|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
แม้จะประสบความสำเร็จในการดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมเยือน สร้างความประทับใจให้คนทั่วโลก จนได้รับรางวัลจากนิตยสารท่องเที่ยวชื่อดังจากสหรัฐอเมริกา Travel+Leisure ยกให้เป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับ 1 ของเอเชีย ในความเห็นของผู้อ่าน คว้ารางวัล Asia's Best City เป็นปีที่ 5 แถมพ่วงด้วยตำแหน่งเมืองท่องเที่ยวอันดับ 3 ของโลก แต่กรุงเทพมหานคร ในความคิดของอดีตนักการตลาดมือดี อภิรักษ์ โกษะโยธิน ก็ไม่ต่างอะไรจากสินค้าแบรนด์หนึ่งที่อยู่ท่ามกลางสงครามการตลาดของสินค้าประเภทเดียวกัน ยังต้องมีการปรับกลยุทธรับการแข่งขันอยู่ตลอดเวลา
การแข่งขันของเมือง เพื่อสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวในวันนี้ ลำพังการชูจุดขายเป็นจุด ๆ มีสถานท่องเที่ยวน่าสนใจ มีค่าครองชีพต่ำ หรือมีโปรโมชั่น ของกรุงเทพฯ คงไม่ใช่อาวุธที่มีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการแข่งขันอีกต่อไป ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีประสบการณ์ในการสร้างแบรนด์สินค้าเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่มาโดยตลอด ตั้งแต่ ขนมขบเคี้ยว ธุรกิจบันเทิง จนถึงธุรกิจสื่อสารโทรศัพท์มือถือ มองว่า ต้องนำจุดขายทั้งหมดบูรณาการ สอดประสานความโดดเด่นของเมืองในด้านต่าง ๆ สู่การสร้างแบรนด์ กรุงเทพฯ ที่แข็งแกร่ง คอนเซปต์ กรุงเทพฯ ...ชีวิตดี ๆ ที่ลงตัว จึงเกิดขึ้น
หลายเมืองใหญ่ของโลกมีการนำแนวคิดการรีแบรนด์ พร้อมปรับภาพลักษณ์ของเมืองที่อยู่มาหลายทศวรรษจนถึงกว่าศตวรรษ ให้มีความทันต่อสมัย สร้างลุกส์ใหม่ให้กับเมืองได้ หากแต่ความสำเร็จที่จะเรียกนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้เข้าไปสัมผัสมากน้อยต่างกันไป อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ยกตัวอย่างความสำเร็จของเมืองที่เป็นต้นแบบ ให้คณะทำงานของตนออกไปศึกษา อาทิ คอนเซปต์ Hi Seoul ของกรุงโซล เกาหลีใต้ Everyone's London ของกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ Barcelona Batega ของเมืองบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน และ Uniquely Singapore ของสิงคโปร์ ล้วนแต่เป็นแบรนด์ที่มีความแข็งแกร่งในการบูรณาการจุดขาย
สำหรับแบรนด์กรุงเทพฯ แม้จะเริ่มเผยโฉมให้เห็นด้วยการประชาสัมพันธ์โลโก้ดอกไม้ 4 กลีบ พร้อมสโลแกน กรุงเทพฯ ...ชีวิตดี ๆ ที่ลงตัว ผ่านสื่อกลางแจ้ง มาราว 2 เดือน แต่รายละเอียดของแคมเปญจะทยอยออกมาในปี หน้าให้เห็นใน 4 มิติ คือ ด้านคุณภาพชีวิต ที่จะทำให้คนกรุงเทพฯ มีความสุขแบบพอเพียง มีความมั่นคงในชีวิต สามารถกำหนดวิถีชุมชนของตนเอง ด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่สวยงาม สะอาด เขียวชอุ่ม ร่มรื่น ลดมลภาวะทางน้ำ อากาศ เสียง และขยะ ด้านวัฒนธรรม ชูความเป็นเมืองหลวงแห่งวัฒนธรรมอันล้ำค่า นครแห่งประวัติศาสตร์ ศูนย์กลางแห่งการท่องเที่ยว และด้านเศรษฐกิจ สร้างกรุงเทพฯให้เป็นเมืองหลวงแห่งเศรษฐกิจสมดุลภายใต้พื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงสร้าง Bangkok Brand เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าชุมชน หรือผู้ประกอบการรายย่อย สนับสนุนเศรษฐกิจชุมชนชานเมือง พัฒนายกระดับฝีมือแรงงาน และอำนวยบริการขั้นพื้นฐานแก่นักลงทุนและนักธุรกิจต่างประเทศ
โดย Bangkok Brand ที่จะเผยโฉมในปี 2550 จะประกอบด้วย จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการ Bangkok Selection เพื่อสร้าง Bangkok Brand ให้เป็นมูลค่าเพิ่มกับสินค้าคุณภาพที่ผลิตในกรุงเทพฯ ตลอดจนร้านอาหารที่เลือกสรร การันตีคุณภาพด้วยป้าย Bangkok Taste และรถ Bangkok Taxi ที่จะมีการอบรมพนักงานขับรถให้มีทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี แต่งตัวดี สุขภาพดี สร้างความประทับใจไม่แพ้ London Taxi
หลังจากใช้เวลาตั้งรับกับปัญหาของกรุงเทพมหานครมาร่วม 2 ปี ขึ้นปีที่ 3 คนกรุงเทพฯ ก็จะได้เห็นผลงานเข็น แบรนด์กรุงเทพฯ รุกก้าวเข้าแข่งขันกับแบรนด์ทั่วโลก ของ อภิรักษ์ โกษะโยธิน อย่างเต็มตา ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครยืนยันว่า ไม่ใช่แผนงานที่ล่องลอยแน่นอน
|
|
|
|
|