Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2546
Customer Culture             
 





ลูกค้าต้องมาก่อน

Michael Basch เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ก่อตั้ง Federal Express หรือ FedEx บริษัทขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ที่โด่งดังทั่วโลก ซึ่งเป็นทีมที่ได้ปลูกฝังวัฒนธรรมการบริการลูกค้าอย่างทุ่มเทสูงสุดให้แก่ FedEx อันทำให้ FedEx กลายเป็นตำนานต้นแบบของบริษัทขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ ใน CustomerCulture ผู้เขียน คือ Basch ได้แสดงให้เห็นว่า บริษัทหรือองค์กรต่างๆ จะสามารถ ปลูกฝังวัฒนธรรมการบริการลูกค้าในทุกระดับของการติดต่อสัมพันธ์กับลูกค้าได้อย่างไร ซึ่งหากทำได้สำเร็จ จะทำให้บริษัทมีประสิทธิภาพและความรับผิดชอบสูงสุด

CustomerCulture แบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกเป็นทฤษฎี ส่วนที่สองเป็นการประยุกต์ใช้ และส่วนที่สามคือผลลัพธ์ที่ได้ ในส่วนแรก Basch อธิบายว่า เหตุใดทฤษฎีการบริการลูกค้าอย่างทุ่มเทสูงสุดจึงใช้ได้ผล โดยใช้ FedEx เป็นกรณีศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า FedEx สามารถคิดค้นและพัฒนาทฤษฎีดังกล่าวขึ้นมาได้อย่างไร

"ไปเอาพัสดุมาให้ได้"

ตอนที่ Fred Smith ก่อตั้ง Federal Express ในปี 1973 นั้น บริษัทเริ่มต้นอย่างย่ำแย่มาก ทั้งๆ ที่ Federal Express ในขณะนั้นเป็นสายการบินแห่งแรกในสหรัฐฯ ในรอบ 20 ปี และเป็นสายการบินแรกที่รับส่งพัสดุภัณฑ์ทุกประเภททุกขนาด มีพัสดุภัณฑ์เพียง 6 ชิ้นเท่านั้นที่มาถึงศูนย์กลางขนส่งของบริษัทซึ่งตั้งอยู่ใน Memphis ในวันแรกของการเริ่มดำเนินธุรกิจ และมีเพียง 2 ชิ้นในจำนวนดังกล่าวที่มาจากลูกค้าจริงๆ (ส่วนที่เหลือ มาจากพนักงานขายที่ต้องการทดสอบระบบ) ปลายสัปดาห์แรก สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงไปอีก เมื่อพัสดุที่บริษัทได้รับลดเหลือเพียงชิ้นเดียวเท่านั้น แต่บริษัทไม่ย่อท้อและเรียนรู้จากความล้มเหลว โดยเดินหน้าสร้างวัฒนธรรมการบริการลูกค้าแบบทุ่มสุดตัวขึ้นมาจากความล้มเหลวนั้น ซึ่งได้นำความสำเร็จมาสู่บริษัทตลอด 30 ปีต่อมา ทุกอย่างเริ่มขึ้นด้วยวิสัยทัศน์เดียวคือ "ไป เอาพัสดุมาให้ได" บริษัทให้พนักงานทุกคนมีอิสระในการตีความวิสัยทัศน์นี้ตามความเข้าใจของตน Basch เขียนไว้ว่าวิสัยทัศน์ดังกล่าว สามารถสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ FedEx จนกลายเป็นบริษัทที่ไม่มีใครสามารถเอาชนะได้

วัฒนธรรมการบริการลูกค้าอย่างทุ่มสุดตัวของ FedEx จึงไม่ได้เกิดขึ้นด้วยความตั้งใจวางแผนตั้งแต่ต้น หากแต่เกิดจาก การเรียนรู้จากความผิดพลาดล้มเหลว และที่สำคัญคือ เกิดจากการที่ Fred Smith เริ่มต้นกิจการด้วยปรัชญา "คนเป็นผู้สร้างกำไร" Smith ให้ความสำคัญกับพนักงานเป็นอันดับแรก แล้วกำไรจะตามมา เขาต้องการสร้างบริษัทที่คนต้องมาก่อน ซึ่งหมายรวมถึงการให้ความสำคัญกับลูกค้าด้วย จากนั้นจึงตามด้วย "บริการ" และ "กำไร" ปรัชญานี้ยังคงเป็นปรัชญาการดำเนินธุรกิจที่สำคัญ ที่สุดของ FedEx จนถึงปัจจุบัน

Basch ได้ยกตัวอย่างประกอบหลายตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า ฝ่ายบริการลูกค้าของ FedEx ทุ่มเทความพยายามมากกว่าระดับปกติเพื่อทำให้ลูกค้าพอใจ และทำให้วิสัยทัศน์ "ไปเอา พัสดุมาให้ได้" กลายเป็นจริง พร้อมกันนั้น Basch ย้ำว่า ความล้มเหลวเป็นเรื่องธรรมดาที่จะเกิดขึ้นแม้ว่าคุณจะวางแผนมาอย่างดีแล้วก็ตาม พนักงานของ FedEx มีอิสระที่จะเรียนรู้จากความล้มเหลวและใช้ความล้มเหลวนั้นเป็นตัวชี้ทางว่าเขาจะต้องทำอย่างไร จึงจะสามารถบรรลุเป้าหมายได้

สิ่งที่ขนส่งคือคุณค่าใช่เพียงพัสดุ

Basch เสนอวิธีการหลายๆ อย่างที่องค์กรใดๆ ก็สามารถ จะนำไปปฏิบัติตามได้ ในการสร้างวัฒนธรรมการบริการลูกค้าแบบทุ่มสุดตัว เช่น การเน้นให้พนักงานทุกคนทำทุกอย่างที่จะทำให้บริษัทมีความยั่งยืน มีกำไรและเจริญเติบโต โดยที่ความยั่งยืนหมายถึงการให้ความสำคัญกับลูกค้าเสมอ การมีกำไรหมายถึง การส่งมอบคุณค่าแก่ลูกค้ามากพอที่จะทำให้ลูกค้าพอใจจนจ่ายเงินซื้อบริการในราคาที่เรากำไร และการเจริญเติบโต หมายถึงการขายอย่างทุ่มเท Basch ระบุว่า ที่ FedEx ประสบความสำเร็จเป็นเพราะแม้จะพยายามนำเทคโนโลยีสื่อสารมาใช้แทนคนมากขึ้นเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย แต่บริษัทยังคงยอมให้ลูกค้า ติชมบริการกับพนักงานได้โดยตรงเสมอหากลูกค้าต้องการ

ส่วนที่สามของหนังสือเป็นการแสดงว่า ธุรกิจเล็กๆ อย่างคลินิกทำฟันและบริษัทเทคโนโลยีขนาดย่อม ก็สามารถนำทฤษฎี การสร้างวัฒนธรรมการบริการลูกค้าแบบทุ่มสุดตัวไปประยุกต์ใช้ได้เช่นกัน และสำหรับบริษัทที่กำลังคิดจะปรับปรุงประสิทธิภาพ ก็สามารถจะถือโอกาสนี้ปลูกฝังวัฒนธรรมการบริการลูกค้าแบบทุ่มสุดตัวได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us