Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2546
ไอแอมแซม ฌอน เพนน์ กับนายกฯ และเขื่อนปากมูล             
โดย ธีรภาพ วัฒนวิจารณ์
 





ด้วยความจำเป็นบางประการทางด้านการศึกษา ผมจึงได้มีโอกาสชมภาพยนตร์เรื่อง "I am Sam" เมื่อ 3-4 สัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งๆ ที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ลาโรงจากบ้านเราไปได้หลายเดือนมากในการชมครั้งแรกนั้น ผมไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับภาพยนตร์มากนัก นอกจากทราบว่าเป็นภาพยนตร์ตัวเก็งที่เข้า ชิงรางวัลออสการ์เมื่อปีที่แล้ว และฌอน เพนน์ เล่นได้ดีมาก ความรู้สึกในการชมจึงค่อนข้างจะคาดหวังว่าตนเองคงชมภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยความสนุก

ผลออกมาก็ดีจริงอย่างที่คาด ดูแล้วเห็นใจฌอน เพนน์ เอามากๆ ทั้งจากภาพยนตร์ และจากความรู้สึกว่าเล่นดี ตีบทแตกอย่างนี้ทำไมยังไม่ได้รางวัลกลับบ้าน เพียงแต่ที่สะกิดใจขึ้นมานิดหนึ่งก็ตรงที่ท่าทางการเดิน การวางมือไม้ และสีหน้าท่าทางแบบในหนัง เหมือนจริงและคุ้นตามากจนรู้สึกว่าเคยเห็นแบบนี้ที่ไหนมาก่อนแต่นึกไม่ออก

ความรู้สึกแปลกๆ อีกอย่างหนึ่งคือว่า เรื่องนี้ใช้เพลงของบีทเทิ้ลมากจริงๆ ตั้งแต่เพลง LSD (Lucy in the sky with diamond) ตอนเปิดตัวการตั้งชื่อนางเอกของเรื่อง ไปจนถึงเพลง Love is all you need ในการบอกของ Lucy กับเจ้าหน้าที่ ว่านั่นคือสิ่งที่ตนเองต้องการและได้รับจากฌอน เพนน์ ผู้เป็นพ่อ หรือเพลง You' ve got to hide your love away ในช่วงที่ฌอน เพนน์ หลบไม่ยอมให้ลูซี่เห็นตนเมื่อเดินทางไปเยี่ยมลูซี่ที่บ้านใหม่และพบว่าเธอกำลังอยู่กับแม่อุปถัมภ์ อย่างไรก็ตามความรู้สึกตอนนั้นคิดว่าชื่อเพลงช่างสื่อสถานการณ์ในแต่ละช่วงได้ตรงมาก

แต่พอจะเริ่มดูรอบสองผมได้ไปหาอ่านบทวิจารณ์บนอินเทอร์เน็ต โดยอ่านจากบทวิจารณ์ของนักวิจารณ์มืออาชีพ คราวนี้ความรู้สึกในการชมเปลี่ยนไปจากเดิมมากทีเดียว และที่สำคัญคือ มันทำให้ผมนึกถึงเรื่องของเขื่อนปากมูล และม็อบท่อก๊าซกับท่านนายกฯ

ที่น่าทึ่งมากคือ นักวิจารณ์อาชีพโดยส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบภาพยนตร์เรื่องนี้ เว็บที่ให้รางวัลหนังยอดแย่ (เป็นการล้อเลียนรางวัลออสการ์) ถึงกับยกให้เป็นหนังยอดแย่แห่งปี นักวิจารณ์บางคนมองว่าภาพยนตร์ตั้งใจบีบคั้นอารมณ์ผู้ชมเพื่อเรียกร้องน้ำตา ไม่เป็นธรรมชาติ หรือแม้กระทั่งส่วนที่บางคนมองว่าเป็นส่วนที่เด่นมากของภาพยนตร์ คือ การแสดงของฌอน เพนน์ ก็ยังถูกตำหนิว่าไม่ดี ความรู้สึกของ ผมที่เปลี่ยนไปจากการอ่านบทวิจารณ์คือ ผมรู้สึกอย่างที่นักวิจารณ์ให้ความเห็น ความ รู้สึกที่ดีต่อตัวภาพยนตร์ที่เกิดขึ้นในการชมครั้งแรกหายไป และรู้สึกว่าภาพยนตร์ไม่ได้ดีมากอย่างที่บางคนบอก อีกทั้งเรื่องเพลงของบีทเทิ้ลนั้นผมกลับรู้สึกว่ามันเจตนาเอามากๆ เหมือนกับเลือกเพลงมาแล้วเขียนเหตุการณ์ในบทให้เหมือนกับชื่อเพลง

ทำไมความรู้สึกของผมจึงเปลี่ยนไปในการชมครั้งที่สอง และเปลี่ยนไปในลักษณะที่ตรงกันข้ามกับการชมครั้งแรก

ทำไมนักวิจารณ์จึงไม่ชอบภาพยนตร์เรื่องนี้ ในขณะที่หากไปอ่านความเห็นของคนทั่วไปที่เขียนบนอินเทอร์เน็ต เรากลับพบว่าความเห็นโดยรวมต่อภาพยนตร์ค่อนข้างจะดีเอามากๆ

ผมคิดว่าการที่ความเห็นของนักวิจารณ์ไม่ตรงกับผู้ชมทั่วๆ ไป น่าจะเนื่อง มาจากนักวิจารณ์ต้องการภาพยนตร์ที่หากจะดราม่าก็ต้องเรียกอารมณ์ด้วยวิธีการที่ไม่ทำให้ผู้ชมรู้สึกว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างจงใจ (จากผู้กำกับ) ความสมจริงและเนื้อเรื่องมีความเป็นไปได้ รวมทั้งที่สำคัญคือ นักวิจารณ์มักจะวางตนเองเป็นผู้สังเกตการณ์กับสิ่งที่เกิดขึ้น นั่นคือการดึงตัวเองออกมาจากเหตุการณ์ทำให้อารมณ์ที่เกิดขึ้นในขณะชมภาพยนตร์ไม่ถูกเร่งเร้ามากเกินไป แต่หากอารมณ์ของเขาร่วมไปกับภาพยนตร์เรื่องนั้นได้ เราก็จะพบว่าคนเหล่านี้มักจะชื่นชมว่าภาพยนตร์ เรื่องนั้นดี (เพราะสามารถดึงอารมณ์ของพวกเขาออกมาได้)

อีกประการหนึ่ง หน้าที่ของนักวิจารณ์คือ การวิพากษ์วิจารณ์ไม่ใช่การชื่นชม ดังนั้นพูดง่ายๆ การดูภาพยนตร์ก็คล้ายกับการมาจับผิดหรือหาความไม่สมบูรณ์

ในขณะที่ผู้ชมทั่วไปมักจะปล่อยตัวเองให้มีส่วนร่วมกับภาพยนตร์ ดังนั้นอารมณ์ความรู้สึกจึงมักจะถูกชักจูงได้ง่ายกว่า คนกลุ่มนี้จึงมักจะรู้สึกว่าภาพยนตร์ที่พยายามดึงอารมณ์ของเขาเป็นภาพยนตร์ที่ดีเพราะทำให้เกิดความรู้สึกเหล่านั้นได้

นั่นคือคนที่ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ดีก็เพราะมีบรรทัดฐานว่าดีเป็นอย่างไร ส่วนคน ที่ว่าไม่ดีก็มีบรรทัดฐานอีกแบบหนึ่ง ทั้งๆ ที่ทั้งสองฝ่ายวัดในสิ่งเดียวกัน

อ่านมาถึงตรงนี้แล้วคุณผู้อ่านอาจจะเกิดคำถามว่าแล้วมันจะเป็นไร แน่นอนอยู่แล้วว่าคนเราจะต้องมีรสนิยม หรือเทสต์ที่ต่างกันไป แล้วมันจะเกี่ยวอะไรกับม็อบท่อก๊าซที่โดนตีโดยกระบองแตกกระจาย หรือม็อบเขื่อนปากมูลที่แตกกระจายด้วยการขีดเส้นแบ่งคนที่เดือดร้อน (คือชาวบ้าน) กับคนที่ไม่เกี่ยวข้องในสายตาของนายกฯ (คือเอ็นจีโอ)

คำตอบคือนายกฯ และพลพรรคมีคำตอบเรียบร้อยอยู่แล้ว ไม่ใช่ว่าต้องรอข้อมูลใหม่ในเดือนมกราคมจากคณะทำงาน ชุดใหม่ หากจะถามว่าคำตอบคืออะไร ก็ลองย้อนไปดูแนวคิดที่ท่านนายกฯ มองปัญหาม็อบทั้ง 2 กรณีแล้วเราจะพบว่าไม่ต่างกัน นั่นคือ มีคนเดือดร้อน แต่ก็มีคนผสมโรงให้วุ่นวาย เห็นใจคนเดือดร้อน แต่ ต้องคำนึงถึงอีกหกสิบล้านคน ตนเองฟังเหตุผลแต่หากมากดดันกัน ตนเองจะไม่สนใจไม่พูดด้วย ต้องการคุยกับคนที่เดือดร้อน ไม่คุยกับนายหน้า ฯลฯ

กระทั่งพลเอกสุจินดา คราประยูร อดีตนายกฯ ก็ยังออกมาเชียร์ และไม่ใช่ครั้งแรกที่คุณสุจินดาออกมาเชียร์เรื่องการสลายม็อบ ในสมัยคุณชวน หลีกภัย อดีตนายกฯ ที่มีการสลายม็อบ ด้วยวิธีการรุนแรง คุณสุจินดาก็ออกมาสนับสนุนเช่นกัน คงไม่น่าแปลกใจที่ท่าทีเป็นเช่นนั้น เพราะคุณสุจินดาถูกต่อต้านเรื่องการสลายม็อบด้วยวิธีการที่รุนแรง และแรงกว่ามาก ดังนั้นหากคุณชวนและคุณทักษิณทำถูก คุณสุจินดาก็ทำถูกด้วยเช่นกัน

ผมคิดว่าทัศนคติของท่านนายกฯ บอกเราเป็นนัยอยู่แล้วว่าท่านจะตัดสินใจอย่างไร ท่าทีของท่านในการต้อนรับชาวบ้านปากมูลทำให้ผมอดนึกถึงคำวิจารณ์ที่มีต่อฌอน เพนน์ ไม่ได้

นักวิจารณ์ค่อนขอด ฌอน เพนน์ ว่าทำไมนักแสดงที่มีฝีมืออย่างฌอน เพนน์ จึงทำสิ่งที่น่าอับอายในการรับบทนี้เหมือนตั้งใจเล่นบทที่น่าเห็นใจเพื่อจะเอารางวัลออสการ์ บางคนถึงกับประชดว่าสิ่งที่ฌอน เพนน์ ทำในการแสดงบทนี้ คือ การนำการแสดงของดัสติน ฮอฟแมน ใน Rain Man ผสมเข้ากับการแสดงของเอ็ดวาร์ด นอร์ตัน ใน The Score ผลที่ได้คือ แซม (และนี่เป็นการตอบคำถามที่ผมรู้สึกในการชมครั้งแรกว่าเคยเห็นแบบนี้ที่ไหน)

นี่คือสิ่งที่ผมรู้สึกกับท่าทีของท่านนายกฯ เช่นกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us