Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์9 ตุลาคม 2549
“ฤทธาเหมราช”แยกตัวของโตเองสร้างความชัดเจนก่อนเข้าตลาด             
 


   
search resources

Construction
อาร์ทีเอช คอนสตรัคชั่น, บจก.




ฤทธาเหมราชยุคใหม่เน้นโตเดี่ยว แยกตัวจากฤทธา เปลี่ยนชื่อเป็น “อาร์ทีเอช คอนสตรัคชั่น” เร่งสร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขัน ทุ่มงบ 10 ล้านพัฒนาระบบบริหาร เน้นรับงานเอกชนขนาดกลาง เตรียมพร้อมรุกเข้าตลาดหุ้น

นับเป็นเวลากว่า 4 ปีแล้วที่ “ฤทธาเหมราช” บริษัทในเครือของฤทธา ผู้รับเหมาก่อสร้างยักษ์ใหญ่ที่เป็นที่รู้จักกันดีในวงการ และมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว จนวันนี้ก็ถึงเวลาที่ฤทธาเหมราชตัดสินใจที่จะแยกตัวออกมาจากบริษัทแม่ เพื่อรองรับความก้าวหน้าในอนาคต กลายมาเป็น “อาร์ทีเอช คอนสตรัคชั่น” ชื่อใหม่ที่มาพร้อมกับกลยุทธ์ใหม่ที่จะช่วยผลักดันให้บริษัทฯ เติบโตขึ้นจากจุดเดิม

สมยศ วงศ์ทองสาลี รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท อาร์ทีเอช คอนสตรัคชั่น จำกัด กล่าวว่า ฤทธาเหมราชได้แยกตัวออกมาจากบริษัทแม่ คือ บริษัท ฤทธา จำกัด แล้ว และได้เปลี่ยนชื่อบริษัทฯ มาเป็น อาร์ทีเอช คอนสตรัคชั่น เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 150 ล้านบาท เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการทำธุรกิจ เนื่องจากมีแผนที่จะนำบริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในอนาคต ทั้งนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นด้วย โดย บริษัท ฤทธา จำกัด ได้ขายหุ้นสัดส่วน 51% ให้กับ กมล โอภาสกิตติ ประธานกรรมการบริษัทฯ ในปัจจุบัน และ 49% ที่เหลือยังคงเป็นการถือหุ้นในนามบริษัท อาร์ทีเอช หรือฤทธาเหมราชเดิม ซึ่งมีทั้งผู้บริหาร และพนักงาน

นอกจากนี้ สมยศ กล่าวว่า การแยกตัวออกจาก ฤทธา และเปลี่ยนชื่อ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน รวมทั้งสองบริษัทต่างก็มีแผนที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เช่นเดียวกัน ซึ่งการที่มีผู้ถือหุ้นทั้งสองบริษัทเป็นกลุ่มเดียวกัน และทำธุรกิจประเภทเดียวกัน หากเข้าตลาดแล้วอาจดูไม่โปร่งใสในสายตาของสาธารณชนได้ รวมทั้งการจะควบรวมสองบริษัทเข้าด้วยกันก็ทำได้ยาก เนื่องจากมีการวัฒนธรรมองค์กรและรูปแบบการรับงานที่แตกต่างกันมาก

ทั้งนี้ อาร์ทีเอช ได้ทุ่มงบประมาณ 10 ล้านบาทในการนำระบบ SAP (Systems Applications&Product) มาใช้ในการบริหารงานทั่วทั้งองค์กร เช่น การบริหารงานโครงการ การจัดซื้อสินค้า ซึ่งจะช่วยให้สามารถควบคุมต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรองรับการขยายตัวที่รวดเร็วขององค์กรได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้การลงทุนระบบดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการประเมินผลการใช้ และสามารถจะรองรับการทำงานได้ถึง 3 ปี

ผลประกอบการปีนี้ อาร์ทีเอชมีรายได้ 1,800 ล้านบาท โดยมีการส่งมอบงานแล้ว 1,000 ล้านบาท และจะทยอยส่งมอบก่อนสิ้นปีนี้ 800 ล้านบาท คาดว่าจะมีกำไรสุทธิ 80% โดยตั้งเป้าหมายว่าจะต้องรับงานเพิ่มในปีหน้าอีก 800 ล้านบาท ขณะนี้มีงานที่บริษัทสนใจจะเข้าประมูลรวมมูลค่า 1,000 ล้านบาท คาดว่าจะได้ 30% และเป็นงานภาคเอกชน

ขณะนี้สัดส่วนงานก่อสร้างภาคเอกชนและราชการ คือ 80:20 ซึ่งต่อจากนี้ไปอาร์ทีเอชจะเน้นรับงานภาคเอกชน และงานขนาดกลางเป็นหลัก เพราะมองว่ายังไม่มีกำลังมากพอที่จะรับงานขนาดใหญ่ได้ โดยจะชูจุดต่างในด้านความเชี่ยวชาญในการก่อสร้างอาคารสูง และมาตรฐานในการก่อสร้าง เพื่อให้เกิดการแนะนำกันปากต่อปาก และเมื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดแล้ว ก็จะเพิ่มขีดความสามารถในการรับงานขนาดใหญ่ได้ หากมีการรับงานเมกะโปรเจคจะเป็นการร่วมทุนกับพันธมิตรเพื่อเป็นผู้รับเหมารายหลัก

สำหรับงานราชการของ อาร์ทีเอช ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง คือ โครงการบ้านเอื้ออาทร จ.ชลบุรี มูลค่า 222 ล้านบาท และอาคารผู้ป่วย โรงพยาบาลชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จ.ชุมพร มูลค่า 60 ล้านบาท สมยศ กล่าวว่า ยังไม่พบปัญหาเรื่องการเบิกจ่ายเงินงวดงาน หรือค่าเค เนื่องจากเพิ่งเริ่มก่อสร้างไปได้ไม่มากเพียง 20% และมองว่าในอนาคตสนใจที่จะรับงานภาคเอกชนมากกว่า เพราะไม่สามารถแข่งขันกับราคากลางของงานราชการได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us