|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เอเชีย พลัส จำกัด (มหาชน) หรือ ASP ในฐานะประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวถึงแถลงการของบริษัทเทมาเส็ก โฮลดิ้ง เกี่ยวกับการลดสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้กับนักลงทุนสถาบันและรายย่อยว่า เชื่อว่านักลงทุนรายใหญ่หลายรายสนใจที่จะเข้ามาลงทุนซื้อหุ้นบมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น แต่คงต้องรอความชัดเจนในเรื่องการกำหนดราคาขายของเทมาเส็กก่อนว่าจะขายในราคาเท่าใด และในสัดส่วนเท่าไหร่
ทั้งนี้ เชื่อว่าเทมาเส็กคงจะไม่มีการกำหนดราคาโดยให้ส่วนลดมากนักเนื่องจาจะทำให้กระทบต่อเงินที่ลงทุน เนื่องจากราคาที่เทมาเส็กซึ่งหุ้นต่อจากตระกูลชินวัตรที่ราคาหุ้นละ 49.25 บาท เมื่อเทียบกับราคาหุ้นในปัจจุบันก็ถือว่าได้รับผลขายทุนค่อนข้างมากแล้วประมาณ 2.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งหากการกำหนดราคาขายยังกำหนดราคาต่ำกว่าราคาตลาดจะทำให้ยิ่งได้รับผลกระทบมากขึ้น
สำหรับการกำหนดราคาซื้อขายหุ้นในกลุ่มชินคอร์ปที่ผ่านมามักจะมีการให้ส่วนลดราคาประมาณ 20% จากราคาในกระดาน ซึ่งการกำหนดราคาบมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น จะต้องมีการพิจารณาถึงราคาหุ้นในกลุ่มที่ SHIN ถืออยู่ด้วยอีก 4 บริษัทซึ่งประกอบด้วย บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน)หรือ ADVANC,บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด(มหาชน)หรือ SATTEL, บริษัท ไอทีวี จำกัด(มหาชน)หรือ ITV และบริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด(มหาชน)หรือ CSL ซึ่งหากราคาที่จะเสนอขายเป็นราคาที่อ้างอิงจากราคาตลาดเชื่อว่าจะมีกลุ่มผู้ที่สนใจเข้ามาลงทุน แต่ทั้งคงต้องอยู่ที่วัตถุประสงค์และเงินของลงทุนของผู้ที่สนใจด้วย เนื่องจากการถือหุ้นของเทมาเส็กยังคงสัดส่วนการถือหุ้นใหญ่ของบริษัทในสัดส่วน 49%
"การลดสัดส่วนการถือหุ้นไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติสำหรับบริษัทจดทะเบียน เพราะเคยเกิดขึ้นมาแล้วในบริษัทขนาดเล็ก ๆ ที่มีผู้ถือหุ้นคนไทยเป็นส่วนใหญ่ แต่กรณีนี้ที่ดังขึ้นมาเพราะเป็นบริษัทขนาดใหญ่" นายก้องเกียรติกล่าว
นอกจากนี้ การติดต่อหานักลงทุนที่สนใจจเข้ามาร่วมลงทุนหากเทมาเส็กสามารถติดต่อที่จะขายหุ้นได้ตามสัดส่วสนที่ต้องการเป็นครั้งเดียวน่าจะส่งผลดีต่อราคาหุ้นในตลาดมากกว่าการซื้อขายหลายครั้ง เพราะอาจจะทำให้เกิดความลังเลในการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนได้
อย่างไรก็ตาม การประเมินราคาที่จะเสนอซื้อขายรวมถึงการประเมินทรัพย์สินน่าจะมีการใช้บริษัทที่เข้ามาเป็นที่ปรึกษาทางการเงินหลายบริษัท เนื่องจากมูลค่าการซื้อขายในครั้งนี้มีมูลค่ารวมกว่าหลายหมื่นล้านบาท
นายก้องเกียรติ กล่าวถึงกฎเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต.เกี่ยวกับการต้องยื่นเพื่อซื้อหุ้นทั้งหมด (เทนเดอร์ ออฟเฟอร์) หากมีการซื้อขายหุ้นเกิน 25% ว่าเรื่องดังกล่าวยังมีช่องว่างที่อาจจะก่อให้เกิดปัญหาตามมาเหมือนกรณีเทมาเส็ก โฮลดิ้ง เข้ามาหุ้นบมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น เนื่องจากการเข้ามาซื้อหุ้นของเทมาเสกคงไม่ได้ต้องการเข้ามาถือหุ้นถึง 90% กว่า แต่สัดส่วนดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะกฎเกณฑ์ของสำนักงานก.ล.ต.ที่ต้องมีการตั้งโต๊ะรับซื้อหุ้นทั้งหมดจากนักลงทุน ซึ่งเมื่อราคาหุ้นที่รับซื้อมีความน่าสนใจนักลงทุนก็พร้อมจะขายทันที
ทั้งนี้ เชื่อว่าการเข้ามาลงทุนของเทมาเส็กในประเทศไทยตามแถลงการณ์ ระบุชัดเจนว่าธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมถือเป็นบริการขั้นพื้นฐานที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อประเทศในอนาคต และบริษัทในเครือของชินคอร์ปก็เป็นผู้นำตลาดด้านนี้และมีผลประกอบการที่ดีมาโดยตลอด
"มันถือว่าเป็นช่องว่างทางหนึ่งของเกณฑ์ ก.ล.ต. เนื่องจากต้องให้มีการทำเทนเดอร์ ออฟเฟอร์หากมีการซื้อขายเกินหุ้น 25% ทำให้สัดส่วนการถือครองหุ้นของผู้ที่ต้องการเข้าลงทุนอาจจะเกิดกว่าสัดส่วนที่ต้องการซื้อจริงๆ"นายก้องเกียรติกล่าว
**อย่าใช้นอมินีลงทุน**
นายรพี สุจริตกุล ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า สิ่งแรกที่เทมาเส็กจะต้องเร่งดำเนินการก่อนที่จะมีการขายหุ้นบมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น คือ การสร้างความชัดเจนในเรื่องสัญญาสัมปทานเพราะปัจจุบันเรื่องดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการฟ้องร้องอยู่หลายคดี
ทั้งนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดการเข้ามาของผู้ที่จะเข้ามาซื้อหุ้นต่อในครั้งนี้จะต้องไม่เป็นตัวแทนถือหุ้น (นอมินี) ของนักลงทุนรายใด
ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวระบุว่าธนาคารไทยพาณิชย์อาจจะเป็นกลุ่มที่สนใจที่จะเข้ามาซื้อหุ้นบมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น ต่อจากเทมาเส็ก เรื่องดังกล่าวหากจะเกิดขึ้นจริงจะต้องให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์การถือหุ้นในบริษัทที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักของธนาคารแห่งประเทศไทย
**หากSCBซื้อต้องขออนุญาตธปท.**
นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และรักษาการแทนผู้ว่าการธปท. กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่าธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) อาจจะเข้ามาซื้อหุ้น SHIN ต่อจากเทมาเส็กว่า กรณีดังกล่าว ธปท.คงไม่ต้องเข้าไปทำอะไรเป็นพิเศษ เพราะเชื่อว่าเป็นหน้าที่ของตลาดหลักทรัพย์ที่จะดูแลอยู่แล้ว แต่ในส่วนของธปท.จะดูแลในเรื่องสัดส่วนการถือหุ้น ซึ่งจะต้องมีขอบเขตตามที่ธปท.กำหนดไว้
ทั้งนี้ หากธนาคารไทยพาณิชย์ ถือหุ้นเกินกว่าเกณฑ์ที่ธปท.กำหนดไว้ก็จะต้องมาขออนุญาตธปท.อยู่แล้ว แต่ขณะนี้ธนาคารไทยพาณิชย์ยังไม่ได้ยื่นเรื่องขออนุญาตเข้ามาแต่อย่างใด ซึ่งหากมีการขออนุญาตเข้ามาธปท.ก็จะพิจารณาไปตามความจำเป็นและความเหมาะสม
นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กล่าวว่า กบข.ไม่ปิดกั้นการเข้าลงทุนในหุ้นบมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น เพราะนโยบายการลงทุนของ กบข.ยังคงเน้นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนและคุ้มค่ากับการลงทุนมากที่สุด
ทั้งนี้ ปัจจุบันสัดส่วนการถือหุ้นของกบข.ในบมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น อยู่ที่ 0.93%
**เทมาเสกลดสัดส่วนจริง**
นายเอนก พนาอภิชน ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานการเงินและบัญชี บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SHIN แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ว่า ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ถึงแถลงการณ์ของเทมาเส็ก โฮลดิ้ง หนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทฯ เกี่ยวกับการจะลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทฯในระยะเวลาและรูปแบบที่เหมาะสมนั้น
ทั้งนี้ บริษัทไม่ได้รับแจ้งข้อมูลดังกล่าวจากผู้ถือหุ้นใหญ่ อย่างไรก็ตามบริษัทฯได้สอบถามไปยังผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายหนึ่งแล้ว ได้รับการยืนยันว่าได้ออกแถลงการณ์ดังกล่าวจริง
**พาณิชย์ยันเอาผิดกุหลาบแก้วต่อ**
นายการุณ กิตติสถาพร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงกรณีที่กองทุนเทมาเสกจากสิงคโปร์ ออกแถลงการณ์ยินดีลดสัดส่วนการถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือชินคอร์ป ว่า กรณีนี้จะไม่มีความเกี่ยวข้องกับผลการตรวจสอบการถือหุ้นแทนคนต่างด้าว (นอมินี) ของบริษัท กุหลาบแก้ว จำกัด ซึ่งทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้สรุปว่าเข้าข่ายความเป็นนอมินี และได้ส่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ทุ่งมหาเมฆ ดำเนินการต่อไปก่อนหน้านี้แล้ว
"สิ่งที่ทางกระทรวงพาณิชย์ตรวจสอบ ก็ได้ส่งต่อให้ตำรวจไปแล้ว แก้ไขในอดีตไม่ได้ แต่ส่วนการปรับกฎหมาย พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ต้องมาทบทวนว่าหลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสอบให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น" นายการุณกล่าว
|
|
|
|
|