|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กว่า 3 ทศวรรษที่สายการบินบางกอกแอร์เวย์บุกเบิกเส้นทางบินใหม่ไปพร้อมกับการพัฒนาสนามบินของตัวเองส่งผลทำให้มีกำไรเข้าสู่บริษัทไม่ต่ำกว่า 250 ล้านบาทต่อปี แต่ทว่า...วันนี้การขยายตัวของภาคธุรกิจการบินของบางกอกแอร์เวย์กลับต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆรุมเร้ารอบด้าน...ว่ากันว่าการบริหารจัดการภายใต้แผนพัฒนาสนามบินสมุยจึงถูกหยิบนำมาปัดฝุ่นอีกครั้งในรูปแบบการจัดตั้งกองทุนเพื่อให้ได้เม็ดเงินเป็นกอบเป็นกำสำหรับการลงทุนธุรกิจการบินแบบครบวงจร
มีการคาดการณ์ว่าสายการบินบางกอกแอร์เวย์ในปี 49 จะมีผลกำไรเพียง 250 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งน้อยกว่าปีที่ผ่านมาเกือบครึ่ง เนื่องจากปีนี้ บางกอกแอร์เวย์ต้องลงทุนขนย้ายอุปกรณ์และย้ายฐานอุปกรณ์การบินจากท่าอากาศยานกรุงเทพไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประมาณกว่า 70 ล้านบาท
ซึ่งงบประมาณในการลงทุนต่างๆส่วนใหญ่ของบริษัทฯจะมีแหล่งเงินทุนมาจากสถาบันการเงินต่างๆแทบทั้งสิ้น ขณะที่การขยายธุรกิจจำเป็นต้องพึ่งพาเม็ดเงินจำนวนมหาศาล และหากบริษัทฯมีแหล่งงินทุนเองก็จะง่ายต่อการขยายธุรกิจ
ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างโรงซ่อมท่าอากาศยานแห่งใหม่ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ มูลค่ากว่า 1,650 ล้านบาทแทนโรงซ่อมเดิม หรือการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารในสนามบินเกาะสมุย ที่คาราคาซังให้แล้วเสร็จในเดือนมกราคม 50 ตามที่คาดการณ์ไว้ก็ตาม หรือแม้แต่การเช่าซื้อเครื่องบินก็ล้วนแล้วแต่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมหาศาลแทบทั้งสิ้น
การบริหารจัดการเรื่องการเงินจึงต้องถูกพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบเพื่อให้คุ้มค่ากับการลงทุน และสายการบินบางกอกแอร์เวย์เลือกที่จะไม่ใช้สถาบันการเงินเพื่อขอสินเชื่อเหมือนแต่ก่อน
สอดคล้องกับที่ นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ในฐานะผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทการบินกรุงเทพฯ จำกัด นำกองทุนพัฒนาสนามบินสมุยมาปัดฝุ่นใหม่อีกครั้ง พร้อมการันตีผลประโยชน์ให้กับผู้ซื้อกองทุนสูงถึง 6%ต่อปีติดต่อกันในระยะเวลา 30 ปี
ทั้งนี้กองทุนดังกล่าวจะมีบริษัทหลักทรัพย์นครหลวงไทยและบริษัทหลักทรัพย์โนบูระเป็นผู้จัดจำหน่ายให้กับนักลงทุน ซึ่งเงินที่ได้จากการระดมทุนครั้งนี้จะถูกนำไปใช้ชำระหนี้สถาบันการเงินที่มีอยู่ไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท สำหรับเงินส่วนที่เหลือว่ากันว่าจะนำไปลงทุนในการขยายธุรกิจของสายการบินอาทิ การก่อสร้างโรงแรมระดับ 4 ดาว จำนวน 70 ห้องภายใต้ชื่อ เฮอริเทจสุโขทัย ที่ต้องใช้วงเงินลงทุนประมาณกว่า 100 ล้านบาท
แผนกระจายทุนสู่ต่างประเทศ
เม็ดเงินกว่าครึ่งของผลกำไรที่ได้รับต่อปีของสายการบินบางกอกแอร์เวย์มาจากสนามบินเกาะสมุย การใช้พื้นที่สนามบินบนเกาะสมุยที่มีจุดขายอยู่แล้วมาทำการตลาดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบริษัทจึงเป็นการต่อยอดธุรกิจที่หมอปราเสริฐเลือกหยิบนำมาใช้ประโยชน์
ประเทศฮ่องกง และสิงคโปร์ คือจุดหมายปลายทางที่สายการบินบางกอกแอร์เวย์ฯจะนำกองทุนไปออกโรดโชว์ เพื่อเสนอขายกองทุนดังกล่าวให้กับนักลงทุนที่สนใจ แม้จะเป็นนักลงทุนชาวต่างชาติก็ตามแต่ผู้บริหารสายการบินบางกอกแอร์เวย์ฯก็ยังมั่นใจว่าจะได้รับผลตอบรับที่ดี
ขณะที่การเปิดช่องเพิ่มเที่ยวบินสมุยของกรมขนส่งทางอากาศที่จะส่งการบินไทยร่วมแข่งขันกับบางกอก แอร์เวย์สได้วันละ 2 เที่ยวนั้น... ว่ากันว่าการบินไทยเตรียมส่งโบอิ้ง 737 ให้บริการแข่ง "บางกอก แอร์เวย์ส" คาดว่าน่าจะเริ่มทำการบินได้ช่วงเดือนมีนาคม 2550 หวังเพิ่มทางเลือกให้ผู้ใช้บริการหลังมีปัญหาค่าโดยสารแพง เพื่อเป็นการเข้าไปดูแลค่าโดยสาร ไม่ให้เอาเปรียบผู้บริโภค
รวมทั้งเส้นทางบินของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ที่เปิดให้บริการนั้นมักจะเป็นการบุกเบิกและได้รับสิทธิการบินจากประเทศนั้นๆเป็นระยะเวลานานกว่า 10 ปี ทำให้มีการผูกขาดทางธุรกิจไม่มีคู่แข่งขันจนทำให้มีรายได้เสริมจากตรงนี้เข้าบริษัทเป็นจำนวนไม่น้อยต่อปี
ด้วยเหตุผลทั้งหลายทำให้สายการบินบางกอกแอร์เวย์สไม่ขาดทุนและได้รับผลกำไรในทุกๆปีที่ผ่านมา...
แม้ว่าล่าสุดเส้นทางกรุงเทพฯ-เสียมราฐ ที่ได้รับสิทธิการบินร่วม 10 ปีก็เกิดปัญหาขึ้นมาจนได้ เมื่อผู้ประกอบการสมาคมโรงแรมและบริษัทนำเที่ยวกัมพูชาได้รวมตัวกันทักท้วงรัฐบาลกัมพูชาว่าค่าโดยสารที่สายการบินบางกอกแอร์เวย์เก็บนั้นแพงเกินไปและมีส่วนทำให้นักท่องเที่ยวลดลง
หมอเสริฐกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ราคาในขณะนี้เป็นราคามาตรฐาน และเป็นนโยบายของประเทศกัมพูชาที่ต้องการเน้นเรื่องของนักท่องเที่ยวคุณภาพเข้าประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่สามารถยอมรับในราคาดังกล่าวได้ โดยขณะเดียวกันก็มีทางเลือกให้นักท่องเที่ยวในการเดินทางโดยรถยนต์ที่มีราคาประหยัดกว่าเช่นกัน
สุวรรณภูมิ แผ่นดินทองของ “บางกอกแอร์เวย์ส”
หลังจากเปิดสนามบินสุวรรณภูมิ สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส นับเป็นผู้ประกอบการที่น่าจะได้รับผลประโยชน์มากกว่าสายการบินอื่นๆ เพราะมีโครงการธุรกิจยักษ์ในสนามบินสุวรรณภูมิถึง 3 แห่งด้วยกัน อาทิ โครงการที่ 1.สัมปทานให้บริการภาคพื้นดิน โครงการที่ 2.ธุรกิจเปิดศูนย์ผลิตอาหารป้อนให้กับสายการบินและ 3.ธุรกิจคาร์โก้ขนาดใหญ่ที่สามารถรองรับสินค้าได้จำนวนมาก
ว่ากันว่า 3 โครงการยักษ์ที่ได้รับสัมปทานทำธุรกิจในสนามบินสุวรรณภูมิจะเป็นตัวช่วยเสริมรายได้ให้กับสายการบินบางกอกแอร์เวย์สแน่นอน...ถึงแม้ว่าจะเป็นธุรกิจร่วมทุนกับต่างชาติก็ตาม แต่อย่าลืมว่าหุ้นส่วนใหญ่ก็ยังคงเป็นคนไทย และอาจเป็นเพราะเหตุผลนี้เองที่ทำให้หมอเสริฐมั่นอกมั่นใจว่าการขยายธุรกิจการบินแบบครบวงจรไม่ไกลเกินเอื้อม
และล่าสุดการขยายเส้นทางบินใหม่ไป ฟุกุโอะกะ และมัลดิฟส์ ที่กำลังจะเปิดให้บริการในอนาคตอันใกล้ทั้งสองเส้นทางนี้ก็น่าจะสร้างเม็ดเงินให้กับสายการบินบางกอกแอร์เวย์สได้ไม่มากก็น้อย
ส่งผลทำให้รายได้รวมของบริษัท การบินกรุงเทพฯ จำกัด ภายในสิ้นปี 49 คาดว่าว่าจะอยู่ที่ประมาณ 9,738 ล้านบาท เติบโตจากปีทีผ่านมา 20.2% หรือมีรายได้อยู่ที่ประมาณ 8,098 ล้านบาท ในขณะที่จำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นจาก 2.2 ล้านคนเมื่อปีที่แล้ว เป็น 2.5 ล้านคนในสิ้นปี 49
|
|
|
|
|