Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2536
"เมืองทองไซโก ไผ่แตกกอของ "มหาดำรงค์กุล"             
โดย ชาย ซีโฮ่
 

   
related stories

"มหาดำรงค์กุล ตั้งเวลา…หาอนาคต"

   
search resources

ห้างหุ้นส่วนจำกัดศรีทองพาณิชย์
ภูริช มหาดำรงค์กุล




นอกจากดิลก มหาดำรงค์กุลแล้ว ตระกูลนี้ยังมีพี่น้องอีกคนที่สนใจธุรกิจนาฬิกา นั่นคือดิเรกที่มีทายาทชื่อภูริช

ความสนใจของคนในตระกูลนี้ไม่ได้สนใจอย่างผิวเผินเหมือนเศรษฐีบางคน ที่สนใจเพียงเพื่อมีชื่อประดับวงการไฮโซ หากแต่พวกเขาสนใจในแง่ของการเป็นธุรกิจได้

การก่อเกิด "เมืองทองไซโก" จึงเป็นเสมือนหนึ่งการแตกหน่อก่อผลของมหาดำรงค์กุล เพื่อทำธุรกิจนาฬิกาอีกหนึ่งมหาดำรงค์กุล

เมืองทองไซโก ก็เหมือนศรีทองพาณิชย์ ที่เลือกญี่ปุ่นเป็นพาร์ทเนอร์ เพียงแต่คนละบริษัทกันคือ เมื่อศรีทองพาณิชย์เลือกซิติเซ็น เมืองทองก็เลือกไซโก ยักษ์ใหญ่ในวงการนาฬิกาของญี่ปุ่นอีกราย

ว่าไปแล้ว สายสัมพันธ์ระหว่างไซโกกับมหาดำรงค์กุลมีมานานแล้ว โดยเมื่อปี 2504 "เมืองทอง" ได้นำนาฬิกาไซโกเข้ามาสู่ตลาดเมืองไทย และเมื่อเมืองทอง แปรสภาพธุรกิจมาเป็นผู้จำหน่ายปลีก มหาดำรงค์กุลก็ตั้ง "กาลทองเทรดดิ้ง" ขึ้นมารับผิดชอบเป็นตัวแทนจำหน่ายแทน

จนปี 2534 กาลทองได้จับมือกับไซโกคอร์ปอเรชั่น แห่งประเทศญี่ปุ่น ตั้ง "เมืองทองไซโก" ขึ้นมาในเดือนพฤศจิกายนเพื่อทำหน้าที่ดูแลนาฬิกาไซโกทุกประเภทและทุกแบรนด์ เช่น อัลบา ลาซาล ลอรัส รวมทั้งไซโก

ทุนจดทะเบียนของบริษัท 150 ล้านบาทนั้น ถือเป็นบริษัทจัดจำหน่ายนาฬิกาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในวันนี้!!!

ความใหญ่และความสำคัญของเมืองทองไซโกก็คือ เป็นการประสานความสามารถของผู้อยู่ในวงการธุรกิจนาฬิกามาช้านาน เช่น ตระกูลมหาดำรงค์กุล ตระกูลกาญจนพาสน์ ตระกูลวงศ์สงวน ตระกูลสนิทวงศ์ ณ อยุธยา และตระกูลโกสิยะกุล กับเจ้าของเทคโนโลยีใหญ่อย่างไซโก โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นคือ เมืองทองโฮลดิ้ง ถือหุ้น 56% ไซโกคอร์ปอเรชั่น ถือหุ้น 30% และบริษัท ทุนธุรกิจถือหุ้น 14%

แม้จะยิ่งใหญ่ แต่ความฝันของเมืองทองอยู่ที่การจำหน่าย ไม่ได้ลงไปถึงการผลิต

แม้พวกเขาจะมีโรงงานที่เกิดจากการร่วมทุนกับไซโก คือบริษัท ไซโกชา (ประเทศไทย) ที่นิคมอุตสาหกรรมนวนครก็ตาม

เครือข่ายของเมืองทองไซโกในวันนี้ ซึ่งมีเครือข่ายร้านค้านาฬิกาอยู่ทั่วประเทศถึง 700 รายทั่วประเทศ ที่มีการดูแลควบคุมระบบการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ ทำให้พวกเขาสามารถที่จะให้บริการต่างๆ ได้ทันทีกับลูกค้า

แต่การก้าวกระโดดของศรีทองพาณิชย์ ที่เปิดเกมรุกตลาดแถมด้วยการขยายการผลิตที่มีเป้าหมายเป็นหนึ่งในโลก ดูเหมือนว่า จะเป็นการกระตุ้นต่อเมืองทองไซโก ว่าพวกเขาไม่สามารถที่จะอยู่กับที่ได้อีกต่อไป

เพียงแต่พวกเขายังคงทำงานอย่างเงียบๆ เพื่อดูสถานการณ์อีกระยะ ตามสไตล์การทำงานของภูริช มหาดำรงค์กุล กรรมการผู้จัดการ

แต่ไม่ได้หมายความว่า เมืองทองไซโก ไม่คิดใหญ่!!!

หากแต่ไผ่กอนี้ อาจจะยังไม่พร้อมที่จะโต แม้จะแตกหน่อแล้วก็ตาม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us