Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน13 ตุลาคม 2549
ธปท.จับตาNPLเพิ่ม1.2หมื่นล.จี้รัฐเร่งฟื้นฟูการออมรับลงทุน             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธาริษา วัฒนเกส
Banking and Finance




เผยหนี้เอ็นพีแอลแบงก์ขยับเพิ่ม 1.2 หมื่นล้าน อ้างเหตุแบงก์มีการจัดชั้นลูกหนี้เข้มงวดมากขึ้น แบงก์ชาติจับตายอด ไตรมาส 3 พร้อมจี้ภาครัฐเร่งฟื้นฟูการออม หลังรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมาโหมกระตุ้นการใช้จ่ายภาคครัวเรือนเพื่อดันจีดีพี จนสัดส่วนการออมลดฮวบเหลือ 3-4% จากที่อยู่ในระดับ 10% ระบุเศรษฐกิจจะขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ การลงทุนกับการออมต้องมีความสมดุล

นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เปิดเผยว่า ขณะนี้ในระบบสถาบันการเงินมียอดหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)เพิ่มขึ้น 1.2 หมื่นล้านบาท จากในช่วงเดือนสิงหาคม 2549 ที่สถาบันการเงินในระบบมียอดเอ็นพีแอลทั้งสิ้น 484,701.31 ล้านบาท คิดเป็น 8.23%ของสินเชื่อรวม โดยสาเหตุที่เอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นเกิดจากธนาคารพาณิชย์มีการจัดชั้นหนี้ตามเกณฑ์สำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเข้มงวดมากขึ้น อย่างไรก็ตามภาพรวมในช่วงไตรมาส 3 จะมีเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่ธปท.ต้องรอดูข้อมูลก่อน

สำหรับในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ที่จะมีขึ้นในวันที่ 18 ตุลาคม นี้ ธปท.เตรียมประเมินภาพรวมการส่งออกและการลงทุนใหม่ หลังจากราคาพืชผลการเกษตรและสินค้าโภคภัณฑ์ลดลง เพราะเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาชะลอตัว เป็นผลจากราคาน้ำมันแพงเป็นหลัก

อย่างไรก็ตาม หลังมีรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาบริหารประเทศ ธปท.จะมีการเร่งรัดเรื่องของกฎหมายมากขึ้น โดยเฉพาะส่วนของกฎหมายที่ยังค้างอยู่ ทั้งเรื่องสถาบันประกันเงินฝาก สถาบันการเงิน และพ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศ เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ดีในการกำกับดูแลสถาบันการเงินและดำเนินตามนโยบายในระยะต่อไป

นางธาริษากล่าวอีกว่า จากในช่วงรัฐบาลที่ผ่านมาได้มีการกระตุ้นการใช้จ่ายภาคครัวเรือนมากขึ้น เพื่อดันให้เศรษฐกิจขยายตัวอยู่ในระดับที่สูงนั้น ได้ส่งผลให้การออมลดลงอย่างมาก โดยจะเห็นได้จากสัดส่วนการออมภาคครัวเรือนในขณะนี้อยู่ที่ระดับ 3-4%ของรายได้ประชาชาติ จากปกติแล้วต้องที่ต้องอยู่ในระดับ 10% ขึ้นไป

ทั้งนี้ หากการออมของภาคครัวเรือนยังน้อยอยู่ก็จะส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังการลงทุนของประเทศด้วย เนื่องจากเงินออมในประเทศจะนำมาเป็นเม็ดเงินลงทุนต่อไปในอนาคต ขณะเดียวกันหากมีเงินออมน้อยก็อาจส่งผลให้ประเทศไทยต้องพึ่งพาแหล่งเงินกู้จากต่างประเทศมากขึ้น และจะส่งผลให้ประเทศต้องมีปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เหมือนเช่นช่วงที่เกิดวิกฤตที่ผ่านมาได้

นางธาริษา กล่าวว่า ปัจจุบันช่องว่างระหว่างการออมและการลงทุนมีมากขึ้น หากเป็นเช่นนี้ต่อไปจะทำให้การลงทุนในประเทศมีปัญหาไปด้วย เพราะเม็ดเงินจากการออมจะเป็นเม็ดเงินเพื่อการลงทุนในอนาคต ดังนั้น การเติบโตเศรษฐกิจต้องให้อยู่ในระดับพอดี ขยายตัวในอัตราที่ไม่มากจนเกินไป และควรเน้นการออมด้วย จะทำให้ประเทศไทยเติบโตได้อย่างมีเสถียรภาพต่อไป

“สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ภาครัฐควรมีการออกนโยบายหรือมาตรการต่างๆ ออกมาจูงใจให้คนออมมากขึ้น เพื่อลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป อย่างไรก็ตาม หากเศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพและเน้นการส่งออกมากขึ้น การลงทุนและการออมจะเป็นตัวที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปในอนาคตด้วย”นางธาริษากล่าว

อย่างไรก็ตาม หากทุกส่วนของภาคธุรกิจดำเนินตามนโยบายเศรษฐกิจแบบพอเพียง จะไม่ส่งผลกระทบต่อฐานะของบริษัทหรือสถาบันการเงิน ซึ่งรวมไปถึงการดำเนินงานด้วย โดยเชื่อว่าในส่วนของสถาบันการเงินก็ยังคงปล่อยสินเชื่อได้ตามปกติ โดยไม่มีผลต่อเป้าหมายสินเชื่อของแต่ละสถาบันการเงิน นอกจากนี้ยังเชื่อว่าเศรษฐกิจปีหน้าจะเติบโตได้ดี แม้ว่าจะมีการทำงบประมาณปี 2550 แบบขาดดุลก็ตาม

สำหรับกรณีที่หากรองผู้ว่าการธปท.ขึ้นมารับตำแหน่งผู้ว่าการธปท.คนต่อไป การสรรหาบุคคลที่จะมารับตำแหน่งรองผู้ว่าการธปท.คนใหม่นั้น นางธาริษา กล่าวว่า ผู้ว่าการธปท.คนใหม่จะเป็นคนที่จะเสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสมให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณา ซึ่งคาดว่าหากมีการสรรหาผู้ว่าการธปท.คนใหม่ได้แล้ว การแต่งตั้งตำแหน่งรองผู้ว่าการธปท.ขึ้นมาแทนจะใช้เวลา 1-2 สัปดาห์หลังจากเสนอชื่อไปก็จะได้ผู้ที่จะมารับตำแหน่งรองผู้ว่าการธปท.คนต่อไปได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us