นตลาดการศึกษาที่น่าจับตาต่อไป !!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us