|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ยักษ์ค้าปลีกเมินไกด์ไลน์ค้าปลีก ยังดันทุรังขายสินค้าต่ำกว่าทุน จะกระทบซัปพลายเออร์อย่างหนักเพราะถูกห้างรายอื่นกดราคารับซื้อสินค้าตามมา แนะซัปพลายเออร์ทำหนังสือร้องเรียนให้ชัดเจนเพื่อจัดการ คาดประชุม คณะทำงานแก้ปัญหาค้าปลีก 26 ต.ค.นี้ คลอดมาตรการเสริมดูแลการขยายสาขา หลังพ้นระยะขอความร่วมมือชะลอขยายสาขา "ศิริพล" ชงกฎหมายค้าปลีก "เกริกไกร" แก้ไขบางประเด็นให้รัดกุม
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า หลังจากที่กรมการค้าภายในได้บังคับใช้แนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าระหว่างผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งกับผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย (ไกด์ไลน์) ตั้งแต่วันที่ 4 ต.ค.2549 ที่ผ่านมา พบว่า ขณะนี้มีผู้ผลิตสินค้า (ซัปพลายเออร์) หลายรายที่ขายสินค้าให้กับห้างค้าปลีก ได้ร้องเรียนมายังกรมการค้าภายในว่า ห้างค้าปลีกยังขายสินค้าต่ำกว่าทุนจนเกิดผลกระทบต่อซัปพลายเออร์แล้ว เพราะการขายต่ำกว่าทุนดังกล่าวได้ทำให้ห้างค้าปลีกรายอื่นๆ กดราคารับซื้อสินค้าจากซัปพลายเออร์ โดยอ้างว่าห้างที่ขายสินค้าต่ำกว่าทุนซื้อสินค้าได้ถูก จึงต่อรองซื้อถูกด้วย
"เพื่อให้เข้าใจชัดเจนก็คือ ซัปพลายเออร์รายหนึ่งขายสินค้าให้กับผู้ประกอบการค้าปลีกรายหนึ่งในราคาชิ้นละ 100 บาท แต่ผู้ประกอบการค้าปลีกรายนั้นกลับไปขายต่อให้ผู้บริโภคในราคาชิ้นละเพียง 80 บาทเท่านั้น ซึ่งทำให้ซัปพลายเออร์เสียหาย เพราะถูกผู้ประกอบการค้าปลีกรายอื่นกดราคารับซื้อให้เหลือชิ้นละ 80 บาทบ้าง"
ทั้งนี้ ในไกด์ไลน์กำหนดให้ผู้ประกอบการค้าปลีกห้ามกำหนดราคาขายต่ำกว่าทุน ยกเว้นเป็นการขายสินค้า ที่มีความจำเป็น และสามารถอธิบายเหตุผลได้ เช่น สินค้าใกล้หมดอายุ สินค้าที่มีการใช้เฉพาะบางฤดูกาล ส่วนโทษหากตรวจสอบพบห้างค้าปลีกมีพฤติกรรมดังกล่าวจริงจะมีความผิดตามมาตรา 29 แห่ง พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
อย่างไรก็ตาม การร้องเรียนดังกล่าวยังเป็นเพียงการร้องเรียนด้วยวาจาเท่านั้น ยังไม่มีการส่งหนังสือร้องเรียนมาอย่างเป็นทางการ ซึ่งกรมการค้าภายในต้องการให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการทำธุรกิจกับผู้ประกอบการค้าปลีกร้องเรียนมาอย่างเป็นทางการ พร้อมทั้งให้ความร่วมมือเป็นพยานในระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วย เพราะมีบางกรณีที่มีการตรวจสอบ แต่ซัปพลายเออร์ซึ่งเป็นผู้เสียหายกลับไม่ให้ความร่วมมือกับทางการ แต่กลับเข้าข้างผู้ประกอบการค้าปลีกด้วยซ้ำ ส่วนกรณีอื่นๆ ยังไม่มีการร้องเรียนมา
สำหรับการประชุมคณะทำงานกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และแนวทางการประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ครั้งที่ 4/2549 ในวันที่ 26 ต.ค. นั้น เป็นไปได้ว่าคณะทำงานฯ อาจหามาตรการใหม่ๆ มาบังคับใช้กับผู้ประกอบการค้าปลีกค้าส่ง หลังจากการขอความร่วมมือชะลอ หรือหยุดการขยายสาขาภายใน 30 วัน จะหมดอายุในวันที่ 28 ต.ค.นี้ ซึ่งมีแนวโน้มว่า กรมฯ อาจไม่ยืดระยะเวลาการชะลอ หรือหยุดขยายสาขาออกไปอีกแล้ว
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้นำเสนอร่างพ.ร.บ. ค้าปลีกค้าส่งให้นายเกริกไกร จีระแพทย์ รมว.พาณิชย์พิจารณาแล้ว ซึ่งนายเกริกไกรแนะนำให้แก้ไขปรับปรุงในบางประเด็น เช่น กรณีที่กำหนดให้คณะกรรมการส่วนจังหวัดกำกับดูแลธุรกิจค้าปลีกค้าส่งมีอำนาจตัดสินใจอนุญาตให้ขยายสาขา หรือการขอใบอนุญาตประเภทธุรกิจค้าปลีกนั้น ก็ให้ปรับปรุงเป็นให้คณะกรรมการกำกับดูแลธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ที่มี รมว.พาณิชย์เป็นประธานเห็นชอบแทน เพราะเกรงว่าหากให้คณะกรรมการจังหวัดอนุญาตอาจมีปัญหาได้
|
|
|
|
|