Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์16 ตุลาคม 2549
บลจ.เครือแบงก์ปรับกระบวนยุทธ์ชิงสูบเม็ดเงินกลางสมรภูมิเดือด             
 


   
search resources

Funds
ฉัตรพี ตันติเฉลิม




กองทุนรวมปรับโหมดรับยุคการแข่งขันสูง หวังเพิ่มผลตอบแทนพร้อมสินทรัพย์ในการบริหาร คู่การลดความเสี่ยง สร้างความพอใจให้ลูกค้า ทั้งไมเนอร์-เมเจอร์เชนจ์ ... "2 บลจ."ส่งสัญญาณนำ ปรับกลยุทธ์การลงทุน บลจ.อยุธยา นโยบายทั้งตราสารทุน-ตราสารหนี้ ผลตอบแทนเต็ง 1 ด้าน บลจ.ไทยพาณิชย์ ดัน 17 กองทุนหุ้น ใช้ฟิวเจอร์ส ลดความเสี่ยง

ท่ามกลางการแข่งขันของธุรกิจ นวัตกรรม และ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลง นับได้ว่าเป็นปัจจัยหลักในการสร้างความแตกต่างรวมทั้งความก้าวหน้าให้เหนือไปจากคู่แข่ง เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความพอใจสูงสุดของลูกค้า

ปฐมเหตุของการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงนี้มีที่มาจาก 2 ประการด้วยกันคือ ปรับเพื่อรองรับความต้องการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และ ปรับเนื่องจากถูกสภาพปัจจุบันบังคับ แต่ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงจะมีมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และกาลเวลาที่เปลี่ยนไป

ในส่วนธุรกิจกองทุนรวม ปัจจุบันก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกันเพื่อให้สามารถแข่งขันอยู่ได้ภายใต้โลกยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ซึ่งเงินไม่มีเขตแดนขวางกัน สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างเสรีตามข้อเสนอที่ว่าด้วยความมั่นคงและผลตอบแทนที่สูงกว่าจากการแข่งขันของ บลจ.ซึ่งมีอยู่ 24 แห่ง รวมถึงเพื่อเป็นรับมือกับการที่จะมีบริษัทจัดการกองทุนรวม(บลจ.)ใหม่ที่ได้ขออนุญาต สำนักงานกำกับหลังทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(กลต.)เรียบร้อยแล้ว และเตรียมเข้ามาแข่งขันอีกในเร็วๆนี้อีกหลายแห่งไม่ว่าจะเป็น บลจ.ซิกโก้, บลจ.แมนูไลฟ์, บลจ.ฟิลลิป เป็นต้น

ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาและเพิ่มสินทรัพย์ภายใต้การจัดการจากลูกค้าให้มีมูลค่ามากขึ้น อันจะนำมาซึ่งรายได้และผลกำไรในท้ายที่สุด ซึ่งขณะนี้หลาย บลจ.ได้เริ่มมีสัญญาณดังกล่าวให้เห็นบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็น บลจ.อยุธยาที่มีได้การจัดทีมและปรับนโยบายการลงทุนใหม่ รวมถึง บลจ.ไทยพาณิชย์ที่มีการประกาศความพร้อมการลงทุนในตลาดอนุพันธ์(TFEX)แล้ว

หลังจากที่ เจเอฟ แอสเซทแมนเนจเมนท์ ในเครือ เจพี มอร์แกน ได้ลดสัดส่วนการถือหุ้นใน บลจ.เอเจเอฟ(AJF) และ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ได้เข้ามาถือหุ้น 77% ทำให้มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารลดลงจากกว่า 4.5 หมื่นล้าน เหลือราว 3.1หมื่นล้านบาท ในช่วงที่ผ่านมา บลจ.จึงได้มีการจัดทีมบริหารกองทุนและปรับเปลี่ยนนโยบายการลงทุนใหม่ พร้อมกับได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น บลจ.อยุธยา(AYF)

ฉัตรพี ตันติเฉลิม ประธานกรรมการบริหาร บลจ.อยุธยากล่าวว่า การปรับเปลี่ยนนโยบายการลงทุน พัฒนาโครงสร้าง และ ระบบการบริหารจัดการกองทุนใหม่นี้มีจุดประสงค์ในการสร้างความเชื่อมั่น โดยได้มีการตั้งคณะกรรมการการลงทุนเพิ่มอีก 2 คณะประกอบด้วย Asset Allocation Committee (AAC) และ Credit Committee เพื่อเน้นการลงทุนแบบระมัดระวังและบริหารกองทุนเพื่อให้มีผลตอบแทนสอดคล้องกับความต้องการของนักลงทุน

ในส่วนของ กองทุนตราสารทุนก็ได้มีการคัดเลือกหุ้นรายตัวก่อนที่จะลงทุนโดยจะเน้นหุ้นประเภทที่ พื้นฐานดี ความเสี่ยงต่ำ มีอัตราการเจริญเติบโตสูง เห็นได้จากการติดอันดับ 1 ของกองทุนอยุธยาทุนทวี 5 ซึ่งเป็นกองทุนแบบผสม ที่ให้ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปี 8.36% ขณะที่เกณฑ์มาตรฐานตลาดหลักทรัพย์อยู่ที่ 0.17% รวมทั้งกองทุนหุ้นระยะยาวอยุธยาปันผล 8.725% เทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ -3.87% และ กองทุนเปิดอยุธยาทวีทรัพย์เพื่อการเลี้ยงชีพที่ทำได้ 6.64% ขณะที่เกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ 0.17%

ขณะที่กองทุนตราสารหนี้ก็ได้มีการปรับพอร์ตใหม่เช่นกัน โดยเพิ่มสัดส่วนลงทุนในพันธบัตรและตั๋วเงินคลังสูงขึ้น จากเดิม ที่พอร์ตจะมีหุ้นกู้เอกชนมากและเป็นหุ้นกู้ที่ขาดสภาพคล่องในการซื้อขาย โดย บลจ.ได้นำหุ้นกู้ไปรีไฟแนนซ์กับธนาคาร เนื่องจากฐานะบริษัทดี มีสินทรัพย์มากกว่ามูลค่าหุ้นกู้ เพียงแต่ขาดสภาพคล่องเท่านั้น ซึ่งหุ้นกู้ที่นำไปรีไฟแนนซ์มี 4 รายในกลุ่มสื่อสาร โรงพยาบาลและกลุ่มบริการ ซึ่งยังเหลือหุ้นกู้ที่ขาดสภาพคล่องในลักษณะนี้เพียง 1-2 รายเท่านั้น นอกจากนี้ บริษัทยังบริหารพอร์ตมากขึ้นกว่าที่ผ่านมาอีกด้วย เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อปรับอายุกองทุนให้เหมาะสม ทำให้ผลตอบแทนกองทุนตราสารหนี้จึงดีขึ้น เช่น กองทุนอยุธยาตราสารอุดมทรัพย์ 2 ให้ผลตอบแทน 12.72% ตั้งแต่ต้นปี

ทั้งหมดของการเปลี่ยนแปลงนี้ก็เพื่อให้ บลจ.อยุธยา มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารเพิ่มขึ้นให้ติดอันดับมากสุดของธุรกิจ บลจ. 1 ใน 3 อีกครั้งหนึ่งภายใน 3 ปี ตามเป้าหมายที่วางไว้

ด้าน บลจ.ไทยพาณิชย์ ซึ่งเพิ่งได้รับการอนุญาตจาก กลต. พร้อมกับ บลจ.อื่นๆอีก 8 แห่งในการลงทุนในตลาดอนุพันธ์(TFEX) แต่ก็ได้ฉวยโอกาสเป็นรายแรกที่การประกาศความพร้อมนำกองทุนกองทุนหุ้นที่มีอยู่ 17 กองมูลค่าประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาทมาลงทุนในตราสารอนุพันธ์

ชูเกียรติ ธิติหิรัญเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บลจ.ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการลงทุนในตราสารอนุพันธ์มีอยู่หลายอย่างด้วยกัน ทั้งลดความเสี่ยงจากการลงทุน ,ผลตอบแทนจากการลงทุน ลดต้นทุนในการลงทุนเพราะการลงทุนในตราสารอนุพันธ์จะมีค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่าการซื้อขายหุ้น ,พัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินแบบใหม่ ซึ่งทำให้ผู้ลงทุนมีทางเลือกในการลงทุนมากขึ้น และสุดท้ายคือ การขยายขนาดการลงทุนเนื่องจากการลงทุนในตลาดอนุพันธ์จะใช้เงินลงทุนขั้นต้นเพียง 10% เท่านั้น อย่างไรก็ตามการลงทุนในตราสารอนุพันธ์เพื่อขยายขนาดการลงทุนนั้น ในช่วงแรกบริษัทจะยังไม่ใช้การลงทุนเพื่อวิธีนี้ เพราะทาง ก.ล.ต.เองก็ค่อนข้างกังวลเนื่องจากการลงทุนเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวมีความเสี่ยงในระดับที่ค่อนข้างสูง

กลยุทธ์หลักสำหรับการลงทุนในตราสารอนุพันธ์นั้น บริษัทจะนำมาใช้เพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุนทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งจะทำให้ผลตอบแทนของกองทุนมีความผันผวนน้อยกว่าภาวะตลาด และทำให้กองทุนไม่จำเป็นต้องขายหลักทรัพย์ออกไปเมื่อดัชนีหุ้นปรับลดลง

ทั้งนี้ตราสารอนุพันธ์ยังช่วยในการลดความเสี่ยงจากการเบี่ยงเบนไปจากค่ามาตรฐาน ซึ่งการลงทุนลักษณะนี้มักจะใช้กับกองทุนที่อ้างอิงกับดัชนีเซ็ท 50 เพราะทำให้ผลตอบแทนไม่เบี่ยงเบนไปจากผลตอบแทนของดัชนีเซ็ท 50 มากนัก รวมทั้งการลงทุนในอนุพันธ์ยังช่วยให้กองทุนให้ผลตอบแทนที่มาจากหลักทรัพย์ โดยไม่มีผลตอบแทนของตลาดหรือลดความผันผวนของตลาดออกไป

สำหรับการบริหารความเสี่ยงในการลงทุนอนุพันธ์นั้น ก็จะมีหน่วยงานควบคุมดูแลความเสี่ยง และมีระบบงานควบคุมการลงทุนผ่านระบบก่อนการส่งคำสั่งซื้อขายและตรวจสอบหลังการซื้อขาย ซึ่งฝ่ายจัดการลงทุนมีการวางแผนการลงทุนและประเมินความเสี่ยงก่อนลงทุนจริง รวมทั้งผู้จัดการกองทุนจะติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดตราสารอนุพันธ์อย่างใกล้ชิดและปรับกลยุทธ์ลงทุนต่อเนื่องเหมาะสมกับสภาพตลาด นอกจากนี้ มีการกำหนดเพดานความเสี่ยงในการลงทุนในตราสารอนุพันธ์และเกณฑ์ในการจำกัดขอบเขตความเสียหายไว้ชัดเจนด้วย

บลจ.ผู้ที่จะแข่งขันอยู่ในวงการต่อไป จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ทั้งหมดนี้เพื่อการนำไปสู่ สินทรัพย์ภายใต้การจัดการที่มากขึ้น ความพอใจของลูกค้า การเจริญเติบโตก้าวหน้าของกองทุน และ ความได้เปรียบเหนือคู่แข่งรายอื่นๆ และคงเป็นที่แน่นอนว่า บลจ.อื่นๆก็คงจะต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามมาเช่นเดียวกัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us