Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์23 ตุลาคม 2549
"AACP"ขยายพื้นที่ขายไม่จำกัดขอบเขต เคาะประตูบ้านนายหน้า-ตัวแทนวินาศภัย             
 


   
www resources

โฮมเพจ อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต

   
search resources

Insurance
อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต, บมจ.




เส้นทางของ "AACP" เบอร์สามธุรกิจประกันชีวิตในช่วงเวลาไม่กี่ปี ภายหลังเปลี่ยนหัวเรือใหญ่มาเป็น "วิลฟ์ แบล็คเบิร์น" เริ่มจะเห็นถึงการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานอย่างเห็นได้ชัด หากเทียบกับประกันชีวิตจากซีกโลกเดียวกัน ถ้าไม่นับการรื้อโครงสร้างผู้บริหาร ปรับระบบงานภายในอย่างถอนรากถอนโคน การปล่อย สินค้าแบบรัวถี่ยิบและสร้างความฮือฮาในกลุ่มอุตสาหกรรมด้วยกันเอง ก็ยังมีการทำตลาดผ่านช่องทางใหม่ๆ ที่ถือเป็นรอยเชื่อมต่อหลอมรวมวัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออกจนเป็นเนื้อเดียวกัน แต่ถึงอย่างนั้นก็มีเสียงเล่าลือมาว่า "ยุทธศาสตร์AACP" ค่อนข้างจะสุ่มเสี่ยงมากพอจะสร้างรอยร้าวให้กับทีมงานเก่าๆได้ หากกลไกการควบคุมไม่ดีพอ...

บมจ.อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันชีวิต ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ที่อลิอันซ์ เยอรมัน เข้ามาเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ จนมีการสับเปลี่ยนแม่ทัพมาเป็น "วิลฟ์" ดูเหมือนจะกลายเป็นธุรกิจประกันชีวิตจากโลกตะวันตกเพียงไม่กี่ราย ที่ทำการตลาดเชิงรุกมาโดยตลอด ในไม่ช้าก็เบียดขึ้นมาเป็นที่สาม

รูปแบบการตลาดของ AACP ภายใต้การควบคุมดูแลของ แม่ทัพจากเกาะอังกฤษ จึงออกจะแตกต่างโดยสิ้นเชิง เมื่อเทียบกับธุรกิจที่มีที่มาจากแหล่งทุนนอกอันทรงอิทธิพลอื่นๆ หนึ่งในนั้นก็คือ การพยายามใช้ทุกช่องทางจำหน่ายสินค้าให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

ถึงแม้ช่องทางตัวแทนมากกว่า 80% จะเป็นความหวังและทำรายได้อย่างงดงามมายาวนานหลายสิบปีสำหรับธุรกิจประกันชีวิตแทบทุกราย แต่สำหรับ AACP ดูจะไม่เพียงพอ...

ธุรกิจประกันชีวิตหลายแห่ง เริ่มหันมาเปิดช่องทางใหม่ๆ ทั้งขายผ่านสาขาแบงก์พันธมิตรหรือ "แบงแอสชัวรันส์" เทเล มาร์เก็ตติ้งหรือขายผ่านโทรศัพท์ ซึ่งเป็นรูปแบบหรือเทคโนโลยีจากตะวันตกแท้ๆ

นอกเหนือช่องทางตัวแทน ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่สร้าง รายได้อย่างงดงาม ขณะเดียวกันก็มีบารมีและอิทธิพลมากพอจะโยกย้ายไปไหนมาไหนได้อย่างรวดเร็ว หากเกิดข้อขัดแย้งหรือผลประโยชน์ไม่ลงตัว

บทเรียนเมื่อครั้งที่แล้วเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างวัฒนธรรมจาก 2 ซีกโลก ทำให้บริษัทแม่เยอรมันเลือกจะตัดเยื่อใย ทีมงานขายอันทรงพลังในยุคก่อนหน้านี้ พร้อมกับแต่งตั้งแม่ทัพมาเป็่น "วิลฟ์" ก็น่าจะเป็นประสบการณ์ที่ AACP พอจะรู้ว่า การพึ่งพาช่องทางใดช่องทางหนึ่งมากเกินไปคงจะไม่เป็นประโยชน์ในการขยับขยายฐานลูกค้าไปในทุกจุดที่ AACP ต้องการ โดยเฉพาะในระหว่าง เวลาที่เตรียมตัวจะ "รีแบรนดิ้ง" อย่างเป็นขั้น เป็นตอน

ช่องทางขายใหม่ๆ จึงกลายเป็นยุทธศาสตร์หลักที่จะผลักดันให้ธุรกิจที่ค่อนข้างทะเยอทะยานอย่าง AACP ก้าวเดินได้ อย่างสะดวก โดยเฉพาะช่องทางที่ AACP เรียกกันว่า "แฟรนไชส์ ซึ่งก็คือ ระบบการขายผ่านนายหน้าในรูปนิติบุคคล หรือตัวแทนในลักษณะการขายส่วนบุคคล ที่ผ่านการสอบใบอนุญาตจากกรมการประกันภัย

มานิจ วราภาคย์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุนกิจด้านแฟรนไชส์ อธิบายความสำคัญของระบบขายใหม่ ไม่ใช่เรื่องใหม่ ซึ่งถ้าจะแปลกไปบ้างก็ตรงที่ ธุรกิจประกันชีวิตมักจะไม่มีการขายผ่านช่องทางนี้เป็นการภายในองค์กร เหมือนกับธุรกิจ ประกันวินาศภัย ถึงแม้ตามกฎหมายจะเปิดช่องให้ทำได้ แต่ที่ผ่านมาจะปรากฎในรูปของ แบงแอสชัวรันส์ ไปรษณีย์ และร้านมือมือเสียมากกว่า

" สำหรับคำว่าโบรกเกอร์ของ AACP หมายถึงการขายประกันกลุ่มหรือขายประกันให้กับองค์กร ดังนั้นเพื่อไม่ให้สับสนก็จะใช้ชื่อ แฟรนไชส์แทน"

มานิจ บอกถึงความแตกต่างระหว่าง การขายช่องทางแฟรนไชส์ กับช่องทางขายที่มีอยู่เดิม ทั้งตัวแทนขายและนายหน้า(โบรกเกอร์) ก็คือ แฟรนไชส์จะเป็นอิสระในการขาย เพราะถือเป็นธุรกิจส่วนตัวและเปรียบเหมือนเป็นการลงทุน

ดังนั้นกลุ่มนี้เมื่อสอบผ่าน และเซ็นสัญญากับบริษัทก็จะลงทุนเองทั้งหมด โดยเฉพาะสำนักงานออฟฟิศ โดยที่ AACP ไม่ต้องลงทุน ลงแรง ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้ส่วนหนึ่ง ขณะเดียวกันก็วางแผนการตลาด การขยายฐานลูกค้า และบริการด้วยตนเองโดยประสานกับAACP เหมือนงานรับเหมา

" สมัยก่อนการแข่งขันอาจไม่รุนแรงเหมือนยุคนี้ บริษัทประกันชีวิตก็มีไม่มาก ช่องทางขายผ่านตัวแทนก็ไปได้สวย ไม่จำเป็นต้องเปิดช่องทางใหม่ จนภายหลัง "แบงแอสชัวรันส์" เกิด ก็พบว่าช่องทางใหม่ๆน่าสนใจ ก็หันมามองช่องทางใหม่ๆเพิ่มขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ เทเลมาร์เก็ตติ้ง ที่เกือบจะทุกบริษัทต่างก็เริ่มกันไปมาก และสำเร็จไปหลายรายแล้ว แต่ถึงอย่างไรตัวแทนก็ยังเป็นช่องทางชายหลักเหมือนเดิม "

รับรู้กันว่า ระบบขาย "แฟรนไชส์" ส่วนใหญ่ก็หนีไม่พ้น โบรกเกอร์หรือตัวแทนวินาศภัย ที่มีลูกค้าอยู่ในมือมากมายมหา ศาล ดังนั้นการเปิดช่องทางนี้จึงไม่ต่างจาก "การตีท้ายครัว" ฐานลูกค้าของกลุ่มวินาศภัย ที่พึ่งพาโบรกเกอร์และตัวแทนเป็นช่องทางหลัก

ขณะที่ "มานิจ" ขยายความว่า ..." ช่องทางใหม่ก็เหมือนการขุดค้นขุมทรัพย์ที่มีอยู่แล้ว แต่ไม่รู้จะตักไปไว้ที่ไหน แต่ตอนนี้ที่เร็วสุดก็คือ ตักมาเก็บไว้กับ AACP"

"ว่ากันว่า โบรกหรือตัวแทนวินาศภัยที่มีใบอนุญาต และมาเซ็นสัญญากับบริษัท ถ้าลูกค้าในมือ 100 ราย ตัดสินใจซื้อประกันชีวิตสัก 20 รายก็ถือว่าประสบความสำเร็จ แต่ถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้ฐานลูกค้าเดิมในกลุ่มวินาศภัยเป็นบันไดขั้นต้นมากกว่า เพราะในที่สุดคนไทยก็จะซื้อประกันชีวิตมากขึ้น"

มานิจรู้ดีว่า ระบบแฟรนไชส์หากเปิดแบบส่งเดช โดยให้ร้านค้าในลักษณะฟาสฟูดส์ขาย ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหา เพราะสินค้าประกันชีวิต เป็นสินค้าถูกขาย คนขายจึงต้องเข้ารับการฝึกอบรม เรียนรู้เฉพาะด้านให้เข้าใจ รู้เรื่อง

ดังนั้นการเปิดทางให้โบรกเกอร์และตัวแทนฝั่งวินาศภัยเป็น "ตัวยืน" จึงน่าจะลดความเสี่ยงเรื่องการตอบคำถามลูกค้าเกี่ยวกับสินค้าได้ดีกว่า ขณะเดียวกันกลุ่มนี้ก็ ยังขายได้ไม่จำกัดค่าย ขณะที่ฝั่งตัวแทนประกันชีวิตแท้ๆจะถูกประทับตราต้นสังกัดอย่างชัดเจน

ช่องทางขายใหม่ จึงกลายเป็นความหวังจะต่อยอดการขาย ขยายฐานลูกค้าให้ครอบคลุมทุกระดับ เจาะไปในช่องทางที่มี ความเชี่ยวชาญในลักษณะใกล้เคียงกัน ขณะเดียวกันก็ทรงพลังมากพอจะทำยอดขายเบี้ยปีแรกในปี 2550 ได้ไม่ต่ำกว่า 500 ล้าน และหากยอดขายจะวิ่งเบียดแซงขึ้นมาใกล้กับช่องทางขายหรือตัวแทนหลักในอนาคต ก็เป็นหน้าที่ของต้นสังกัดที่จะต้องวางแผนสกัดไม่ให้ความขัดแย้งปะทุขึ้น

...เพราะก็รู้กันอยู่ว่า ผลประโยชน์ในรูปค่าตอบแทน มักจะไม่เข้าใครออกใคร ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจไหนๆที่มีสภาพการแข่งขันที่เดือดพล่านและมีการล่อหลอกด้วยเงินตอบแทน ซึ่งยั่วยวนใจได้มากพอจะทำให้มีการโยกย้ายสังกัดได้โดยไม่แยแส "บ้านหลังเก่า"...   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us