Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2546
อบอุ่นกับเสน่ห์ของอดีตในตึกแถวกลางเมือง             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 


   
www resources

โฮมเพจ โรงแรม สุข 11

   
search resources

สุข 11
สมเจตน์ ยศสุนทร




แม้ว่า "สุข 11" จะเป็นตึกแถวที่ตกแต่งใหม่ เสร็จหมาดๆ แต่บรรยากาศภายในที่อบอวล อยู่รอบๆ คือความอบอุ่นของบ้านเก่าๆ ในอดีตของอีกหลายคน

เพราะความชอบในเรื่องการตกแต่ง ผนวกกับความรู้ดั้งเดิมของบัณฑิตที่จบมาจากคณะสถาปัตยกรรมจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำให้วันหนึ่งเมื่อมีโอกาส ไอเดียที่สะสมมานานของสมเจตน์ ยศสุนทร กัปตันการบินไทยคนหนึ่ง ก็ได้แปรเปลี่ยนตึกแถวเก่าในทำเลต้นซอยสุขุมวิท 11 ที่ห่างจากสถานีรถไฟฟ้านานา เพียงไม่กี่สิบเมตร ให้กลายเป็น "สุข 11" โรงแรมเล็กๆ ที่มีเสน่ห์และแฝงไปด้วยความอบอุ่นในบรรยากาศของบ้านในชนบทกลางกรุง

"ตอนแรกๆ ผมทำเป็นที่พักเล็กๆ 4-5 ห้อง แต่กลายเป็นว่าทำไปทำมาภายในเวลาสองปีกว่าจาก 5 ห้องกลับต้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนต้องขอเช่าตึกแถว ตรงนี้ทั้งหมดทำห้องเพิ่มเป็น 100 กว่าห้อง" สมเจตน์ เริ่มต้นเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังด้วยน้ำเสียงที่เต็มไปด้วย ความสุข และกระตือรือร้นในการที่จะพาไปเยี่ยมชมผลงานในการดีไซน์ของเขาทีละชั้นอย่างภาคภูมิใจ

สมเจตน์ผูกพันกับสุขุมวิท 11 อย่างมาก เพราะเป็นบ้านเกิดของเขาเอง เขาจำได้ดีว่าเมื่อก่อนพี่น้องเคยอยู่รวมกันที่บ้านหลังใหญ่หลังหนึ่ง ซึ่งต่อมาได้รื้อออกไป และได้สร้างตึกแถว 5 ชั้นรวมชั้นลอยประมาณ 20 หลังขึ้นมาแทน เมื่อตึกแถวเหล่านี้หมด สัญญาเช่า สมเจตน์เลยไปเช่าต่อมาจากญาติพี่น้อง

ผู้รับเหมากับเจ้าของโครงการดูเหมือนจะจูนคลื่นความคิดตรงกันได้อย่างดี การตระเวนหาไม้เก่าๆ ตามต่างจังหวัด เช่น ฝาประตู หน้าต่าง และพื้นบ้าน หรือไม้เก่าในโรงเลื่อย ไม้เก่าในโรงน้ำแข็ง กลายเป็นงานชิ้นแรกของผู้รับเหมา "สุข 11" เน้นการตกแต่งภายในที่เรียบง่าย ด้วยเครื่องเรือนที่เป็นไม้ และวัสดุธรรมชาติ แต่น่าสนใจด้วยลูกเล่น และแนวคิดในการตกแต่ง

เริ่มจากบาร์เกย์โทรมๆ ด้านหน้าทางเข้าโครงการถูกเปลี่ยน แปลงใหม่ให้เป็นใต้ถุนบ้านไทยในชนบท มีหมอนขวานให้นั่งเอนหลังพักผ่อน ถัดออกไปตรงลานถนนมีเล้าไก่วางไว้กับพื้นดิน แขวนกรงนกตรงชายคา เบ็ดและข้องใส่ปลาแขวนไว้ตรง ผนังห้อง ใม้ใบไม้ดอกปลูกลงกระถางจัดวางอย่างสวยงาม มีต้นกล้าของข้าว ในกระถางเล็กๆ กำลังแตกยอดเขียวขจี

บนชั้นลอย ตกแต่งเป็นห้องโถง พื้น ห้องปูด้วยไม้เก่าแผ่นใหญ่ เพิ่มบรรยากาศ ของความเป็นบ้านด้วยหมอนขวาน หมอนอิง เพื่อให้แขกได้เอกเขนกอ่านหนังสือและพักผ่อนอย่างเต็มที่ เงยหน้าขึ้นไปจะเห็นแผ่นพลาสติกบังเงาของต้นไม้ขึงไว้แทนเพดาน ด้านหนึ่งของผนังคือบานหน้าต่างไม้ขนาดใหญ่ เมื่อเปิดออกไปจะพบกับแอร์หลายตัววางซ่อนอยู่

ความไม่ธรรมดาที่โดดเด่นมากๆ ก็คือ บนชั้น 3 ชั้น 4 ที่มีชื่อเรียกว่า ซอย 3 ซอย 4 การตกแต่งบนนี้เป็นแนวคิดของบ้านในชุมชนแออัด ผู้รับเหมาได้ทะลุตึกแถว ทั้ง 19 ห้องด้วยกัน แล้วแบ่งออกเป็นหลังๆ แต่ละหลังคือห้องเดี่ยว หรือห้องคู่ ที่ดีไซน์ให้มีหน้าต่างมีหลังคา ส่วนกำแพงทางเดินช่างจะกะเทาะปูนออกให้เห็นเนื้ออิฐข้างใน เหมือนกำแพงวัดเก่าๆ บางห้องเป็นคอนเซ็ปต์ของบ้านคนรวยในซอย เพราะจะฉาบปูนเรียบและทาสีสวยงาม ส่วน ทางเดินก็จะปูด้วยไม้ ที่ซื้อมาจากโรงน้ำแข็งทั้งหมด 700 ชิ้น ราคาชิ้นละ 10 กว่าบาท และตลอดทางเดินจะติดไฟแบบสลัวๆ เพียง 3 วัตต์ ได้บรรยากาศของกลางคืนไปตลอดซอย

ต้นไทรต้นเก่าที่ติดอยู่จริงกับตัวตึกเดิม ถูกจัดฉากตกแต่งเป็นบรรยากาศหน้าวัด สายไฟปลอมถูกขึงแบบหย่อนๆ ระโยงระยางได้อารมณ์ของบ้านในสลัมเพิ่มขึ้น

ในห้องพักแต่ละห้องจะถูกตกแต่งอย่างเรียบง่ายมีเฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้นเท่าที่จำเป็น ไม่มีทีวี และตู้เย็น ดังนั้นแต่ละชั้นจะมีมุมพักผ่อน ซึ่งเป็นที่นั่งอ่านหนังสือ ทานกาแฟ ดูทีวีอยู่ด้านนอก

ริมระเบียงแต่ละชั้น นอกจากจะจัดเป็นที่พักผ่อนแล้ว ยังกั้นส่วนหนึ่งเป็นที่อาบน้ำกลางแจ้ง มีที่อาบทั้งฝักบัว และตุ่มอาบน้ำ แขกสามารถอาบน้ำและชมแสงสีของยามค่ำคืนของกรุงเทพฯ ไปพร้อมๆ กัน แน่นอนว่าเป็นอีกบรรยากาศหนึ่งที่โรงแรมชั้นหนึ่งในย่านนั้นคงไม่มี

"สุข 11" จึงไม่เพียงแต่เป็นที่พักแรมทางของคนไกลบ้านชาวต่างชาติเท่านั้น แม้แต่ชาวกรุงเองที่ต้องการหวนคืนสู่อดีตกับบรรยากาศเก่าที่อบอุ่นของบ้านยังสามารถเข้ามาพัก เพื่อเปลี่ยนแปลงบรรยากาศได้อีกด้วย

นับว่าเป็นการมองการณ์ไกลของนักลงทุนรายย่อยที่สามารถ ดัดแปลงตึกแถวเก่าในเมืองให้กลายเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ และมีอนาคต

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us