Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน13 ตุลาคม 2549
กสิกรฯคาดการลงทุนปีหน้าฟื้นหนุนใช้ศก.พอเพียงพัฒนายั่งยืน             
 


   
www resources

โฮมเพจ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

   
search resources

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก.
Investment




ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดทิศทางการลงทุนไตรมาส 4 ยังชะลอต่อเนื่อง เหตุต่างชาติยังรอดูนโยบายรัฐบาลใหม่ และจะกระเตื้องขึ้นในปี 50 หลังเบิกจ่ายงบประมาณได้ แต่ยังคงต้องจับตาการลงทุนต่างชาติจนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ พร้อมหนุนใช้นโยบายเศรษฐกิจพอเพียงสร้างเสถียรภาพและการสร้างสมดุลในการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินแนวโน้มการลงทุนในช่วงที่เหลือของปีว่า น่าจะยังมีทิศทางที่ชะลอตัวต่อเนื่องจากในไตรมาสที่ 3 โดยอาจจะมีอัตราการขยายตัวประมาณ 3.8% จาก 5.2%ในครึ่งปีแรก โดยในส่วนของนักลงทุนต่างชาติอาจมีความกังวลต่อทิศทางทางการเมืองและรอดูความชัดเจนในเรื่องนโยบายรัฐบาล ทำให้การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศชะลอตัวอยู่ ขณะที่การลงทุนในภาครัฐนั้น เนื่องจากการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี 2550 คงจะเริ่มต้นได้ไม่ทันไตรมาสแรกของปีงบประมาณ จึงทำให้การลงทุนภาครัฐดำเนินการได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้ จากภาวะอุทกภัยที่รุนแรงกว่าทุกๆปี จะเป็นอุปสรรคต่อกิจกรรมด้านการก่อสร้าง แต่เมื่อระดับน้ำเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ก็คาดว่าจะมีการซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดจากอุทกภัย ทำให้การก่อสร้างฟื้นตัวได้บ้าง ดังนั้น คาดว่าการลงทุนในปี 2549 อาจขยายตัวประมาณ 4.5% ชะลอลงจากที่มีอัตราการเติบโต 11.4% ในปี 2548

สำหรับแนวโน้มการลงทุนในปี 2550 คาดว่าปัจจัยลบที่กดดันภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์มีโอกาสที่จะผ่อนคลายลง ขณะที่จุดเปลี่ยนทางการเมืองได้ทำให้ปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุนของประเทศเปลี่ยนแปลงไปทั้งในด้านบวกและด้านลบ โดยในด้านบวก การใช้จ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลประจำปีงบประมาณ 2550 คงจะเริ่มต้นเบิกจ่ายได้เร็วกว่าที่คาด ซึ่งเม็ดเงินใช้จ่ายของภาครัฐที่เข้าสู่ระบบน่าจะเป็นผลดีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโดยรวม แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลชุดใหม่อาจมีการทบทวนแผนการลงทุนของรัฐบาลชุดที่แล้วในบางส่วน และด้วยข้อจำกัดของการเป็นรัฐบาลชั่วคราว อาจทำให้ต้องชะลอการตัดสินใจลงทุนในโครงการที่ก่อภาระผูกพันต่อเนื่องไปในอีกหลายปีข้างหน้า ด้วยเหตุนี้ การลงทุนของภาครัฐภายใต้รัฐบาลชั่วคราวอาจไม่ได้เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงนัก

นอกจากนี้ ประเด็นทางการเมืองที่รัฐบาลชุดใหม่มีวาระบริหารประเทศชั่วคราวไปจนกว่าจะมีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปอีกครั้งในปลายปี 2550 อาจทำให้นักลงทุนต่างชาติบางส่วนยังคงไม่แน่ใจถึงนโยบายที่อาจเปลี่ยนแปลงเมื่อมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งเข้ามาใหม่ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้นักลงทุนต่างประเทศบางกลุ่มที่ไม่คุ้นเคยกับประเทศไทย อาจจะชะลอการตัดสินใจที่จะลงทุนในประเทศไทยไปชั่วระยะเวลาหนึ่งก่อน

ดังนั้น คาดว่าการลงทุนโดยรวมของประเทศในปี 2550 อาจขยายตัวอยู่ในช่วง 4.0-5.2% ซึ่งมีโอกาสที่จะปรับตัวดีขึ้นกว่าในปี 2549 ที่คาดว่าจะขยายตัว 4.5% โดยการลงทุนของภาคเอกชนในปี 2550 มีอัตราการขยายตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากปี 2549 สำหรับการลงทุนของภาครัฐ แม้ว่ามีแนวโน้มดีขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม แต่คงมีอัตราการขยายตัวไม่สูงนัก

อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่เป็นที่น่าจับตามองคือ การเข้ามาของรัฐบาลชุดใหม่นอกจากจะเป็นจุดเปลี่ยนทางการเมืองแล้ว ยังอาจเปลี่ยนแปลงจุดเน้นของนโยบายเศรษฐกิจและการลงทุนที่หันมาเน้นหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวคิดที่สามารถนำมาใช้เป็นหลักพื้นฐานในการบริหารเสถียรภาพและการสร้างสมดุลในการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า เศรษฐกิจที่แข็งแกร่งจากภายในที่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกได้ดี ขณะที่เศรษฐกิจที่พึ่งพาปัจจัยภายนอกสูงจะมีความเปราะบางต่อปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้น ซึ่งเห็นได้ว่าหลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล และการสร้างภูมิคุ้มกัน เป็นสิ่งที่สอดคล้องกันกับการสร้างสมดุลให้กับเศรษฐกิจมหภาคของไทยเป็นอย่างดี   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us