|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
พื้นที่โดยรวม 2.5 หมื่นตารางเมตรและรวมพื้นที่ทางเดินอื่นๆ อีกประมาณ 8,000 ตาราง ในสนามบินสุวรรณภูมิ ที่คิงเพาเวอร์ได้สัมปทานจากการท่าอากาศยาน ถูกสร้างมูลค่าให้กับบริษัทในการจัดสรรพื้นที่สำหรับร้านค้าต่างๆ เข้าเช่าพื้นที่อีกต่อหนึ่งนั้น
ได้กลายเป็นทำเลทอง สำหรับร้านรวงต่างๆ โดยเฉพาะร้านอาหาร เครื่องดื่ม และก่อนที่สนามบินแห่งนี้จะเปิดให้บริการ ในแวดวงบริษัทที่ขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ทั้งแบรนด์ไทยและแบรนด์นอกออกอาการคึกคัก
แม้ราคาค่าเช่าจะสูงลิบ แต่หวังใช้พื้นที่ในการสร้างแบรนด์พรีเมี่ยมสู่สายตาชาวโลก ผ่านสนามบินทั้งนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจที่เดินทางเข้าออกประเทศไทย
และในวันที่ 28 กันยายนที่ผ่านมา จากการสำรวจของ "ผู้จัดการรายสัปดาห์" พบว่า ร้านค้าต่างๆ ที่เปิดให้บริการ เป็นบริษัทแฟรนไชส์ที่บริษัทแม่เข้าดำเนินการเองนั้นมีเพียงไม่กี่รายแต่เป็นรายที่เข้มแข็งและมีสาขาในต่างประเทศ
ไล่เลียงกันตั้งแต่แบรนด์นอกอย่างกาแฟดังระดับโลก "สตาร์บรัคส์" เปิดให้บริการ 1 จุด ใช้พื้นที่กว่า 100 กว่าตารางเมตร บริเวณชั้น 3 ของอาคารผู้โดยสารเปิดให้บริการ ซึ่งเป็นแบรนด์ดังที่ถูกเชิญเข้ามาเป็นเม็กเนสให้กับพื้นที่
และสำหรับพื้นที่บริเวณโถงผู้โดยสารขาออกต่างประเทศบริเวณคองคอร์ท F บริษัทโคคาแบรนด์ไทยที่ไปโตในต่างประเทศได้นำแบรนด์ "แมงโก้ ทรี" (mango tree) เปิดบริการในรูปแบบร้านอาหารขนาดใหญ่ ที่ตกแต่งสไตล์เรียบหรู ให้สีสันที่เคร่งขรึม
รวมถึงกลุ่มไมเนอร์ ฯ ส่งแบรนด์ "เดอะ พิซซ่า คอมปะนี" และไอศกรีม "เดลี่ ควีน" มาบริการในพื้นที่เดียวกัน เปิดให้บริการทั้ง 2 จุดทั้งฝั่ง F และ B
ขณะที่แบรนด์ไทยอย่างแบล็คแคนยอน กับ 3 จุดให้บริการในสนามบินสุวรรณภูมิ
ประวิทย์ จิตนราพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) จำกัด ให้ข้อมูลว่า ได้สร้างคอนเซ็ปต์ ภายใต้ชื่อ "คาเฟ เนโร บาย แบล็คแคนยอน" ( Caffe Nero by Black Canyon ) ตั้งแต่การตกแต่งโมเดิร์นผสมผสานความเป็นไทยจากลายเส้นและสีดำ แดง ขาวและทอง เพื่อให้คาแรคเตอร์ของร้านเป็นผู้ชายมาดเท่ห์ รวมถึงแบบฟอร์มพนักงานใช้สีดำทั้งชุด
พร้อมนำเสนออาหารสไตล์อิตาเลี่ยน ด้วยอาหารเส้นจำพวกพาสต้า สปาเก็ตตี้ และกาแฟที่คงความนิยมจากแบล็คแคนยอนให้บริการ ไอศกรีมอิตาเลี่ยนเจลาโต รวมถึงเบเกอร์รี่มายเบรดและขนมขบเคี้ยวผลิตภัณฑ์จากโอทอป
ส่วนราคาขายตั้งราคาสูงกว่าเดิมประมาณ 10-15% และเป็นการนำเสนอเมนูอาหารที่แตกต่างจากแบล็คคอนยอนทั้งนี้ต้องการให้ตำแหน่งสินค้าชัดเจน เพื่อกลุ่มลูกค้าระดับเอและบี
ประวิทย์ บอกว่า ได้ใช้เงินลงทุน 60 ล้านบาท สำหรับการลงทุนสำหรับ 3 สาขาในสนามบินแห่งนี้ จุดแรกที่บริเวณชั้น 3 ของอาคารผู้โดยสาร ขนาดพื้นที่ 162 ตารางเมตร บริเวณชั้น 4 ซึ่งอยู่บริเวณโถงผู้โดยสารขาออกต่างประเทศคองคอร์ท B พื้นที่ 105 ตารางเมตรและคองคอร์ท F ขนาดพื้นที่ 75 ตารางเมตร
"เป็นตัวเลขเงินลงทุนที่สูงมาก แต่ว่าคุ้มค่าทั้งการสร้างแบรนด์และการสร้างรายได้ เพราะเฉลี่ยรายได้ต่อวันที่ 3 จุดประมาณ 3 แสนบาท เกินจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ถึง 20% เทียบกับยอดขายเดิมที่ดอนเมือง 6 จุดรวมกัน คาดจะสร้างรายได้ทั้งปีที่ 100 ล้านบาท
จากจำนวนผู้ใช้บริการเป็นต่างชาติ 80% ชาวไทย 20% ซึ่งรู้จักแบรนด์แบล็คแคนยอนเป็นอย่างดีจากสาขาในต่างประเทศและในห้างสรรพสินค้า"
กรรณิการ์ ชินประสิทธิ์ชัย ผู้จัดการฝ่ายการตลาด กล่าวเพิ่มเติมว่า คอนเซ็ปต์ของคาเฟ เนโร ยังนำเสนอการบริการรูปแบบใหม่คือ Quick Service เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนลูกค้าที่รวดเร็วขึ้น โดยมีจุดรับออร์เดอร์ 2 จุดสำหรับสั่งสินค้าและชำระเงิน จากนั้นพนักงานจะนำสินค้าไปเสิร์ฟที่โต๊ะ ด้วยบริการรูปแบบใหม่นี้สามารถลดต้นทุนพนักงานลงมีเพียง 60 คนเท่านั้น
สำหรับการเปิดให้บริการที่สนามบินสุวรรณภูมิได้ใช้ประสบการณ์จากเปิดให้บริการ 6 จุดที่สนามบินดอนเมืองมาก่อน ทั้งการบริการ อาหารและการหมุนเวียนลูกค้า และที่สนามบินแห่งนี้ได้กำหนดเมนูไว้ 15 รายการ เป็นอาหารที่รองรับได้ทุกเชื้อชาติ คุณภาพวัตถุดิบที่ดี
ประวิทย์ ตั้งเป้าการขยายแบรนด์คาเฟ เนโร ในรูปแบบแฟรนไชส์ทั้งในประเทศและต่างประเทศในอนาคต เป็นพรีเมี่ยมแบรนด์
เพียงสัปดาห์ที่เปิดให้บริการ ประวิทย์ กล่าวอย่างมั่นใจว่า สามารถแข่งแบรนด์นอกอย่างสตาร์บรัคส์ได้สบาย ซึ่งวัดกันชัดเจนที่คิวลูกค้ายาวกว่าเพราะพื้นที่ติดกันในจุดชั้น 3 นับเป็นสิ่งที่ท้าทายก็ผ่านมาด้วยดี
นอกจากนี้ บริเวณพื้นที่แบรนด์นอกอย่าง บริษัท จีเอฟเอ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ผู้บริหารแฟรนไชส์ภายใต้แบรนด์ คอฟฟี่ เวิลด์ เดอะ ครีม แอนด์ ฟัจด์ แฟคตอรี่ และนิวยอร์ค เดลี่ ที่เพิ่งเปิดตัวในประเทศได้ไม่นาน
ได้ใช้พื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิบริเวณโถงผู้โดยสารขาออกต่างประเทศคองคอร์ทB และ F เปิดให้บริการสินค้าทั้ง 3 แบรนด์ในบริเวณพื้นที่เดียวกัน
เฟรด โมฮาวาด ประธานกรรมการบริหาร กล่าวว่า เป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้าชาวไทยและชาวต่างชาติได้บริโภคสินค้าคุณภาพที่หลากหลายภายใต้แบรนด์ของบริษัท
และจากการเปิดให้บริการได้เพียงสัปดาห์เศษ พบว่าได้รับการตอบรับทั้งนักเดินทางชาวไทยและชาวต่างชาติ และด้วยทำเลที่ตั้ง ความหลากหลายสินค้าให้บริการ และแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักเป็นอย่างดี ทำให้การตอบรับเป็นที่น่าพอใจอย่างมาก
ซึ่งการเปิดสาขาในสนามบินสุวรรณภูมิครั้งนี้ นอกจากยอดขายแล้วเป็นการเสริมสร้างแบรนด์ให้เข้มแข็งและการรับรู้ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติอีกด้วย จะเห็นที่ผ่านมาบริษัทได้ขยายแบรนด์อย่างต่อเนื่อง แจ้งเกิดคอฟฟี่เวิล์ดในไทยเป็นแบรนด์แรกก่อนทยอยแบรนด์ในเครือข้ามา
สำหรับ 2 สาขา ที่ให้ในสนามบินสุวรณภูมิเป็นการลงทุนของบริษัท นอกจากความสำเร็จของผู้บริโภคที่เข้าใช้บริการแล้ว ในแง่ของนักลงทุนยังเป็นร้านต้นแบบที่สาขาขยายออกไปต่างประเทศได้ด้วย
"จีเอฟเอ คอร์ปอเรชั่น (ไทยแลนด์) มีความเชี่ยวชาญในการสร้างสรรค์ แบรนด์ต่าง ๆ ตลอดจนถึงให้บริการผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่เป็นเลิศแก่ลูกค้า เรามั่นใจว่า ผลิตภัณฑ์ทุกแบรนด์ของเรามีโอกาสเติบโตไม่ใช่เฉพาะในตลาดประเทศไทย แต่ยังสามารถขยายธุรกิจออกไปในตลาดต่างประเทศได้ด้วย"
สำหรับความโดดเด่นที่จีเอฟเอนำเสนอด้วยจีเอฟเอเป็นแบรนด์ต่างประเทศที่มีสาขากระจายอยู่ในประเทศต่างๆ ทำให้รูปแบบร้านโปรดักส์ที่นำเสนอลงตัว ทั้งการตกแต่ง สินค้าที่หลากหลาย โดยได้ชูจุดเด่นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง สดใหม่ ลักษณะโฮมเมด
ซึ่งคอฟฟี่เวิล์ด สำหรับผู้ชื่นชอบเครื่องดื่มร้อน เย็น กาแฟ แฟรบเป้ เบเกอรี่ วาฟเฟิล หรือไอศกรีมซุปเปอร์พรีเมี่ยมสไตล์มิกซ์อินของเดอะ ครีม แอนด์ ฟัจด์ แฟคตอรี่ และนิวยอร์ค เดลี่ ประเภทแซนด์วิช ซุป
ขณะเดียวกัน บนพื้นที่อาคารผู้โดยสารขาออกต่างประเทศทั้ง B และ F ยังมีร้านต่างๆ ทั้งดิวตี้ฟรี และร้านค้าทั่วไปที่ไม่ได้ดำเนินธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็นไอศกรีม iberry กาแฟดอยตุง และร้านอาหารเครื่องดื่มอีกหลายแบรนด์
ประวิทย์ ยอมรับว่าในช่วงแรกกังวลเรื่องการแข่งขันเช่นกันเพราะประเภทสินค้าที่ให้บริการใกล้เคียงกัน แต่เมื่อได้เปิดให้บริการพบว่าการแข่งขันไม่รุนแรงอย่างที่คิดไว้ เพราะแต่ละแบรนด์มีคุณลักษณะของตนเอง อย่างกาแฟ มีหลายแบรนด์และที่ให้บริการในร้านอาหารต่างๆ
แต่อย่างไรก็ตาม ตนมองว่าถ้าแบรนด์ไม่เข้มแข็งค่อนข้างเหนื่อย ส่วนแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักจะได้เปรียบในการเลือกใช้บริการมากกว่า กับคาเฟ เนโร บาย แบล็คแคนยอน นั้นลูกค้าได้รู้จักแบรนด์แบล็คแคนยอนอย่างดีจากการเปิดให้บริการที่สนามบินดอนเมืองและห้างสรรพสินค้าที่มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายและชาวต่างชาติให้บริการ
นับเป็นความคึกคักในวงการที่มีการกล่าวถึงอีกเรื่องหนึ่ง กับสัปดาห์เศษของการเปิดให้บริการผู้บริหารต่างหายใจหายคออย่างโล่งอกถึงความคุ้มค่าของการสร้างแบรนด์และรายได้
|
|
|
|
|