Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน25 ตุลาคม 2549
ไกรสรลาออกประธานบอร์ดกสท นายกฯ สั่ง ICT ล้างบาง 3 บอร์ด             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ กสท โทรคมนาคม
โฮมเพจ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

   
search resources

กสท โทรคมนาคม, บมจ.
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ทีโอที, บมจ.
ไกรสร พรสุธี




ไกรสร พรสุธี ตัดใจยอมลาออกจากประธานบอร์ด กสท กับกรรมการบอร์ดทีโอที อ้างภารกิจ สนช. หนัก แถมมีงานบริหารในไอซีทีค้างสุมเยอะไม่ใช่แรงกดดันปัญหา สตง. สอบเรื่องอื้อฉาวซีดีเอ็มเอหรือเอื้อประโยชน์หัวเหว่ย ด้านนายกฯ สั่งรมว.ไอซีทีล้างบาง 3 บอร์ด

นายไกรสร พรสุธี ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่าได้ลาออกจากการทำหน้าที่ประธานบอร์ด บริษัท กสท โทรคมนาคม และ กรรมการบอร์ดบริษัท ทีโอที แล้วโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 24 ต.ค. เพื่อเข้าไปทำหน้าที่ในการเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้อย่างเต็มความสามารถรวมถึงการเร่งบริหารงานภายในกระทรวงไอซีที ตามนโยบายของรัฐบาลให้เกิดความคืบหน้า ในช่วงเวลา 1 ปีนี้ และการลาออกจากตำแหน่งครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องกดดันจากกระแสข่าวการบริหารงานภายในบอร์ดทั้งสองแห่งหรือปัญหาโครงการซีดีเอ็มเอที่อยู่ในระหว่างการตรวจสอบของสำหนักงานตรวจเงินแผ่นดินแห่งชาติ (สตง.) แต่อย่างใด

“เป็นเรื่องเหตุผลส่วนตัว ไม่ได้มีแรงกดดันจากใครเป็นการตัดสินใจของตัวเอง โดยได้ตัดสินใจแล้วตั้งแต่ 18 ต.ค. ที่ผ่านมา และได้หารือกับ รมว.ไอซีทีแล้ว”

อย่างไรก็ตามหลังการลาออกจากประธานบอร์ด กสท แล้วก็ไม่ได้ต้องการให้บอร์ดคนอื่นลาออกตาม โดยขอให้ทำหน้าที่ต่อไปตามแนวทางของ รมว.ไอซีทีที่มอบนโยบายให้ทั้งสองหน่วยงานเร่งผลดำเนินงานเพื่อให้สามารถแข่งขันได้

“จากที่สอบถาม ยังไม่มีท่านใดที่จะลาออกในขณะนี้ ทุกคนยังคงทำหน้าที่อยู่และ ควรทำต่อไป ยังมีหลายเรื่อง หลายโครงการ ที่ยังจะต้องเร่งเดินหน้าเป็นงานที่หนักมาก”

ส่วนหน้าที่การเป็นบอร์ดของบริษัท ชิน แซทเทลไลท์ และสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า นายไกรสร กล่าวว่ายังคงทำหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวต่อไปเนื่องจากเป็นตำแหน่งโดยหน้าที่ของกระทรวงไอซีที ที่มอบหมายให้เข้าไปรับผิดชอบ

นายไกรสร กล่าวอีก ถึงแม้ได้ลาออกจากตำแหน่งกรรมการของทั้ง 2 หน่วยงานแล้ว แต่ตนยังสามารถทำหน้าที่ตรวจสอบติดตามงานด้านบริหารของทั้งสององค์กรได้อยู่เช่นกันโดยจะทำหน้าที่ในฐานะปลัดกระทรวงไอซีทีที่จะคอยตรวจสอบติดตามผลการพิจารณาอนุมัติโครงการ หากมีความไม่ชัดเจนหรือข้อสงสัย ก็จะให้ให้บอร์ดเข้ามาชี้แจง อย่างเช่นโครงการจัดซื้อของทีโอทีในการลงทุนบรอดแบนด์ 4 พันล้านบาท การขยายโครงข่ายวงจรข้อมูลความเร็วสูงของ กสท

รายงานข่าวล่าสุดแจ้งว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ รมว.ไอซีทีดำเนินการยุบบอร์ดทั้ง 3 แห่ง ประกอบด้วย บอร์ดทีโอที บอร์ด กสท และบอร์ดบริษัท ไปรษณีย์ไทย แล้ว

การลาออกของไกรสรในครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางกระแสสังคมที่จับตามองโครงการที่มีปัญหาความโปร่งใสในกสท อย่างซีดีเอ็มเอทั้งส่วนกลางและภูมิภาค ที่สตง.กำลังตรวจสอบว่ามีการทุจริตทำให้ กสท เสียประโยชน์ปีละกว่าหมื่นล้านและทำผิดพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมการงาน สำหรับสัญญาการตลาดในส่วนกลางของบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย หรือ ฮัทช์ และการจัดจ้างติดตั้งโครงข่ายซีดีเอ็มเอของบริษัท บีเอฟเคที

นอกจากเรื่องดังกล่าวแล้วเมื่อปลายเดือนส.ค. ที่ผ่านมา บอร์ด กสท ยังได้มีมติเอกฉันท์เห็นชอบให้มีการขยายเวลาสัญญาจัดสร้างชุมสายและสถานีเครือข่าย CDMA 2000-1x ในส่วนภูมิภาคออกไปตามข้อเสนอของฝ่ายบริหาร กสท จากที่ครบกำหนดเมื่อวันที่ 26 ม.ค.2549 โดยอ้างถึงอุปสรรคในการทำงานจากเหตุสุดวิสัย อาทิ ฝนตก น้ำท่วม จึงทำให้บริษัท หัวเหว่ย ส่งมอบงานระยะที่ 1 ล่าช้าออกไป 41 วัน ในขณะที่หัวเหว่ยส่งมอบล่าช้าถึง 47 วัน แต่กลับไม่คิดค่าปรับสักบาทเดียว ขัดกับทีโออาร์ที่ระบุว่าหากล่าช้า หนึ่งสถานี ก็สามารถปรับได้และจะต้องมีการนำความล่าช้าของแต่ละพื้นที่มาคิดแยกวัน แต่ในส่วนนี้บอร์ดได้อนุมัติเหมารวมทั้งหมด เพื่อทำให้หัวเหว่ยไม่ต้องเสียค่าปรับเลย ในขณะที่กสทยังจ่ายเงินค่าอุปกรณ์ให้หัวเหว่ยไป 1,800 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us