Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2536
"เปิดเสรีประกันภัย 5 ปี ใครแน่ใครอยู่"             
 


   
search resources

ประชา จารุตระกูลชัย
Insurance




นับแต่นี้ไปจะเกิดภาพการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในธุรกิจประกันภัยไทยจากความสำเร็จด่านแรก ที่สหรัฐอเมริกาผลักดันให้ไทยเปิดเสรีทางการเงินอย่างครบวงจร…!

นั่นก็คือ การผลักดันให้กลุ่มประเทศภาคีสมาชิกลงนามตามข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยอัตราภาษีศุลกากร (GATT) ในรอบอุรุกวัยวันที่ 15 ธันวาคม ศกนี้

"แต่แม้ผลเจรจาแกตต์จะสำเร็จหรือไม่ก็ตาม ในที่สุดธุรกิจประกันภัยไทยก็ต้องเปิดเสรีเพื่อรองรับต่อยุคโลกานุวัตรอย่างปฏิเสธไม่ได้ แต่จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้เราปรับตัวได้ทัน" ประชา จารุตระกูลชัย อธิบดีกรมการประกันภัยเน้นถึงความจำเป็นที่เราต้องปรับตัวตามตลาดการเงินโลกที่หมุนพลิ้วไปอย่างรวดเร็ว

โดยเฉพาะความต่างระหว่างผลตอบแทนจากการรับประกันของไทยกับสหรัฐฯ ต่างกันมาก ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้สหรัฐฯ เร่งรุกการเจรจาแกตต์รอบอุรุกวัยให้สำเร็จให้ได้เร็วขึ้น

จะเห็นว่าที่เอไอจี บริษัทประกับของสหรัฐฯ สำรวจออกมาพบว่า ผลตอบแทนจากการรับประกันในไทยค่อนข้างสูง ประมาณ 9-12% ขณะที่บริษัทประกันภัยในสหรัฐฯ ได้ราว 6-8% เท่านั้น ไทยจึงกลายเป็นแหล่งดึงดูดความสนใจเพิ่มขึ้น

ประกอบกับแนวโน้มธุรกิจประกันภัยไทยเองก็ยังไปได้สวย "ตอนนี้มีบริษัทประกันภัยอยู่ซึ่งรวมของต่างชาติด้วยแล้วมีอยู่ 67 แห่ง ถ้าประเมินตามสินทรัพย์ของบริษัทประกันภัยปีนี้มีประมาณหนึ่งแสนล้านบาท หากคิดอัตราการเติบโตที่ 20% ต่อปี อีก 10 ปีก็จะมีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นเป็น 4 แสนล้านบาท"

ดังนั้น "ทั้งจากปัจจัยภายนอกและภายในดังกล่าว ธุรกิจประกันภัยไทยจึงต้องรีบปรับตัว" ประชา อธิบดีกรมการประกันภัยกล่าวย้ำ "โดยในตอนแรก จะเน้นเปิดเสรีในขอบข่ายที่กระทบต่อธุรกิจประกันภัยไทยน้อยที่สุดก่อน" นัยว่าเพื่อเป็นการอุ่นเครื่องก่อนที่จะลงสนามเสรีอย่างเต็มตัว ซึ่งมีข้อวิพากษ์ถึงข้อดีข้อเสียที่จะเกิดขึ้นต่อธุรกิจประกันภัยอยู่ไม่น้อย

เริ่มตั้งแต่การขยายสัดส่วนให้ต่างชาติถือหุ้นเพิ่มจากเดิม 25% เป็น 30% "ประเด็นนี้ถือว่าช่วยให้ต่างชาติมาลงทุนมากขึ้น และระยะแรกแล้วเชื่อว่าไม่กระทบต่อธุรกิจประกันภัยไทย เพราะกว่าบริษัทต่างชาติจะลงฐานและสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจให้เป็นที่ยอมรับคงต้องใช้เวลา 2-3 ปี และยังยากที่จะเข้ามาครอบกิจการทั้งหมด แต่ก็เป็นการสร้างแรงจูงใจให้ต่างชาติได้ไม่น้อยเพื่อกระตุ้นการแข่งขันให้มากขึ้น" แหล่งข่าวจากวงการประกันภัยรายหนึ่งชี้ถึงผลกระทบในช่วงแรก

แต่ระยะต่อไปจะขึ้นกับเงื่อนไขของกรมฯ ว่าจะเปิดกว้างออกไปมากแค่ไหน "ซึ่งถ้าต่างชาติขอถือถึง 49% สัดส่วนตรงนี้คิดว่า ถ้าให้เขาถือเกิน 30% ก็ไม่น่าจะเกิน 35% เพราะตามเป้าหมายของกรมฯ ต้องการให้บริษัทประกันภัยทุกแห่งเป็นบริษัทมหาชนซึ่งทำให้ง่ายต่อการควบคุมและพัฒนาธุรกิจให้ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น พอเป็นอย่างนี้ถ้าถือเกิน 35% จะทำให้ต่างชาติเข้าครองบริษัทประกันภัยไทยได้ง่าย โดยใช้วิธีผ่านตัวแทนให้ถือหุ้นแทน (NOMENEES)" ประสาน นิลมานัต นายกสมาคมประกันวินาศภัยติงถึงแนวโน้มที่พึงระวัง เพราะเพียงแต่ให้มีตัวแทนถือหุ้นแทนเพียง 4 ราย โดยแต่ละรายซื้อไม่เกิน 5% ตามกฎของตลาดหุ้นก็จะมีหุ้นเกิน 50% อันเสี่ยงต่อการถูกเทกโอเวอร์ได้ง่าย

ส่วนการอนุมัติให้บริษัทแม่ของบริษัทประกันต่างชาติเข้ามาเปิดสาขาในไทย โดยแก้ไข พ.ร.บ. ประกันวินาศภัยและ พ.ร.บ. ประกันชีวิต พ.ศ. 2535 ที่เดิมกำหนดห้ามบริษัทประกันต่างชาติมาเปิดสาขาในไทยนั้น จะทำให้เกิดบริษัทประกันภัยต่างชาติในไทยมากขึ้น

อันนี้จะทำให้เกิดการตื่นตัวและแข่งขันหนักขึ้นแน่นอน "เพราะเขาชำนาญกว่าจะเกิดการแย่งลูกค้า แต่เขาก็ต้องใช้เวลานิดหน่อย สัก 2-3 ปี โดยเฉพาะบริษัทที่เกิดก่อนก็ได้เปรียบ เช่น บริษัท ไตโชมารีน ประกันภัยของญี่ปุ่น เขามีฐานลูกค้าที่เป็นญี่ปุ่นราว 40% ของนักลงทุนในไทย ก็จะทำให้ขยายฐานได้ง่ายและเร็วขึ้น" แหล่งข่าวจากสมาคมประกันวินาศภัยกล่าว

ประเทศที่ต้องการเข้ามาจริงๆ คือ สหรัฐฯ และญี่ปุ่น..!

อันที่จริง แต่เดิมมีบริษัทประกันภัยต่างชาติอยู่แล้ว 7 บริษัท เช่น นิวแฮมเชอร์ประกันภัยของสหรัฐ ไตโชมารีนประกันภัยของญี่ปุ่น เวนโดมประกันภัยของฝรั่งเศส แต่เมื่อทางกระทรวงพาณิชย์เห็นว่าบริษัทประกันภัยมีมาถึง 67 แห่งแล้ว จึงห้ามต่างชาติเข้ามาตาม พ.ร.บ. ปี 2510 ที่ห้ามต่างชาติเปิดสาขา เมื่อมาปี 2535 ออก พ.ร.บ. ใหม่แทนปี 2510 ก็ยังคงห้ามต่างชาติเหมือนเดิม

การเปิดให้ต่างชาติเข้ามาในคราวนี้ เท่ากับเป็นการเตรียมธุรกิจประกันภัยไทยไปสู่ตลาดประกันภัยโลกอย่างแท้จริง…!

แต่ประเด็นนี้ อุทัย พิมพ์ใจชน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เคยให้แนวคิดว่า เมื่อไทยให้สิทธิต่างชาติ ต่างชาติก็ควรให้สิทธิเราด้วย เช่น ถ้าสิงคโปร์จะเข้ามาเปิดในไทย เขาก็ต้องให้เราไปเปิดในบ้านเขาได้ด้วย

จุดอ่อนของไทยคือเรื่องการรับประกันความเสี่ยง บริษัทประกันภัยต่างชาติจะหาบริษัทรับช่วงต่อได้ดีกว่าไทย ได้ในอัตราที่ดีกว่า เพราะมีความสัมพันธ์และเครือข่ายกว้างขวาง ขณะที่บริษัทประกันภัยของไทยจะไม่รู้เลยว่า เขาคิดกันอัตราเท่าไหร่ นี่เป็นธรรมชาติของธุรกิจประกันภัย

นอกจากนี้ยังมีเรื่องการกรองความเสี่ยงกรณีรับประกัน "เรายังมีน้อย เช่น กรณีโรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ ต่างประเทศเขาจะถ่ายรูปทุกจุดตอนรับประกัน พอมีปัญหาก็ชี้จุดได้ แต่เรามีปัญหามากในเรื่องของทีมเซอร์เวเยอร์ (SERVEYER)" ผู้เชี่ยวชาญจากกรมการประกันภัยยกตัวอย่างปัญหาบริษัทธุรกิจประกันภัยไทยที่ต้องโหมแก้อย่างหนัก

ขณะที่หลังเกิดเหตุบริษัทประกันภัยต้องการทีมสำรวจภัยที่ชำนาญเฉพาะเรื่องเฉพาะส่วน โดยต่างประเทศเขาจะเรียกใช้ได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุ แต่เมื่อด้อยประสบการณ์ ทำให้ต้องจ่ายสินไหมในภาพของการจำยอม และสูงกว่าที่ควรจะเป็น

ยิ่งกว่านั้น ยังมีปัญหาบุคลากรทั้งปริมาณและคุณภาพ ดังนั้นเมื่อต่างชาติเข้ามาเยอะก็จะเกิดการดึงคนที่มีคุณภาพไปซึ่งจะทำให้เกิดการถ่ายเทมันสมองมากขึ้น

เพราะไม่เพียงแต่อนุญาตให้บริษัทประกันภัยต่างชาติเข้ามาเท่านั้น แต่ยังให้ขยายสาขาไปต่างจังหวัดได้ ตลอดจนให้บริษัทประกันภัยไทยขยายบทบาทไปลงทุนธุรกิจเพิ่มเติมในอีก 3 ประเภท คือเป็นผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม และธุรกิจลิสซิ่งได้

เมื่อผนวกประเด็นความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เข้าด้วยกันแล้ว ด้านหนึ่งแม้จะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กรและเกิดความเชี่ยวชาญในธุรกิจที่ครบวงจรมากขึ้น เพราะธุรกิจเหล่านี้เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับธุรกิจประกัน ก็จะทำให้มีฐานที่จะหารายได้ใหม่เข้าบริษัท ซึ่งถือว่าเป็นการซ้อมใหญ่ก่อนที่จะไปแข่งกับต่างชาติ แต่ด้านหนึ่งก็จะเจอปัญหาเรื่องกำลังคนอย่างมากเช่นกัน โดยเฉพาะใน 2-3 ปีแรก

"เนื่องจากทางกลุ่มบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์และธนาคารทำธุรกิจเหล่านี้อยู่แล้ว จึงไม่ง่ายที่บริษัทประกันภัยจะหาคนเข้ามาสนองความต้องการ เชื่อแน่ว่าจะมีการดึงตัวกันมาก" แหล่งข่าวจากสมาคมประกันวินาศภัยชี้ถึงปัญหานอกเหนือจากปัญหาเรื่องทีมสำรวจภัย

คนที่จะเสียเปรียบคือบริษัทที่ไม่มีธนาคารหรือบริษัทเงินทุนในเครือซึ่งมีกว่า 40 แห่งจากบริษัทประกันภัย 67 แห่ง แต่บริษัทที่มีความพร้อม เช่น กรุงเทพประกันภัยของธนาคารกรุงเทพ หรือ ภัทรประกันภัยของกสิกรไทยจะได้เปรียบ

แม้ว่าด้านหนึ่งทางกรมฯ จะเปิดโอกาสให้ขยายวงเงินที่บริษัทประกันภัยจะนำไปลงทุนในตลาดหุ้นเพิ่มเป็น 40% จากเดิมที่กำหนดเพียง 30% พร้อมทั้งให้นำเงินส่วนเกิน (SURPLUS FUNDS) ซึ่งเกิดจากส่วนผู้ถือหุ้นระยะแรกบวกกำไรสะสม 75% โดยปัจจุบันมียอดอยู่ประมาณหนึ่งหมื่นล้านบาทในระบบนั้นจะทำให้บริษัททำกำไรได้มากขึ้น

เพราะจากที่เคยเน้นเงินฝากและได้ผลตอบแทนต่ำมาก แต่เมื่อเข้าตลาดหุ้นจะทำให้มีกำไรเพิ่มเป็น 15-20% "แต่อันนี้ต้องขึ้นอยู่กับฝีมือการบริหารของบริษัทนั้นด้วยว่าแน่แค่ไหน" แหล่งข่าวจากสมาคมประกันวินาศภัยกล่าวย้ำถึงเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงไป ที่บริษัทประกันภัยจะต้องพลิกโฉมธุรกิจการบริหารงานขององค์กรอย่างเร่งรีบ

โดยเฉพาะในเรื่องการเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรบุคคลดังกล่าวข้างต้น "ถ้าเราเตรียมไม่ทัน ไม่เกิน 5 ปี ก็รู้ผล" ประสาน นายกสมาคมประกันวินาศภัยกล่าว เพราะนั่นอาจหมายถึงการถูกกลืนธุรกิจไป

แต่จะเป็นผลดีต่อผู้เอาประกันในระยะยาวเมื่อมีการแข่งเต็มที่ยิ่งขึ้น ปัญหาเดิมไม่ว่าจะเป็นความล่าช้าที่ประวิงเวลาจ่ายค่าสินไหม หรือการคิดเบี้ยประกันที่บวกความคุ้มครองเพิ่มอย่างไร้ระบบด้อยมาตรฐานก็จะค่อยๆ หมดไปด้วยเช่นกัน…!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us