ยุคสมัยและคุณลักษณะส่วนตัวกับความเป็นผู้นำ
Warren Bennis เป็นนักวิชาการด้านความเป็นผู้นำ ส่วน Robert Thomas เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงในเชิงยุทธศาสตร์
ทั้งสองช่วยกันค้นหาว่า ยุคสมัยและคุณลักษณะส่วน บุคคล มีผลอย่างไรต่อรูปแบบความเป็นผู้นำ
โดยศึกษาเปรียบ เทียบระหว่างกลุ่มผู้นำที่มีอายุมากกว่า 70 ปี ซึ่งเติบโตในยุคเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในสหรัฐฯ
และสงครามโลกครั้งที่ 2 กับกลุ่มผู้นำอายุน้อยกว่า 35 ปี ที่โตมากับจอคอมพิวเตอร์
ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้นำทั้ง 2 กลุ่มแสดงให้เห็นถึงรูปแบบของความเป็นผู้นำ
ซึ่งสามารถนำไปใช้ทำนายได้ว่า ใครที่สามารถจะเป็นผู้นำได้ ปัจจัยใดที่ทำให้คนคนหนึ่งกลายเป็นผู้นำ
และผู้นำคนไหนที่จะรักษาความเป็นผู้นำไว้ได้ตลอดไป
Geeks & Geezers เริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นผู้นำอย่างย่อๆ
รวมถึงความซับซ้อนของความเป็นผู้นำและความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิต จากนั้นจึงเจาะลึกลงไปถึงรูปแบบใหม่ของการพัฒนาความเป็นผู้นำ
ซึ่งมีพื้นฐานอยู่ที่ "บทเรียนชีวิต" หรือประสบการณ์ต่างๆ ที่คนคนหนึ่งเผชิญ
ที่อาจเปลี่ยนเขาให้กลายเป็นผู้นำหรือเป็นเพียงคนที่โลกลืมก็ได้
บทเรียนชีวิตของคนคนหนึ่งประกอบด้วยคุณลักษณะส่วน ตัวของคนคนนั้น บวกกับยุคสมัยที่บทเรียนชีวิตนั้นเกิดขึ้น
ผู้นำสองยุค
ผู้นำในกลุ่มที่อายุมาก เช่น Mike Wallace นักข่าว Dee Hock จาก Visa International
รวมทั้ง Bennis ผู้แต่งเอง มีประสบการณ์ร่วมกันอย่างหนึ่งคือ การมีชีวิตวัยเด็กที่ยากลำบาก
จากการที่เกิดมาในยุคเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ และได้เห็นพ่อแม่ ต้องดิ้นรนต่อสู้เพียงเพื่อให้มีสิ่งจำเป็นพื้นฐานในชีวิต
การเคยเป็น ทหารรับใช้ชาติเป็นประสบการณ์ร่วมอีกอย่างของผู้นำกลุ่มนี้ Ed
Guthman คนสนิทของ Robert F. Kennedy ผู้เป็นอดีตบรรณาธิการหนังสือพิมพ์และเคยได้รับรางวัล
Pulitzer กล่าวว่า เกือบทุกคนในคณะรัฐบาลของ Kennedy ต่างเคยมีประสบการณ์
รับใช้ชาติมาแล้ว ซึ่งเขาคิดว่าผลที่เกิดขึ้นจากการที่มีประสบการณ์ ร่วมกันในเรื่องนี้คือ
ทำให้รัฐบาลนี้มีความสามารถในการทำงานอย่างรวดเร็ว
ผู้เขียนได้ชี้ต่อไปว่า ผู้นำในกลุ่มอาวุโสนี้ประสบความสำเร็จ ได้เพราะการทำงานหนักอย่างทุ่มเท
ใฝ่หาความก้าวหน้า มีนิสัยใจคอดี และมีสติปัญญา ผู้นำกลุ่มนี้ยังให้ความสำคัญกับประสบ
การณ์ ยิ่งผ่านประสบการณ์มากเท่าไรก็ยิ่งเป็นเครื่องวัดความสำเร็จมากเท่านั้น
ตรงข้ามกับผู้นำในกลุ่มอายุต่ำกว่า 35 ปี ซึ่งต้องการชัยชนะตั้งแต่ครั้งแรก
และไม่สามารถอดทนสะสมประสบการณ์อย่างยาวนานได้
Mitchael Klein ผู้เป็น CEO หนุ่มวัย 29 ของบริษัท Internet แห่งหนึ่ง
เริ่มต้นธุรกิจโดยมีเป้าหมายอันดับหนึ่งคือ สร้างความร่ำรวยให้ตัวเอง ก่อนหน้านั้น
เขาทำเงินได้เกือบ 20 ล้านดอลลาร์จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เมื่ออายุเพียง
19 ปี ตัวอย่าง ของ Klein แสดงให้เห็นว่า ยุคสมัยที่แตกต่างกันมีผลต่อรูปแบบความเป็นผู้นำ
ในขณะที่ผู้นำยุคก่อน Klein ไม่นิยมตั้งเป้าแสวง หาความร่ำรวยเป็นเป้าหมายที่สำคัญที่สุด
แต่ผู้นำในยุคเดียวกับ Klein กลับถูกกดดันตั้งแต่ที่พวกเขายังเป็นเด็กจากรอบด้าน
ตั้งแต่พ่อแม่ สื่อ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในยุคสมัยใหม่ และการเกิดขึ้นของ
Internet ให้เร่งบรรลุเป้าหมายและแสวงหาความร่ำรวยให้ได้โดยเร็ว
ปัจจัยที่ขีดเส้นแบ่งผู้นำสองยุค
ในยุคที่ความมั่นคงในงานลดน้อยลงอย่างยุคนี้ ผู้นำอายุน้อยได้เรียนรู้แล้วว่า
การจะตัดสินใจในเรื่องการทำงานต้องคำนึง ถึงความจริงของยุคสมัยดังกล่าวด้วย
ปัจจัยอื่นๆ ที่ขีดเส้นแบ่งผู้นำรุ่นก่อนกับรุ่นนี้ออกจากกันได้แก่ การให้น้ำหนักความสำคัญ
ที่ต่างกันในเรื่องความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานกับชีวิตส่วนตัว การมีวีรบุรุษในดวงใจ
และโลกที่เห็นผ่านทางสื่อ
แม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะให้ความสำคัญกับความสามารถในการเก็บรับและเรียนรู้จากบทเรียนชีวิต
ที่สามารถจะเปลี่ยนคนธรรมดาคนหนึ่งให้กลายเป็นผู้นำได้ แต่ก็ได้ย้ำในตอนท้ายว่า
ผู้นำ ที่แท้จริงไม่ว่ายุคไหน ยังคงต้องมีคุณสมบัติร่วมกันอื่นๆ ที่นอกเหนือจากความสามารถข้างต้น
คุณสมบัติเหล่านี้ได้แก่ ความสามารถในการปรับตัว ความสามารถในการสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ
และให้ความร่วมมือ และสุดท้ายคือการมีความกระตือรือร้นที่จะแสวงหาความรู้ใหม่ๆ
อยู่ตลอดเวลาเยี่ยงคนหนุ่มสาว