Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2546
ดนตรี Afro-Cuban (ตอนที่ 2)             
โดย อเนกระรัว
 

   
related stories

ดนตรี Afro-Cuban (ตอนที่ 1)
ดนตรี Afro-Cuban (ตอนจบ)

   
search resources

Musics




ขอเล่าต่อ...ช่วงต้น ค.ศ.1800 ดนตรีในประเทศคิวบาแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มอย่างชัดเจนคือ ดนตรีในเขตเมืองใหญ่ซึ่งมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่เมืองฮาวาน่า (Havana) เมืองหลวงของคิวบา (เมืองหลวง ของคิวบาหลังการยึดครองของสเปน คือ เมือง Santiago de Cuba ก่อตั้งในปี ค.ศ.1513 ต่อมาย้ายมาที่เมือง Havana ในปี ค.ศ.1607)

ดนตรีของชาวเมืองใหญ่จะได้รับอิทธิพลจาก ดนตรีคลาสสิก "ผิวขาว" จากยุโรป ซึ่งโดยมากจะเป็นดนตรีเพื่อการเต้นรำ เช่น Waltz, Minuet, Gavotte, Mazurka เป็นต้น ส่วนอีกกลุ่มคือดนตรีของชาวชนบทซึ่งได้รับอิทธิพลจากดนตรีศาสนกิจของชนผิวดำที่เรียกว่า Santeria ซึ่งเจริญรุ่งเรืองในภาคตะวันออกของประเทศที่เรียกว่าเขต Oriente

ที่น่าสนใจคือในช่วงเวลาดังกล่าว (ปลายศตวรรษที่ 18 ถึงต้นศตวรรษที่ 19) ขณะที่วัฒนธรรม ดนตรีเมือง และดนตรีชนบท ดำเนินไปในลักษณะสองกลุ่มข้างต้น ก็มีกระบวนการหลอมรวมทางวัฒนธรรมดนตรีกลายมาเป็นแนวดนตรีที่เรียกว่า Contradanza ซึ่งค่อยๆ ได้รับความนิยมไปทั่วประเทศ

Contradanza เป็นดนตรีสำหรับเต้นรำในร้านเหล้าในคิวบา มีที่มาค่อนข้างพิสดารคือ ถ้าดูจาก ชื่อซึ่งเป็นภาษาสเปน แปลว่าดนตรีแนวเต้นรำ เหมือน กับว่ามีต้นกำเนิดจากสเปน แต่ความจริงกลับกลายเป็นว่ามีรากเหง้ามาจากดนตรีเต้นรำพื้นเมืองของประเทศอังกฤษ ซึ่งไปได้รับความนิยมมากในราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่ประเทศฝรั่งเศส มีชื่อเรียกขานกันว่า Contredanse ต่อมาฝรั่งเศสบุกเข้าเทกโอเวอร์ประเทศไฮติ (เดิมคือเกาะ ชื่อ Hispanola ในสมัยโคลัมบัส อยู่ติดกับคิวบา)

ตอนที่ยึดครองไฮติ เป็นไปตามประเพณี นักล่าอาณานิคมชาวฝรั่งเศสก็นำทาสแอฟริกันไปเป็นแรงงานจำนวนมาก พอเกิดการกบฏเชิงปฏิวัติที่ไฮติ ทาสชาวแอฟริกัน (ที่หัวแข็งแต่ครีเอทีฟ) ก็หนีเข้าสู่คิวบาด้านตะวันออกเขต Oriente ซึ่งชาวแอฟริกันเหล่านี้ก็นำ Contredanse ติดตัวมาด้วย ไม่พอ ยังนำมาประยุกต์กับจังหวะจะโคนของกลองแอฟริกันกลายมาเป็นดนตรีแนวใหม่ก็คือ Con- tradanza ซึ่งต่อมาก็กลับเข้าไปยึดครองวัฒนธรรมดนตรีในร้านเหล้า (ซึ่งเดิมเป็นดนตรีเต้นรำแบบผิวขาว) ไปทั่วประเทศคิวบา งานนี้ขอยกเครดิตให้กับทาสชาวแอฟริกันไฮติซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติการหลอมรวมทางวัฒนธรรมดนตรีครั้งนี้

การเดินทางของ Contradanza ยังไม่จบแค่นี้ ในราวทศวรรษที่ 1930 ที่กรุง Havana มีการสานต่อแนวดนตรี Contradanza พัฒนาเป็นจังหวะใหม่ชื่อเรียกว่า Habanera ซึ่งมาจากคำเต็มว่า Contradanza Habanera

คำว่า Habanera นั้นแปลว่า "ในแบบชาวฮาวานน่า" สรุปง่ายๆ คือมีการพัฒนาจังหวะเพลงเต้นรำแบบ Contradanza ในกรุงฮาวาน่าแล้วก็เรียก กันติดปากว่า Habanera จุดเด่นของ Habanera คือจังหวะซึ่งเขียนเป็นภาษาเพลงดังในภาพ

ในราวทศวรรษที่ 1860 นักแต่งเพลงชาวคิวบา นาม Sebastian Yradier ได้แต่งเพลงก้องโลก ในจังหวะ Habanera นั่นคือเพลง La Paloma ซึ่ง เพลงนี้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วไม่เฉพาะในประเทศคิวบา แต่ยังเลยไปยังประเทศเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกาด้วยเพลง La Paloma กลายเป็นเพลง อมตะนิรันดร์กาลของแท้ แม้จนถึงปัจจุบันก็ยังได้ยิน ได้ฟังเพลงนี้อยู่ กระทั่งในคาราโอเกะข้างบ้าน ถ้าได้ยิน ท่านทั้งหลายต้องร้องอ๋อ (ตัวอย่างทำนองเพลงในภาพ)

เท่านั้นยังไม่พอ คีตกวีชื่อก้องโลกชาวฝรั่งเศส George Bizet ยังได้นำจังหวะ Habanera มาแต่ง เพลงร้อง Habanera Aria ในอุปรากร Carmen เพลงนี้ก็เป็นเพลงอมตะอีกเพลงที่ได้สืบทอดดนตรี Contradanza นอกจากนั้นจังหวะ Habanera ยังถูกนำไปใช้ในผลงานเพลงคลาสสิกในยุคต่อมาเช่น เพลง Iberia (ค.ศ.1905-8) จากชุด Images (ท่อน The Perfumes of the Night) ของคีตกวี Claude Debussy หรือเพลง Rhapsodie Espagnole (ค.ศ.1907-8) ท่อน Habanera ของคีตกวี Maurice Ravel (ทั้งคู่เป็นชาวฝรั่งเศส)

นอกจากนั้นจังหวะ Habanera ยังถือเป็นจังหวะแม่แบบที่ทรงอิทธิพลต่อการพัฒนาดนตรีเต้นรำจังหวะ Tango ซึ่งถือเป็นจังหวะประจำชาติประเทศอาร์เจนตินา และ Habanera ยังเป็นต้นกำเนิดดนตรีสำหรับเต้นรำของชาวเม็กซิกันด้วย ใน ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20

ยังมีของแถม ถ้าใครเคยชมภาพยนตร์ไทยคลาสสิก เรื่อง โรงแรมนรก ของผู้กำกับ รัตน์ เปสตันยี สร้างในปี พ.ศ.2500 นำแสดงโดย ชนะ ศรีอุบล กับศรินทิพย์ ศิริวรรณ จะมีฉากตลกอยู่ฉากหนึ่งมีเพลงร้องว่า "ขี้ตู่กลางนาขี้ตาตุ๊กแก.....ฯลฯ" ตรงนี้ใช้ทำนองเพลง Habanera Aria ของ Bizet ด้วย ที่กล่าวมาเป็นตัวอย่างหนึ่งของดนตรี Habanera ซึ่งมีอิทธิพลต่อดนตรีของโลก

เตลิดไปไกล กลับมาที่คิวบาอีกครั้ง มิใช่มี แต่เพียงพัฒนาการของดนตรี Contradanza ที่ก้าวไกลไปยาว ดนตรีในแนวอื่นๆ ก็มีพัฒนาการเช่นกัน ที่สำคัญได้แก่ ดนตรีชนบทที่ใช้ประกอบพิธี ทางศาสนา Santeria ถูกนำมาประยุกต์ให้เป็นดนตรี เพื่อความบันเทิงตามร้านเหล้าแถบชนบทกลายเป็นจังหวะใหม่ที่เรียกว่า Rumba อาศัยจังหวะจะโคนของกลองแอฟริกันร่วมกับวิธีการร้องและเต้นในลักษณะ Call and Response ซึ่งเป็นการร้องโต้ตอบระหว่างนักร้องเดี่ยวกับกลุ่มลูกคู่ โดยมีกลอง เครื่องเคาะจังหวะประกอบการเต้นรำ

เนื้อหาจะออกไปทางเรื่องชาวบ้าน รักๆ ใคร่ๆ เป็นดนตรีเพื่อการบันเทิงโดยตรง ดนตรีแนวนี้กำเนิดราวปลายศตวรรษที่ 18 ถึงต้นศตวรรษที่ 19 เข้ามาฮิตอยู่พักหนึ่งในกรุงฮาวาน่า ราวปลายศตวรรษที่ 19 แล้วจางหายไป แต่ Rumba กลับมา ยิ่งใหญ่อีกครั้ง ด้วยการพัฒนาให้เป็นจังหวะที่เร็วและเร่าร้อนทั้งจังหวะกลองและท่าเต้น ใช้กลอง Conga เป็นเครื่องดนตรีหลัก

ในราวทศวรรษที่ 1930 ดนตรี Rumba หรืออีกชื่อว่า Conga Dance ดังข้ามน้ำจากคิวบา สู่สหรัฐอเมริกาและยุโรป ตามด้วยส่วนอื่นๆ ของโลกและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจนถึงต้นทศวรรษ ที่ 1960

เล่าเพลินจน Space หมดต้องใช้ Time ช่วย ....ผมเลยผิดสัญญาที่จะให้มีการลงไม้ลงมือเล็กๆ คราวหน้า แน่นอนผมจะเล่าต่อเรื่องของตำนานดนตรี แอฟโฟรคิวบัน แถมด้วยแบบฝึดหัดเคาะจังหวะ พบกันคราวหน้า..สวัสดีครับ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us