Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์9 ตุลาคม 2549
"ชินวัตร-เทมาเส็ก"เดินเครื่องถ่ายเงิน เอสซีฯขายที่ดิน-ชินคอร์ปปันผลเหนือกำไร             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น

   
search resources

ชินคอร์ปอเรชั่น, บมจ.
เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น, บมจ.
Real Estate




พบตระกูลชินวัตรเร่งขายที่ดินให้เอสซี แอสเสท แค่ 1 วันหลังคณะปฎิรูปฯ ยึดอำนาจ ทั้ง ๆ ที่เป็นวันหยุด แม้ยอมขายต่ำราคาประเมินแต่ได้เงินได้ 84 ล้าน ส่วนชิน คอร์ป จัดทัพซื้อหุ้นคืนจากดีบีเอส แบงก์ในแคปปิตอล โอเค ส่วนรายการอื่นพบ SHIN-CSL จ่ายปันผลสูงกว่ากำไร ส่อเจตนาเผ่น

หลังจากสถานการณ์ทางการเมืองมีทางออก คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เข้ามายึดอำนาจจากรัฐบาลรักษาการของพรรคไทยรักไทย พร้อมทั้งได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ และอาการของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคพร้อมทั้งลูกพรรคไทยรักไทยที่ปลงทยอยกันลาออก

ขณะเดียวกันคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินที่ได้รับการแต่งตั้งมีชื่อบุคคลที่คนใกล้ตัวของทักษิณ ชินวัตร คงหนาว ๆ ร้อน ๆ ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจในการตรวจสอบทรัพย์สินของนักการเมืองในรัฐบาลชุดก่อนและสามารถอายัดทรัพย์ไว้ก่อนได้ หากเห็นว่าทรัพย์เหล่านั้นเกี่ยวข้องกับการได้มาในทางที่ไม่สุจริตของนักการเมืองคนนั้น ซึ่งรวมไปถึงญาติและบุตร

สำหรับเป้าหมายใหญ่ที่สุดคงหนีไม่พ้นธุรกิจในเครือของตระกูลชินวัตร ที่แม้จะขายหุ้นทั้งหมดให้กับเทมาเส็ก จากสิงคโปร์ไปตั้งแต่ 23 มกราคม 2549 แต่เรื่องดังกล่าวยังไม่มีท่าทีจะจบลงง่าย ๆ โดยเฉพาะเรื่องสัดส่วนของผู้ถือหุ้นต่างประเทศที่เข้าข่ายเกินข้อกำหนด เนื่องจาการเข้าซื้อในครั้งนี้มีการใช้นอมินีคนไทยเข้ามาถือหุ้นแทนในบริษัทกุหลาบแก้ว ซึ่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ให้ความเห็นเบื้องต้นว่าเข้าข่ายนอมินี

การเข้ายึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลรักษาการของพรรคไทยรักไทยเมื่อค่ำของวันที่ 19 กันยายน 2549 ที่ผ่านมา ซึ่งในวันรุ่งขึ้นคือ 20 กันยายนทางคณะปฎิรูปฯ ประกาศให้เป็นวันหยุดราชการทั้งของธนาคารพาณิชย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

SC อนุมัติทั้งวันหยุด

แต่ในวันดังกล่าว(20 ก.ย.)กลับพบว่าบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ SC กลับมีการประชุมกรรมการบริษัทในเวลา 10.00 น. ที่อาคารชินวัตร 3 ซึ่งคณะกรรมการมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ซื้อที่ดินบริเวณถนนสามัคคีจังหวัดนนทบุรี จำนวน 11 ไร่ 1 งาน 81.7 ตารางวา เป็นเงิน 84.07 ล้านบาท

การซื้อขายในครั้งนี้เป็นการซื้อขายระหว่างบริษัท เอสซี แอสเสท ซึ่งเป็นธุรกิจของตระกูลชินวัตรที่ไม่ได้ขายให้กับเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ กับบริษัท เอสซี ออฟฟิซ ปาร์ค จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทของตระกูลชินวัตรที่ถือหุ้นในบริษัทนี้ 99.99% โดยเสนอซื้อที่ตารางวาละ 18,350 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาประเมินจากผู้ประเมินอิสระที่ 21,228.62-21,849.17 บาทต่อตารางวา

"หากมองในแง่ธุรกิจแล้ว การขายที่ดินในราคาที่ต่ำกว่าราคาประเมินถือเป็นผลดีกับบริษัท ทำให้ได้ต้นทุนในการพัฒนาที่ดินได้ถูกลง ช่วยให้บริษัทมีกำไรได้มากขึ้นหากมีการขึ้นโครงการในพื้นที่ดังกล่าว"

แต่ในอีกด้านหนึ่งคือ แม้จะมีการขายในราคาที่ต่ำกว่าราคาประเมินจากผู้ประเมินอิสระ แต่การขายที่ดินระหว่างกันของผู้ถือหุ้นกลุ่มเดียวกัน ถือเป็นการถ่ายสินทรัพย์ระหว่างกันหรือไม่ แน่นอนว่าผู้ขายซึ่งเป็นบุคคลในตระกูลชินวัตรรับเงินแน่ ๆ 84 ล้านบาท หากเป็นสถานการณ์ปกติคงไม่มีอะไร แต่ช่วงนี้ถือเป็นช่วงที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางการเมือง เนื่องจากตระกูลชินวัตรที่มีทักษิณ ชินวัตร เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลที่ผ่านมา ถูกกล่าวหาจากคณะปฎิรูปการปกครองฯ ว่าส่อเค้าทุจริตและตั้งทีมงานตรวจสอบขึ้นมา

ดังนั้น การขายในครั้งนี้จึงดูเหมือนเป็นการรีบเร่งดำเนินการเพื่อให้ธุรกรรมนี้เสร็จสิ้นไป แม้ว่าจะประชุมในการกรรมการในการซื้อขายเมื่อ 17 กรกฎาคม 2549 แต่กลับอนุมัติกันในวันที่ 20 กันยายนหลังจากการยึดอำนาจเพียงไม่กี่ชั่วโมง และในวันดังกล่าวเป็นวันที่คณะปฎิรูปฯ กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ

แก้สัดส่วนต่างชาติเกิน

ถัดมาในวันที่ 2 ตุลาคมบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ SHIN ได้ทำการซื้อหุ้นในบริษัท แคปปิตอล โอเค จำกัด ต่อจากดีบีเอส แบงก์ ลิมิเต็ด(DBS) ในสัดส่วน 24.69% โดยให้เหตุผลว่า เป็นไปตามเงื่อนไขที่สอดคล้องกับสัญญาระหว่างกันของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย และเอื้อให้แคปปิตอล โอเค ได้ประโยชน์จากกลุ่มบริษัทชิน คอร์ป ได้อย่างเต็มที่

เดิมแคปปิตอล โอเค เป็นการร่วมทุนระหว่างชิน คอร์ปกับดีบีเอส แบงก์ ในสัดส่วน 60:40 ที่ทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท ต่อมาได้มีการเพิ่มทุนอีกเป็น 4,050 ล้านบาท ทำให้สัดส่วนของดีบีเอส แบงก์ เหลือเพียง 24.69% โดยการซื้อหุ้นต่อจากดีบีเอส แบงก์ ในครั้งนี้เสนอซื้อที่ราคา 66.50 บาทต่อหุ้นเป็นเงิน 665 ล้านบาท จากราคาที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท เท่ากับว่าดีบีเอส แบงก์ขายขาดทุน 335 ล้านบาทขาดทุนไปหรือ 33.5%

อย่างไรก็ตามเนื่องจากดีบีเอส แบงก์ เป็นธนาคารพาณิชย์ของสิงคโปร์ที่เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ ถือหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมที่ 28% เท่ากับการขายครั้งนี้ เป็นการจัดโครงสร้างของแคปปิตอล โอเค กันใหม่ ทำให้ชิน คอร์ปถือหุ้นโดยตรง 99.99% ลดข้อครหาเรื่องสัดส่วนของนักลงทุนต่างประเทศในแคปปิตอล โอเค ได้ระดับหนึ่งหากผลของการตีความเรื่องบริษัทกุหลาบแก้วที่มาซื้อหุ้นชิน คอร์ป นั้นไม่เป็นตัวแทนของนักลงทุนต่างประเทศในชั้นศาล

การปรับโครงสร้างดังกล่าว กลุ่มชิน คอร์ป ภายใต้การถือหุ้นใหญ่ของเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ ได้ดำเนินการมาก่อนหน้านี้แล้วนั่นคือ บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด เจ้าของสายการบินต้นทุนต่ำแอร์เอเชีย ที่ร่วมกับมาเลเซีย โดยได้มีการตั้งบริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัดและสิทธิชัย วีระธรรมนูญ เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นในไทยแอร์เอเชียแทน เพื่อแก้ปัญหาสัดส่วนของผู้ถือหุ้นต่างประเทศที่ถือเกินกว่ากฎหมายกำหนด

ปันผลเหนือกำไร

ไม่เพียงแค่การโยกทรัพย์ปรับโครงสร้างของกลุ่มชินวัตรและเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ เท่านั้น ที่ผ่านมาก่อนมีการยึดอำนาจการปกครองบริษัทในเครือชินคอร์ป ได้มีการจ่ายเงินปันผลในงวดครึ่งปี 2549 ค่อนข้างผิดสังเกตุ

เริ่มจากบริษัท ชินคอร์ปที่เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ ถือหุ้นใหญ่ คณะกรรมการบริษัทอนุมัติการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากผลประกอบการ 6 เดือนงวดการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 ถึง 30 มิถุนายน 2549 ในอัตราหุ้นละ 1.30 บาท คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้นประมาณ 4,153.99 ล้านบาท ขณะที่กำไรงวด 6 เดือนแรกของปี 2549 มีเพียง 3,824.89 ล้านบาทหรือกำไรต่อหุ้นเพียง 1.26 บาทต่อหุ้น

นั่นเท่ากับว่าบริษัทนำกำไรทั้งหมดมาจ่ายเป็นเงินปันผล ซึ่งยังไม่พอ จึงได้นำเงินในกำไรสะสมที่มีอยู่เดิมอีก 329 มาจ่ายปันผล

ถัดมาบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC คณะกรรมการบริษัทอนุมัติการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากผลการดำเนินงานครึ่งปีแรกของปี 2549 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 30 มิถุนายน 2549 ในอัตราหุ้นละ 3.00 บาท คิดเป็นเงินจำนวน 8,857.65 ล้านบาท ให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ จำนวน 2,952,548,589 หุ้น ขณะที่กำไรงวดครึ่งปี 2549 อยู่ที่ 9,415.38 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 3.19 บาท

ดังนั้นการจ่ายเงินปันผลของ ADVANC ที่อัตรา 3 บาทต่อหุ้นเท่ากับเป็นจ่ายจากกำไรที่สามารถทำได้ในครึ่งแรกของปี 2549 ถึง 94%

ต่อมาบริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด (มหาชน) หรือ CSL คณะกรรมการบริษัทอนุมัติการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากกำไรสะสม ตามที่ปรากฏในงบดุล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2549 ในอัตราหุ้นละ 0.60 บาท คิดเป็นจำนวนเงิน 375 ล้านบาท ขณะที่กำไรสุทธิของบริษัทครึ่งแรกของปี 2549 อยู่ที่ 111.19 ล้านบาทหรือ กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.18 บาท

เท่ากับกำไรที่ได้มาทั้งหมดในครึ่งปีแรกถูกนำมาจ่ายเป็นเงินปันผลทั้งหมด แถมยังดึงเอากำไรสะสมมาจ่ายเพิ่มอีกกว่า 263 ล้านบาท เป็นรูปแบบเดียวกับชิน คอร์ปที่จ่ายปันผลสูงกว่ากำไรที่สามารถทำได้

เจตนาเผ่น

"เรื่องนี้หากมองเผิน ๆ อาจจะดูว่าไม่ผิดปกติอะไร เพราะที่ผ่านมาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หลายแห่งก็ใช้วิธีการจ่ายเงินปันผลสูงกว่าผลการดำเนินงานที่สามารถทำได้ โดยนำเอากำไรสะสมที่ผ่านมาจ่ายให้กับผู้ถือหุ้น" โบรกเกอร์รายหนึ่งกล่าว

แต่การจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้นด้วยการนำเอากำไรสะสมมาจ่าย ถือว่าไม่ใช่เรื่องดีนัก สำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากหากมีการจ่ายปันผลในลักษณะนี้ต่อเนื่องกันย่อมทำให้กำไรสะสมของบริษัทลดลง ซึ่งเป็นเป็นผลดีนักต่อภาพลักษณ์ของบริษัท นอกจากนี้ยังสามารถตีความได้ว่าผู้ถือหุ้นอาจมีเจตนาที่ไม่ดีกับบริษัท เช่น ต้องการถ่ายเงินออกไป และไม่ต้องการดำเนินธุรกิจต่อ

แม้ว่าเรื่องนี้จะไม่มีข้อห้าม แต่เชื่อว่าหากนักลงทุนเห็นพฤติกรรมในลักษณะนี้ของผู้บริหารบริษัท คงไม่อยากเข้าไปลงทุนในบริษัทเหล่านี้เพราะไม่แน่ใจในเรื่องเจตนาของผู้บริหารและผู้ถือหุ้น(หากเป็นกลุ่มเดียวกัน)ว่า ไม่ต้องการดำธุรกิจอีกต่อไปหรือไม่ หรือต้องการถ่ายทรัพย์สมบัติออกให้มากที่สุดก่อนหาคนมาซื้อต่อ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us