Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2546
Dwarrant วอร์แรนต์ที่ดี?             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 


   
www resources

โฮมเพจ เคจีไอ (ประเทศไทย)

   
search resources

เคจีไอ (ประเทศไทย), บล.
ธนวัฒน์ พาณิชเกษม




เมื่อตลาดทุนเปิด เป็นโอกาสที่ดีของบรรดาบริษัทหลักทรัพย์ในการออกผลิตภัณฑ์ตราสารอนุพันธ์แปลกใหม่ เสนอให้กับลูกค้าตนเองนอกเหนือไปจากการเล่นหุ้น แต่การเพิ่มความระมัดระวังต่อการลงทุนเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้

หากคุณลงทุน 5 บาทในใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ หรือ Derivative Warrant ที่ให้สิทธิซื้อหุ้น A ในราคา 110 บาท (Exercise Price) เมื่อถึงวันครบกำหนด (Expiration) หุ้น A ราคา 120 บาท (in the money) คุณควรจะทำอย่าง?

หากคุณลงทุน 5 บาท ใน Deriva-tive Warrant ที่ให้สิทธิซื้อหุ้น A ในราคา 110 บาท เมื่อถึงวันครบกำหนด หุ้น A ราคา 90 บาท (out of the money) คุณควรจะทำอย่างไร?

คุณซื้อ Derivative Warrant บนดัชนีในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อถึงวันครบกำหนดให้ผลกำไร (in the money) อยาก ทราบว่าคุณมีความเสี่ยงต่อการไม่ได้รับชำระเงินกำไรตามที่พึงได้รับหรือไม่?

หากตอบคำถามถูกต้องทั้งสามข้อ สามารถลงทุนในใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ได้โดยไม่ต้องกังวล เพราะเป็นตราสารทางการเงินที่มีความซับซ้อนและค่อนข้างยุ่งยากต่อการทำความเข้าใจ ที่สำคัญเรื่องความเสี่ยง

หากเปรียบเทียบกับใบสำคัญแสดง สิทธิ (Warrant) ที่ผู้ออกจะเป็นบริษัทนั้นๆ ในแง่ความเสี่ยงของผู้ลงทุนไม่มี เพราะว่าถ้ามีใครมาใช้สิทธิ บริษัทดังกล่าวจะออกหุ้นเพิ่มทุนใหม่

ขณะที่ Derivative Warrant ผู้ออกเป็นบริษัทที่ไม่ใช่เจ้าของหุ้นเหล่านั้น หรือที่เรียกว่า Third Party เมื่อนักลงทุนมาใช้สิทธิ จะต้องไปซื้อหุ้นในตลาดมาส่งมอบ ฉะนั้นความเสี่ยงจึงเป็นบุคคลที่สาม "พวกเขาสามารถเตรียมหุ้นมารองรับการใช้สิทธิเพียงพอหรือไม่ มีฐานะการเงินที่ดีในการซื้อหุ้น และความน่าเชื่อถือกรณีลูกค้ามาใช้สิทธิแล้วไม่ผิดสัญญา" ธนวัฒน์ พาณิชเกษม ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายค้าหลักทรัพย์และอนุพันธ์ บล.เคจีไอ (ประเทศ ไทย) ชี้ "Derivative Warrant มีความ ยุ่งยากมากกว่าวอร์แรนต์ธรรมดา"

ที่สำคัญเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับตลาดทุนไทย เพราะโดยทั่วไปผู้ออกวอร์แรนต์ล้วนแล้วแต่เป็นเจ้าของหลักทรัพย์นั้นๆ แต่เมื่อมีบุคคลที่สามเข้ามาเกี่ยวข้องความผิดพลาดอาจจะเกิดขึ้นได้ ดังนั้นในแง่นักลงทุนควรพิจารณาถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากตัดสินใจซื้อ Derivative Warrant ไปแล้ว

"ในทางที่ผิดก็เป็นโทษ ดังนั้นมันเป็นเครื่องทุ่นแรงทางการลงทุน" ธนวัฒน์บอก

หากพิจารณาถึง Derivative Warrant ทั่วโลกพบว่าตลาดทุนที่พัฒนาแล้วทั้งในอเมริกา ยุโรป เลิกสนใจกับผลิตภัณฑ์นี้ไปนานแล้ว "มันตายไปนานแล้วจากโครงสร้างนักลงทุนสถาบัน" ธน-วัฒน์เล่า "สินค้านี้มีความเหมาะสมกับตลาดทุนที่มีระบบโครงสร้างเป็นนักลงทุนรายย่อยและเก็งกำไร"

ดังนั้น ไม่แปลกใจเมื่อ Derivative Warrant ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายในตลาดทุนไต้หวัน ที่มีมาตั้งแต่ปี 1997 ฮ่องกงเริ่มขายตั้งแต่ปี 1999 รวมถึงเกาหลีใต้ด้วย และแน่นอนผู้เล่นที่นำผลิตภัณฑ์นี้เข้ามาเสนอให้กับนักลงทุนไทยแห่งแรก คือ บล.เคจีไอ ตามด้วยบล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ซึ่งทั้งสองรู้จักตลาดทุนในแถบภูมิภาคนี้เป็นอย่างดี

และพวกเขาได้รับการอนุญาตจาก ก.ล.ต. ให้สามารถทำธุรกรรมดังกล่าวได้ในฐานะบุคคลที่สาม และดูเหมือนว่ามีความกระตือรือร้นเป็นอย่างมากที่นำ Derivative Warrant เสนอขายให้กับลูกค้า ตนเอง "สินค้าตัวแรกที่เราจะออกด้านตรา สารอนุพันธ์และง่ายที่สุด คือ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ สามารถจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เพื่อขายให้กับนักลงทุนได้ เป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาด" ธนวัฒน์อธิบาย

หมายความว่าบุคคลที่สาม หรือ ผู้ออก (Issuer) Derivative Warrant จะต้องแสวงหาหลักทรัพย์อ้างอิง (Underlying Securities) มาทำการซื้อขาย อาจจะเป็นหลักทรัพย์หรือดัชนีหลักทรัพย์ โดย ก.ล.ต. กำหนดไว้ว่าหุ้นที่สามารถเป็นหลักทรัพย์อ้างอิงได้ต้องจดทะเบียนซื้อขายไม่ต่ำกว่า 1 ปี มี Market Cap เฉลี่ย 3 เดือนมากกว่า 10,000 ล้านบาท และมีปริมาณการซื้อขายมากกว่า 1%

โดยประมาณปลายปีที่ผ่านมาหลักทรัพย์ผ่านกฎเกณฑ์ดังกล่าวมี 26 บริษัท ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มธนาคาพาณิชย์ สถาบัน การเงิน พลังงาน วัสดุก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น ในฐานะผู้ออกอย่างเช่น บล.เคจีไอ หรือ บล.กิมเอ็ง สามารถแสวงหาหุ้นน่าสนใจและเป็นความต้องการของนักลงทุนได้มากพอสมควร ที่สำคัญพวกเขาไม่ต้องขออนุญาต จากบริษัทดังกล่าวสำหรับการออก Derivative Warrant

"ผู้ออกไม่มีความสัมพันธ์กับบริษัทนั้นเลย ดังนั้นพวกเราสามารถเลือกหุ้นที่ดีที่สุดมาทำ Derivative Warrant ออกขายให้กับลูกค้า" ธนวัฒน์ชี้

มีคำถามตามมาว่า บริษัทดังกล่าวได้รับประโยชน์อะไร ซึ่งจะไม่มีผลอะไรในทางตรง แต่ได้ประโยชน์ทางอ้อม โดยเฉพาะความเชื่อมั่นและมีภาพพจน์ที่ดีในสายตาสถาบันการเงินในฐานะผู้ออก เพราะ หลังจากนั้นพวกเขาจะต้องซื้อหุ้นสามัญมาเก็บไว้ กรณีนักลงทุนมาใช้สิทธิ นั่นหมายถึงการเพิ่มสภาพคล่องให้กับหุ้นดังกล่าวอีกทางหนึ่ง ที่สำคัญ จะไม่มีผลกระทบด้าน Dilution เนื่องเพราะไม่มีการเพิ่มทุนเป็นหุ้นที่ซื้อขายบนกระดานอยู่แล้ว

นอกจากนี้ มีความน่าสนใจในเรื่อง ของการจำกัดการขาดทุน เพิ่มอัตราทดในการลงทุนและดีต่อหุ้น คือ หุ้นหลายบริษัทเป็นที่ต้องการของนักลงทุน แต่ขาดสภาพคล่องหรือไม่มีวอร์แรนต์ขาย ดังนั้น Derivative Warrant เป็นการอุดช่องว่างดังกล่าว

ด้วยรูปแบบที่น่าสนใจ ผสมผสานกับนักลงทุนไทยที่ไม่ค่อยมีทางเลือกมากนักและทางการสนับสนุนเต็มที่ ธนวัฒน์มั่นใจอย่างมากต่อการดำเนินธุรกรรมประเภทนี้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพยายามอธิบายลักษณะของ Derivative Warrant เหมือนการออกหุ้นสามัญ เพื่อเสนอขายให้กับประชาชนครั้งแรก (IPO)

"เป็นการออกหลักทรัพย์ใหม่และขายให้กับนักลงทุนได้ เราสามารถเลือกเวลาทำงานได้ และถ้าเกิดผิดพลาดพวกเขา ขาดทุนแค่จำนวนวอร์แรนต์ไม่ใช่จำนวนหุ้นนั้นทั้งหมด" เขากล่าว "เนื่องจากเป็นหุ้นที่ผู้ออกสามารถขายได้ สิ่งที่เกิดขึ้น คือ ราคาสมเหตุสมผล เพราะไม่ต้องไปเสนอราคาแข่งขันกับใครเช่นกับการเสนอตัวเป็น Underwriter"

แน่นอนการลงทุนไม่ว่ากรณีไหนย่อมมีความเสี่ยงตลอดเวลา เช่นเดียวกับ Derivative Warrant นอกเหนือจากความผันผวนของตลาดแล้ว ต้องพิจารณาความเสี่ยงด้านผู้ออกด้วยเพราะหากมีปัญหาจะเกิดหนี้สูญทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบริหารความเสี่ยงจากความแม่นยำในการซื้อหุ้นสามัญผิดพลาด เพราะความสำเร็จในการทำธุรกรรมดังกล่าวคือ จังหวะ เวลา เนื่องจากจะมีกำไรก็ต่อเมื่อราคาหุ้นสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม เพื่อลดความเสียหาย ที่จะเกิดขึ้นกับนักลงทุน ก.ล.ต.กำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ที่สนใจออก Derivative Warrant ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท มีสภาพคล่องขั้นต่ำไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท อัตราส่วนเงินกองทุนสภาพคล่องต่อสินทรัพย์เสี่ยงไม่ต่ำกว่า 7% และมีอันดับความน่าเชื่อถือระดับ Investment Grade ขึ้นไป

นี่คือ รูปแบบใหม่ที่บริษัทหลักทรัพย์ ต่างชาติพยายามนำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เข้า มาดึงดูดนักลงทุนไทย ซึ่งปฎิเสธไม่ได้ว่าลักษณะแบบนี้เหมือนการแจกหุ้นให้กับลูกค้าที่เปิดบัญชีเล่นหุ้นกับโบรกเกอร์ตนเอง เพื่อจูงใจให้ทำธุรกรรมและเป็นเพียงแค่การ บริการให้พวกเขาซื้อหุ้นมากกว่าเท่านั้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us