Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2546
Trouble on "เซ็นทรัล-จิราธิวัฒน์"             
โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข
 





เรื่องราวของธุรกิจครอบครัวจิราธิวัฒน์กับห้างเซ็นทรัล เป็นกรณีศึกษาที่นิตยสาร "ผู้จัดการ" ได้เจาะลึกมาตลอด ตั้งแต่ฉบับเดือนตุลาคม 2529 ที่วิรัตน์ แสง ทองคำ กับบุญศิริ นามบุญศรี ได้วิเคราะห์ ไว้ในชื่อเรื่องขนาดยาวว่า "จิราธิวัฒน์และห้างเซ็นทรัลกำลังจะผ่านเข้าสู่ยุคที่สาม ยุค ที่ห้างเซ็นทรัลอาจไม่ใช่ของจิราธิวัฒน์!?"

เรื่องเริ่มต้นจากปี 2522 ที่บริษัทเซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา ชนะการประมูลที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ณ บริเวณสามเหลี่ยมถนนวิภาวดีรังสิต ตัดกับถนนพหลโยธิน โดยมีสัญญา 30 ปี ขณะนั้นก็สร้างสาขาลาดหญ้าและวังบูรพา (2) ควบคู่ไปด้วย สัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ ประธานกลุ่มเซ็นทรัลเคยกล่าวถึงโครงการ เซ็นทรัลพลาซ่าไว้ว่า

"ก่อนจะลงมือทำได้ก็ต้องผ่านมรสุม หนักหน่วงจากหลายฝ่าย หนังสือพิมพ์บางฉบับเขียนโจมตีว่า เอาสวนและที่ดินเวนคืนมาทำศูนย์การค้า บ้างก็ว่าจับเสือมือ เปล่า จนโครงการต้องถูกระงับไว้ชั่วคราว"

ความเป็นยักษ์ใหญ่ธุรกิจค้าปลีกรายแรกและใหญ่ที่สุดของไทย ได้กลายเป็น เป้าหมายถูกโจมตี รวมถึงมีปัญหาความเสี่ยง ด้านระดมเงินกู้ก้อนใหญ่ 1 พันล้านบาทที่ตระกูลจิราธิวัฒน์ต้องกู้แบงก์ในประเทศพร้อมกับกู้ Offshore ด้วย แต่ต้องมาเจอการขาดทุนหนักกว่า 114 ล้านบาทจากพิษ ลดค่าเงินบาทถึง 2 ครั้งในปี 2524 และ 2527 ซึ่งมีการจำกัดสินเชื่อดอกเบี้ยสูงด้วย นี่เป็นเงื่อนไขของการเกิดโครงการเซ็นทรัล พลาซ่าอย่างยากลำบาก ท่ามกลางศึกการ ตลาดรุนแรงของห้างคู่แข่งที่เปิดใหม่ถึง 7 แห่งระหว่างปี 2528-2530

ดังนั้น เซ็นทรัลพลาซ่าและโรงแรม จึงเป็นอนุสาวรีย์แห่งความกล้าหาญและความดีของจิราธิวัฒน์ ในสายตาของ "ผู้จัดการ" ขณะนั้น

ว่ากันว่า เซ็นทรัลภายใต้การบริหาร หนี้สิน Liability Management ของ สุทธิชัย จิราธิวัฒน์ เป็นไปอย่างชาญฉลาด จึงทำให้โครงการเซ็นทรัลพลาซ่าผ่านได้ ขณะที่พี่ใหญ่สัมฤทธิ์ต้องปรับกลยุทธ์รบในสงครามการตลาดและโครงสร้างการบริหารครั้งใหญ่ หลังจากที่เคยผ่านวิกฤติมาแล้ว เมื่อครั้งสิ้นบิดาคือ เตียง ขณะมีปัญหาขาดทุนหนักจากห้างเซ็นทรัลสีลม

"ตอนนั้นไม่มีพินัยกรรม ก็ได้ทางแบงก์ช่วย เขาถามว่าเรารวมกันได้ไหม เขา จะแขวนหนี้ให้ 3 ปี เนื่องจากครอบครัวเรา ดูแลกันตามอายุ เมื่อคุณพ่อเสีย พี่ใหญ่ ก็จัดการ ทุกคนก็ลงชื่อเห็นด้วย ไม่ต้องให้ศาล พิจารณานาน" วันชัย จิราธิวัฒน์เล่าให้ฟัง

จากวิกฤติกลายเป็นโอกาส ห้างเซ็น ทรัลในมือบริหารของทายาทรุ่นที่ 2 นำโดย สัมฤทธิ์ เติบโตด้านสาขาอย่างมาก เริ่มจาก สาขาชิดลม ที่สร้างกำไรตั้งแต่ปีก่อตั้ง 2517 และปี 2527 กลายเป็นฐานบัญชาการใหญ่ ของกลุ่มธุรกิจในเครือเซ็นทรัล ที่ประกอบด้วยห้างเซ็นทรัล โรงแรม โรงงานอุตสาห-กรรมเสื้อผ้าและเซรามิก ธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร รวมถึงธุรกิจนำเข้าและส่งออก โดยอาศัยคนหนุ่มสาวในครอบครัวเป็นผู้บริหาร รุ่นต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us