Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์9 ตุลาคม 2549
ทางรอดอสังหาฯ หลังปฏิรูปกระตุ้นรัฐปรับเกณฑ์บ้าน BOI             
 


   
search resources

Real Estate




อสังหาฯ ชี้การเมืองช็อคกำลังซื้อระยะสั้น แต่ดีมานด์แท้จริงยังมีอยู่ หวั่นเศรษฐกิจซึมยาว 1 ปีหลังรัฐประหาร แม้จะทำให้ทิศทางการเมืองคลี่คลาย เล็งเสนอรัฐบาลปัดฝุ่น “บ้าน BOI” กระตุ้นธุรกิจอสังหาฯ อัดแบงก์เลิกเอาเปรียบลูกบ้าน สร้างดอกเบี้ยคงที่ระยะยาว

ทิศทางของตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ผ่านมาในปีนี้ดูจะเป็นปีที่ไม่สดใสนักของทุกฝ่าย ทั้งดีเวลลอปเปอร์และผู้ซื้อบ้าน เนื่องจากมีปัจจัยรอบด้านมากระทบต่อภาพรวมของระบบเศรษฐกิจ ได้แก่ ภาวะเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย และราคาน้ำมันที่มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงไตรมาส 1-2 ที่ผ่านมา ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังอึมครึม ส่งผลให้ค่าครองชีพสูงขึ้น กำลังซื้อของผู้ชื้อบ้านลดลง ต้องหันมาซื้อบ้านที่ราคาถูกลง รวมทั้งดีเวลลอปเปอร์ก็มีการปรับตัวไปตามสถานการณ์หลายรูปแบบ เช่น พื้นที่บ้านต่อยูนิตเล็กลง ปรับเปลี่ยนวัสดุก่อสร้างเพื่อลดต้นทุนให้ยังคงขายในราคาเดิมได้ และไม่กระทบต่อผู้บริโภค

สำหรับในช่วงไตรมาส 3 ภาวะเศรษฐกิจคลี่คลายขึ้น เนื่องจากอัตราดอกเบี้ย และราคาน้ำมันเริ่มจะชะลอตัวและมีทิศทางที่ชัดเจนมากขึ้น ทำให้ทุกฝ่ายมีความหวังว่าเศรษฐกิจจะยังคงมีการเติบโตต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา แม้จะเป็นในอัตราที่ลดลง แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อ 19 ก.ย. ที่ผ่านมา ที่ทำให้การเมืองที่เคยอึมครึม ดูคลี่คลายขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าหลายนโยบายหลายโครงการที่รัฐบาลทักษิณ 2 เคยวางไว้ อาจจะต้องสะดุดยาว เพราะรัฐบาลชุดใหม่จะต้องหยิบขึ้นมาพิจารณาถึงความเหมาะสมอีกครั้ง

ช็อคกำลังซื้อระยะสั้น

หลังเหตุการณ์ประวัติศาสตร์รัฐประหาร 19 ก.ย. เกิดขึ้น ทุกฝ่ายต่างแสดงความกังวลว่าสถานการณ์บ้านเมือง รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอยู่จะจมดิ่งเช่นเดียวกับในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองทุกครั้งที่ผ่านมาหรือไม่ ร.ศ.มานพ พงศทัต อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิประจำภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงความเห็นว่า เหตุการณ์ดังกล่าวมีผลกระทบต่ออสังหาริมทรัพย์เพียงแง่จิตวิทยา ที่จะทำให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อออกไปอีก แม้ว่าช่วงปลายปีจะเป็นฤดูขายที่จะมียอดซื้อหลั่งไหลเข้ามาในช่วงนี้มากที่สุด แต่ความต้องการซื้อที่แท้จริงยังมีอยู่ทุกภาวะเศรษฐกิจ ทั้งนี้สิ่งที่จะกระทบต่อกำลังซื้อและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มากกว่า คือ อัตราดอกเบี้ย และราคาน้ำมัน

ชะลอสินเชื่อ-หยุดซื้อที่ดิน

ร.ศ.มานพ กล่าวว่า ผลกระทบระยะสั้นอื่นๆ ได้แก่ ธนาคารจะหยุดปล่อยสินเชื่อ เพื่อรอดูสถานการณ์ ซึ่งจะทำให้เกิดการชะลอในช่วงสั้นๆ ส่วนดีเวลลอปเปอร์บางรายจะหยุดซื้อที่ดินทันทีในช่วงนี้ เพื่อรอดูนโยบายและทิศทางของรัฐบาลชุดใหม่ ทำให้การลงทุนชะงักไป รวมทั้งความเชื่อมั่นของต่างชาติลดลง ที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ ที่อยู่อาศัยราคาแพงจะขายได้ยากขึ้นในช่วงไตรมาส 3 และ 4 เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ที่เป็นนักธุรกิจต่างชาติถึง 70% จะไม่กล้าซื้อเนื่องจากมีความไม่มั่นใจในสถานการณ์

บ้านระดับกลางโตต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ร.ศ.มานพ ยังชี้ว่าปีนี้และปีหน้าจะเป็นการเติบโตตลาดที่อยู่อาศัยระดับกลาง ตั้งแต่ราคา 1.5-3 ล้านบาท เพื่อตอบสนองดีมานด์ในตลาดที่มีความต้องการสินค้าประเภทดังกล่าวมากที่สุด สะท้อนจากผลการสำรวจความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ร่วมกับ บริษัท โฮมบายเออร์ไกด์ จำกัด พบว่าดีมานด์ที่อยู่อาศัยราคากลางและล่าง ตั้งแต่ 500,000-3 ล้านบาท มีมากที่สุดถึง 72.6% ราคาเฉลี่ยที่อยู่อาศัยมีการปรับลดลงจาก 3.1 ล้านบาท ในปี 2548 มาเป็น 2.9 ล้านบาทในปี 2549 รวมทั้งในปีนี้มีการเปิดตัวคอนโดมิเนียมระดับกลางค่อนข้างมาก โดยในครึ่งปี 49 มีการเปิดตัวของคอนโดมิเนียมรวมทั้งหมด 38% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 9%

ปีหน้าทาวน์เฮาส์มาแรง

อิสระ บุญยัง อุปนายกสมาคมบ้านจัดสรร กล่าวว่า แนวโน้มของการจัดสรรที่ดินประเภททาวน์เฮาส์จะเพิ่มขึ้นหลังจากมีจำนวนคงที่ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา เนื่องจากดีเวลลอปเปอร์มีการปรับตัวตามดีมานด์ของตลาดที่มีความต้องการที่อยู่อาศัยระดับกลางเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีความได้เปรียบบ้านเดี่ยวในแง่ของราคาที่ถูกกว่า และทำเลที่ตั้งที่อยู่ในย่านใจกลางชุมชน

มั่นใจ Over Supply ไม่เกิด

อิสระ เห็นว่า จากความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ผ่านมาจะทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อยู่ในช่วงรอดูสถานการณ์ และรัฐบาลชุดใหม่ว่าจะเป็นอย่างไรก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน แต่ทั้งนี้ในช่วงที่อสังหาริมทรัพย์เฟื่องฟูเมื่อ1-2 ปีที่ผ่านมา จนมาถึงปีนี้ที่ยอดขายชะลอตัวจนอาจทำให้บางฝ่ายเป็นห่วงว่าอาจจะมีที่อยู่อาศัยบางส่วนเหลือค้างเช่นเดียวกับช่วงฟองสบู่แตกนั้น อิสระ กล่าวว่า ไม่น่าเป็นห่วง เพราะในช่วงที่ผ่านมาหลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจตลาดที่อยู่อาศัยมีการเจริญเติบโตในทิศทางเดียวกับภาวะเศรษฐกิจมาโดยตลอด แม้ว่าตัวเลขของที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จในปีนี้จะไม่ลดลง เนื่องจากในปีนี้จะมีโครงการคอนโดมิเนียมที่จะทยอยแล้วเสร็จอีกหลายโครงการ ส่วนปัญหาหนี้เสียยังไม่น่าเป็นห่วง เพราะผู้ซื้อสามารถประเมินความสามารถในการซื้อบ้านของตนเองได้ถูกต้องเหมาะสม สอดคล้องกับรายรับของครอบครัวมากขึ้นแตกต่างจากที่ผ่านมา

ชี้ควรสร้างดอกเบี้ยคงที่ระยะยาว

ร.ศ.มานพ แสดงความเห็นว่า ปัจจุบันดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของไทยเป็นเพียงอัตราคงที่ในระยะสั้น ซึ่งไม่เหมาะสม และเอาเปรียบผู้ซื้อ ทั้งที่บ้านเป็นสินค้าปัจจัย 4 รัฐบาลควรมีนโยบายการเงินในการสร้างระบบสินเชื่อที่อยู่อาศัยให้เป็นอัตราคงที่ในระยะยาว เพื่อหล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจ และกระตุ้นให้ดีมานด์ของการซื้อบ้านกลับมาอีกครั้ง

แนะใช้ “บ้าน BOI” กระตุ้นอสังหา

แม้จะมีรัฐบาลชั่วคราวมาบริหารประเทศ แต่ต้องยอมรับว่ากว่าจะมีรัฐบาลชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งคงต้องรออย่างน้อย 1 ปี แม้ว่าในระยะนี้จะสามารถอนุมัติงบประมาณปี 2550 ได้ แต่ก็ไม่รวมถึงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐที่จะเป็นความหวังในการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจไทยได้ ซึ่งอาจจะยิ่งทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยิ่งซบเซาลงไปอีกแน่นอน ร.ศ.มานพ ได้เสนอว่า รัฐบาลควรจะมีการนำนโยบาย “บ้าน BOI” กลับมาใช้อีกครั้งเพื่อกระตุ้นตลาด เป็นการจูงใจดีเวลลอปเปอร์ให้เกิดการลงทุน และช่วยเหลือผู้ซื้อให้ได้ซื้อบ้านในราคาถูก รวมทั้งส่งเสริมการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดชายแดน 9 จังหวัด นอกเหนือจากการลงทุนในกรุงเทพฯ เนื่องมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูง และการลงทุนของภาคราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยไม่ต้องรอเมกะโปรเจค

เอกชนเสนอทบทวนเกณฑ์บ้าน BOI

ในฐานะที่เป็นดีเวลลอปเปอร์ อิสระ กล่าวว่า อยากให้ BOI มีการทบทวนเกณฑ์ของบ้าน BOI หลังจากที่มีการใช้มานานตั้งแต่ปี 2536 ให้มีความเหมาะสมกับต้นทุนในปัจจุบัน และรูปแบบของที่อยู่อาศัยแต่ละประเภท แต่ละทำเล จากเดิมที่มีการกำหนดเป็นเกณฑ์เดียวใช้กับทุกรูปแบบที่อยู่อาศัย คือ ต้องมีพื้นที่ต่อยูนิต 31 ตร.ม. ขึ้นไป และมีราคาขายไม่เกิน 600,000 บาท โดยดีเวลลอปเปอร์จะได้รับการยกเว้นภาษี 30% แต่ปัญหาที่พบ คือ ที่อยู่อาศัยแนวราบราคาขาย 600,000 บาท ไม่สามารถทำได้แล้วภายใต้ต้นทุนปัจจุบัน เช่น ทาวน์เฮาส์ควรมีการปรับราคาขายขั้นต่ำเพิ่มเป็น 750,000 บาท และผันแปรไปตามราคาที่ดินในแต่ละทำเล

ส่วนในแง่ของคอนโดมิเนียมควรจะมีการปรับลดพื้นที่ต่อยูนิตลงให้น้อยกว่าที่เกณฑ์กำหนด เนื่องจากปัจจุบันตลาดมีการลดพื้นที่ต่อยูนิตลงเหลือ 24-28 ตร.ม. เพื่อตอบสนองดีมานด์ และลดราคาลงก็ยังสามารถขายได้ดี หากมีการปรับเกณฑ์ดังกล่าวจะช่วยให้ดีเวลลอปเปอร์ลดต้นทุนได้มากขึ้น เพราะปัจจุบันสามารถขายได้ในราคาที่ถูกกว่าเกณฑ์ แต่ไม่สามารถขอสิทธิพิเศษทางภาษีได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us