Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2546
ประวัติศาสตร์มีชีวิต             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 


   
search resources

มูลนิธิศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
พิพัฒน์ พงศ์รพีพร
Art




ภาพถ่ายโบราณ เป็นสื่อการถ่ายทอดข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ที่เข้าใจง่ายที่สุด เมื่อได้รู้เรื่องราวความเป็นมาของสิ่งที่เกิดขึ้นในภาพ ยิ่งทำให้การเรียนรู้ประวัติศาสตร์นั้นสนุกและมีชีวิตมากขึ้น

บนชั้น 4 ของเดอะสีลมแกลลอเรีย ถนนสีลม มูลนิธิศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จัดให้มีห้องแสดงถาวร ภาพถ่ายโบราณภาพมุมกว้างของกรุงเทพมหานคร ในสมัยรัชกาลที่ 4 ไว้ประมาณ 60 ชิ้น แต่ละภาพล้วนมีอายุเก่าแก่ประมาณ 100-150 ปี

ต้นฉบับของภาพเหล่านี้ส่วนหนึ่งมาจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ และส่วนหนึ่งเป็นภาพ สะสมส่วนตัวของบุคคล โดยฝีมือการถ่ายภาพส่วนใหญ่เป็นผลงานของฟรันซิส จิต ช่างภาพหลวงในสมัยรัชกาลที่ 4

ภาพส่วนใหญ่ที่จัดแสดงไว้ที่นี่เป็นภาพที่อาจจะเคยเห็นกันบ้างแล้ว แต่ทางมูลนิธิฯ อาศัย เทคโนโลยีสมัยใหม่มาเพิ่มความละเอียดจนสามารถอัดขยายเป็นภาพขนาดใหญ่ โดยใหญ่ที่สุด สูงประมาณ 1 เมตรครึ่งและยาวประมาณ 7 เมตร ภาพใหญ่ขนาดนี้จะขายให้กับองค์กรของเอกชน หรือรัฐบาลอย่างเดียวเท่านั้น เช่น วัดโพธิ์ ได้ซื้อภาพขนาดใหญ่เป็นภาพแม่น้ำเจ้าพระยา ภาพหนึ่ง ไปไว้ในห้องสมุดของวัด

สำหรับบุคคลทั่วไปที่สนใจ ทางมูลนิธิฯ ยังมีรูปเล็กๆ ขนาด 50 เซนติเมตร ขายให้ด้วย รายได้ทั้งหมดจากการขายภาพก๊อบปี้เหล่านี้ จะเอามาจัดทำห้องแสดงภาพถ่ายให้ถาวร และสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นไปอีก

ภาพเหล่านี้จะกลายเป็นประวัติศาสตร์ที่มีชีวิตให้คนรุ่นปัจจุบันศึกษาได้อย่างไม่รู้เบื่อ และสนุกกับการที่จะได้ค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับภาพนั้นด้วยตนเองต่อไป

พิพัฒน์ พงศ์รพีพร นักวิจัยอิสระ ผู้เรียบเรียงโครงการภาพโบราณนี้ ได้เป็นผู้อธิบาย ภาพตามข้อมูลที่ได้ใช้เวลาศึกษามานาน เช่น

ภาพแม่น้ำเจ้าพระยากับเรือสินค้า 100 ลำ พ.ศ.2407 ปรากฏการณ์เรือสินค้าที่มาจอดเรียงรายกันมากมายพร้อมกันเป็นร้อยลำในแม่น้ำเจ้าพระยานั้น เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นอย่างมากว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น เมื่อเห็นจากภาพ นักค้นคว้าก็พบว่ามีเรื่องราวบันทึกอยู่ในบางกอกคาลันเดอร์ ของหมอบรัดเลย์ ฉบับวันที่ 21 พฤศจิกายน 2407 หลวงบริบาล บุรีพันธุ์ แปลลงในประชุมพงศาวดารภาคที่ 12 ว่า เรือเหล่านี้มาซื้อข้าวสารจะไปขายเมือง จีน เป็นเหตุให้ราคาข้าวสารขึ้นราคาสูงทันที ถึงเกวียนละ 120 บาท และเกวียนละ 125 บาท

ข้อความนี้ทำให้ผู้ศึกษาได้เข้าใจประกาศในสมัยรัชกาลที่ 4 จำนวน 3 ฉบับ ที่เกี่ยว เนื่องกันว่าทรงมีพระอัจฉริยภาพทางด้านเศรษฐกิจและการปกครองอย่างยิ่ง กล่าวคือ เมื่อต้นปีทรงทราบว่าฝนจะแล้งจึงประกาศเพื่อเตือนให้ประชาชนสะสมข้าวให้พอบริโภคทั้งปีจากนั้นเมื่อฝนแล้งจริงๆ ก็ทรงออกประกาศ ฉบับที่ 2 แนะนำปัญหาข้าวสารขาดตลาด และมีราคาแพง ทรงแนะนำให้ซื้อข้าวเปลือกมาตำกินเองตามความจำเป็น ไม่ต้องพึ่งโรงสีให้เดือดร้อน หลังจากนั้นพ่อค้าต่างประเทศก็เดินทางเข้ามาเร่งกว้านซื้อข้าว จนอาจจะทำให้ข้าวขาดตลาด ทรงออกประกาศฉบับที่ 3 ปิดตลาดข้าวทันที

ภาพแม่น้ำเจ้าพระยาและโรงละครพระยาบุรุษฯ ปี 2407 เป็นภาพที่แสดงให้เห็นสภาพชุมชนที่สมบูรณ์ริมแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อสมัย 100 ปีก่อน ในภาพจะเห็นหมู่อาคารปูน ขนาดใหญ่ ตั้งอยู่จรดฝั่งน้ำถึงแนวกำแพงเมือง เป็นอาคารแบบตะวันตกชนิดที่มีลานภายใน (Court) เมื่อเทียบกับโฉนดที่ดินปัจจุบันพบว่าอาคารนี้ตรงกับวังของพระองค์เจ้าเพ็ญพัฒน-วโรดม (ซึ่งปัจจุบันไม่มีแล้ว เหลือเพียงแต่ชื่อซอยเพ็ญพัฒ) จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นบ้านของนายเพ็ง นโปเลียน (2364-2437) เสด็จตาของพระองค์เจ้าเพ็ญพัฒฯ บุตรเลี้ยงของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับบิณฑบาตมาตั้งแต่อายุ 12 ปี เมื่อครองราชย์โปรดฯ ให้เป็นหมื่นสรรเพชร ภักดี หัวหมื่นมหาดเล็ก เป็นอุปทูตไปเจริญพระราชไมตรี กับประเทศอังกฤษ เมื่อปีพุทธศักราช 2400 และได้นำแบบอย่างของโรงละครสมัยใหม่ ของกรุงลอนดอน กลับมาสร้างที่ใต้ท่าเตียน เรียกว่า Siamese Theatre (ต่อมาเปลี่ยนเป็น Prince Theatre) เป็นมหรสพสถานที่ขึ้นชื่อลือชาของบางกอก นอกจากนั้นตรงริมน้ำใกล้อาคาร ยังมีโรงละครแบบเก่าตั้งอยู่เป็นอาคารสองหลังคู่กัน

ภาพแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าเตียน พ.ศ.2407 ภาพนี้จะเห็นสภาพที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่กำลังก่อสร้างอยู่หลายรายการเช่น ตึกหลวงราชทูต เป็นอาคารสองชั้น 3 หลังเรียงกัน ในพระบรมมหาราชวังมีการก่อสร้างอาคารจตุรมุขขนาดใหญ่ยังไม่แล้วเสร็จมีการมุงหลังคาไปแล้วบางส่วน

ที่ท่าน้ำท่าเตียนตรงประตูเมือง เป็นชุมชนสำคัญของพระนครในสมัยนั้น เต็มไปด้วยเรือนแพแน่นขนัด ด้านเหนือของท่าน้ำ เป็นอาคารทรงปั้นหยาขนาดใหญ่ มีเสาธงปักเป็น เครื่องหมายคือ อาคารศาลต่างประเทศ ส่วนฝั่งใต้ของท่าเป็นที่ว่างสำหรับพักสินค้า หรืออาจจะเป็นคลังเก็บฟืนไม้แสมสำหรับ พระบรมมหาราชวังวางสุมกันนับไม่ถ้วน ในภาพนี้ยังเห็นสภาพเดิมของภูเขาทอง พระบรมบรรพต ที่ทิ้งไว้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3

ภาพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานกฐิน การฉายพระรูปครั้งนี้มีบันทึกอยู่ในบางกอกเรคอร์เดอร์ (ปีที่ 1 หน้า 141) ว่าโปรดให้ จอห์น ทอมสัน เป็นผู้ฉาย

ภาพเรือนแพที่กระดีจีน ชุมชนวัดซางตาครู้ส หมู่บ้านกุฎีจีน ในสมัย 100 กว่าปีที่แล้วต้อง มีบ้านเรือนแพบนบกและเรือนแพในแม่น้ำหนาแน่นพอสมควร เพราะแถบนั้นมีคนอาศัยอยู่มาก สตูดิโอ หรือร้านถ่ายรูปของ ฟรันซิส จิต ก็ตั้งอยู่บนเรือนแพหน้าวัดซางตาครู้สนี่เองมองเห็นพระปรางค์วัดอรุณฯ และเรือนแพ ที่เรียงรายไปตามโค้งน้ำ ปากคลองบางหลวง รูปนี้อาจจะถ่าย จากห้องถ่ายภาพบนเรือนแพของนายจิตก็เป็นได้

นอกจากภาพต่างๆ ที่กล่าวถึงห้องแสดงภาพถ่ายถาวร ของภาพโบราณ ภาพมุมกว้าง กรุงเทพมหานคร ในสมัยรัชกาลที่ 4 แล้ว ยังมีภาพทางประวัติศาสตร์มากมายที่เปิดให้คนทั่วไปได้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.30 น.-17.00 น. เป็นต้นไป

นับว่าเป็นความพยายามอย่างหนึ่งของมูลนิธิแห่งนี้เพื่อจะส่งมอบคุณค่าของอดีตสมัย ที่บรรพบุรุษของเราได้สร้างไว้ในรูปแบบที่เข้าใจง่ายให้คนรุ่นต่อไปได้ศึกษา และสานต่อสืบไปไม่สิ้นสุด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us