Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2536
"ซีเฟรช แช่แข็งอนาคตไว้กับกุ้ง"             
 


   
search resources

ซีเฟรชอินดัสตรี, บมจ.
สตีเวน เซีย




"ผมมองว่าอนาคตของกุ้งยังไปได้อีกไกล" สตีเว่น เชี่ย หรือเชี่ย ซี เลค กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเฟรชอินดัสตรี (ไทยแลนด์) จำกัด นักธุรกิจหนุ่มชาวมาเลย์ผู้หลงใหลสาวไทย ถึงขั้นลงทุนทำธุรกิจในเมืองไทยอย่างเอาจริงเอาจัง เอ่ยขึ้นอย่างมั่นใจในอนาคตของกุ้งแช่แข็ง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หัวใจสำคัญของธุรกิจของเขาในขณะนี้

ซีเฟรชซึ่งประกาศสถานภาพตัวเองว่า เป็นผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจผลิตภัณฑ์กุ้งทะเลแช่แข็งและแปรรูปเพื่อการส่งออกโดยเฉพาะ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2525 การเป็นผู้เชี่ยวชาญของซีเฟรชในที่นี้คือ ความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพสูงโดยใช้ต้นทุนการผลิตที่ต่ำ ด้วยเทคโนโลยีการผลิตจากญี่ปุ่น

ปัจจุบันมีโรงงานแปรรูป 3 แห่งตั้งอยู่ที่อำเภอปากน้ำ จังหวัดชุมพร มีกำลังการผลิตรวม 8,000 ตันต่อปี และกำลังก่อสร้างโรงงานที่ 4 ขึ้นซึ่งจะทำให้ซีเฟรชสามารถขยายกำลังการผลิตได้เป็น 12,000 ตันต่อปีในอีก 2 ปีข้างหน้า

เชี่ยกล่าวว่า น่านน้ำชุมพรเป็นแหล่งที่มีกุ้งทะเลปริมาณมาก ทะเลทางใต้ยังอุดมสมบูรณ์มากกว่าทะเลทางภาคตะวันออก จะว่าไปแล้วแม้แต่การเลี้ยงกุ้งหรือการทำฟาร์มเลี้ยงกุ้งทางภาคใต้มักจะได้ผลิตผลที่ดีกว่าทางภาคตะวันออกมากมายนัก จะเห็นได้จากรายใหญ่ๆ ที่ทำธุรกิจเช่นเดียวกับซีเฟรช นิยมที่จะลงมาทำฟาร์มทางภาคใต้กันมาก ไม่ว่าจะเป็น ซีพี สุรพลซีฟู้ด ปากพนังห้องเย็นหรือเจ้าพระยาห้องเย็น ยูนิคอร์ด เป็นต้น

เพราะความคิดเช่นนี้ซีเฟรชจึงมาตั้งถิ่นฐานการผลิตที่นี่ ประกอบกับเชี่ยเป็นคนมาเลย์มักคุ้นกับบรรยากาศทางภาคใต้มากกว่าที่อื่นๆ ในเมืองไทย ดั้งนั้นวัตถุดิบของซีเฟรชส่วนใหญ่จึงมาจากชาวประมง 500 คนในจังหวัดชุมพรเป็นผู้ส่งวัตถุดิบในการผลิตให้ และอีกส่วนหนึ่งส่งโดยตรงจากฟาร์มกุ้งอีก 200 แห่งในภาคใต้

การติดต่อซื้อโดยตรงจากผู้เลี้ยง 200 แห่งดังกล่าวนี้ เชี่ยบอกว่าเป็นส่วนที่ทำหใเขาสามารถจัดหาวัตถุดิบได้แน่นอนตามความต้องการและลดต้นทุนวัตถุดิบลงได้

ผลิตภัณฑ์หลักที่จัดจำหน่ายไปยังต่างประเทศมี 3 ประเภท คือ กุ้งแช่แข็ง กุ้งต้มแช่แข็ง และผลิตภัณฑ์จากกุ้งกึ่งสำเร็จรูปและสำเร็จรูป ซึ่งผลิตภัณฑ์ในข้อหลังนี้เป็นความภูมิใจและความหวังของสตีเว่น เชี่ยอย่างมาก

"ผลิตภัณฑ์จากกุ้งกึ่งสำเร็จรูปและสำเร็จรูปนี้เป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มของซีเฟรช ซึ่งทำรายได้ให้อย่างมากมายและมียอดขายเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ อาทิ กุ้งเทมปุระ กุ้งเสียบไม้ กุ้งซูซิ และเปาะเปี๊ยะกุ้ง" ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมูลค่าเพิ่มของซีเฟรชนี้ทำให้ซีเฟรชไม่จัดอยู่ในฐานะที่มีคู่แข่งอยู่ในธุรกิจกุ้งแช่แข็ง เชี่ยเชื่อว่าผลิตภัณฑ์ที่เขามีอยู่นี้ที่อื่นๆ ไม่ทำกัน หรือหากจะทำก็มีน้อยมาก โดยส่วนใหญ่รายอื่นๆ จะทำในลักษณะของกุ้งสดแช่แข็งเป็นหลักมากกว่า

เพราะเหตุนี้กระมัง สตีเว่น เชี่ยจึงตั้งความหวังไว้อย่างสูงว่า ในปี 1995 ซีเฟรชจะมียอดขายอยู่ที่ 2,100 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิที่ 215 ล้านบาท ในขณะที่ปี 93 เขาจะมีกำไรสุทธิ 172 ล้านบาทหรือมีรายได้ยอดขาย 1,664 ล้านบาท ส่วนปี 94 ตั้งเป้ารายได้ประมาณ 1,941 ล้านบาทและมีกำไรสุทธิ 200 ล้านบาท

รายได้ที่ตั้งเป้าไว้นั้นมาจากการดำเนินธุรกิจแปรรูปและจำหน่ายกุ้งทะเลแช่แข็งในลักษณะผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยส่งออกไปจำหน่ายกว่า 20 ประเทศทั่วโลก โดยมีตลาดส่งออกที่สำคัญคือ ญี่ปุ่น อังกฤษ ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา

หากพิจารณาจากสถานการณ์ในปัจจุบัน สิ่งที่เชี่ยกำลังตั้งความหวังเอาไว้ น่าจะสวนทางกับความเป็นจริงของธุรกิจกุ้งซึ่งนับวันจะเริ่มซาและบางเบาลงไป เทียบกับเมื่อ 5-6 ปีก่อนซึ่งเป็นช่วงที่ธุรกิจกุ้งบูมสุดขีด

"ตอนนี้ยูนิคอร์ดกำลังเบนเข็มจากการทำธุรกิจกุ้งไปสู่การทำฟาร์มเลี้ยงกบ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นทดลองเลี้ยง สาเหตุที่เบนเข็มออกไปนั้น เพราะเรามองว่า อนาคตของกุ้งคงไม่ยืนยาวเหมือนวงจรชีวิตของกุ้งนั่นแหละ คาดกันว่าในไม่ช้าฟาร์มเลี้ยงกุ้งก็คงจะค่อยๆ หมดไป" ผู้บริหารท่านหนึ่งจากยูนิคอร์ดกล่าวกับ "ผู้จัดการ" เสมือนเป็นการมองอนาคตคนละมุมกับซีเฟรชเลยทีเดียว

ในขณะที่แหล่งข่าวจากซีพีกล่าวว่า ในอนาคตคาดกันว่า กุ้งจะน้อยลงเนื่องมาจากผู้ทำฟาร์มเลิกเลี้ยงเปลี่ยนไปเลี้ยงอย่างอื่นแทน เช่น ปลา ซีพีจึงต้องลงมาทำฟาร์มเลี้ยงเองเพื่อเป็นการประกันความเสี่ยงของตนเองส่วนหนึ่ง

จะว่าไปแล้วค่ายต่างๆ ที่ทำธุรกิจกุ้งแช่แข็งโดยส่วนใหญ่มักจะมีการทำฟาร์มเลี้ยงเป็นของตนเองทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นสุรพลซีฟู้ด ไทยแลนด์ เจ้าพระยาฯ ปากพนังฯ จะมียกเว้นที่เห็นว่าไม่มีการเลี้ยงเอง โดยฝากอนาคตไว้กับประมงและฟาร์มเลี้ยงอื่นก็ที่ซีเฟรชเท่านั้น

ธุรกิจกุ้งมีวัฏจักรเหมือนฟันปลา มีขึ้นสูงสุดและลงสุดขีดสลับกันไปตลอดเวลา สิ่งต่างๆ เหล่านี้ขึ้นอยู่กับความชำนาญของผู้ประกอบการว่าจะคาดเดาสถานการณ์ในขณะนั้นได้ถูกต้องหรือไม่

การที่ซีเฟรชฝากความหวังไว้กับธุรกิจกุ้งเพียงอย่างเดียวและภูมิใจว่าตนเองมีผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มอยู่ในมือ จะสามารถทำกำไรได้ตามที่วาดไว้บนแผ่นกระดาษจะเป็นไปได้หรือไม่ น่าจับตามองสถานการณ์ปริมาณกุ้งที่นับวันจะน้อยลงเป็นสำคัญ เพราะเมื่อถึงเวลานั้นการแข่งขันชิงวัตถุดิบคงเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ความเป็นผู้เชี่ยวชาญในการลดต้นทุนการผลิตต่ำอย่างที่เชี่ยประกาศไว้ยังคงะต่ำได้เช่นนั้นหรือไม่ เป็นเรื่องที่น่าติดตาม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us