Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2543
เนชั่นบวกไอทีวี รวมพลังหารสอง             
 


   
search resources

เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป, บมจ.
ไอทีวี, บมจ.
ปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา
ธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์
สรรค์ชัย เตียวประเสริฐกุล
สุทธิชัย หยุ่น




"เราไม่คิดถึงอีโก้ของตัวเอง จากประสบการณ์ ที่ผ่านมา ทำให้รู้ว่า ภาระกิจของเราคือ ทำอย่างไรให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์สูงสุด ถ้าเราทำเองเราอาจจะได้แค่ 90-95% แต่ถ้ารวมกันมันได้เต็ม 100" เป็นคำกล่าว ของสุทธิชัย หยุ่น บรรณาธิการอำนวยการ เครือเนชั่น ที่กล่าวในวันแถลงข่าว การร่วมมือกับไอทีวี เพื่อผลิตรายการเลือกตั้ง เส้นทางสู่สภาชี้ชะตาประเทศไทย

ก่อนหน้านี้กลุ่มเนชั่นจำต้องยอมปิดฉากตัวเองไอทีวี หลังจากข้อเสนอในการเข้าถือหุ้น และเก้าอี้บริหารในไอทีวี ที่ยื่นเสนอให้กับกลุ่มชินคอร์ปอเรชั่น ซึ่งกำลังเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของไอทีวีไม่ได้รับการตอบสนอง

หลังจากนั้น ไม่นาน พนักงานของไอทีวี ที่เคยสังกัดเนชั่นบางส่วนก็ยื่นใบลาออก ในขณะที่เทพชัย หย่องเอง ก็ออกมาโจมตีกลุ่มชินคอร์ปอเรชั่นอย่างเต็มที่ในการเข้าซื้อกิจการไอทีวี ก็หายหน้าตาไปจากจอทีวี และหลุดออกจากตำแหน่งจากบรรณาธิการข่าว กลายมาเป็นแค่ ที่ปรึกษาของสถานี

กลุ่มเนชั่นจำเป็นต้องหาเวทีใหม่ให้กับตัวเอง โดยการไปจับมือกับกลุ่มซีพี ของธนินท์ เจียรวนนท์ เพื่อสร้างช่องข่าว 24 ชั่วโมง "เนชั่นชาแนล8" ให้กับยูบีซี เคเบิลทีวี

ที่มาของรายได้จากชาแนล 8 นอกจากจะกระตุ้นยอดสมาชิกได้แล้ว โครงสร้างรายได้ของช่องนี้ จะมาจากโฆษณาทางอ้อม ที่มาในรูปของป้ายโฆษณาในรายการ เป็นสิ่งที่ผู้ผลิตรายการของยูบีซีช่องอื่นๆ ก็ทำอยู่แล้ว

แต่เรื่องกลับไม่ง่ายอย่างที่คิด เมื่อเนชั่นตกเป็นเป้าโจมตีจากสื่อด้วยกัน จนทำให้องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) ต้องออกมาสั่งระงับห้ามโฆษณาอย่างเด็ดขาด ผลที่ตามมาก็คือ เนชั่นไม่มีรายได้ แต่กลับต้องแบกรับต้นทุนเดือนละ 8 ล้านบาท เป็นค่าอุปกรณ์เครืองไม้เครื่องมือ ที่ลงทุนไป 150 ล้านบาท โดยไม่มีรายได้เข้ามาหล่อเลี้ยง

เนชั่น จำเป็นต้องดิ้นหาทางออก ทำตัวเป็น content provider ผลิตรายการป้อนให้กับฟรีทีวีช่องต่างๆ เพื่อหารายได้จากการเป็นผู้ผลิตรายการมาจุนเจือให้กับช่องชาแนล 8 และนี่ก็คือ ที่มาของการร่วมมือกับไอทีวี

"ทุกวันนี้ เราไม่มีรายได้จาก ช่องชาแนล 8 แต่ผมเชื่อว่า ช่องข่าว 24 ชั่วโมง มันเป็นสิ่งใหม่ ที่เมืองไทยควรจะมี ถ้าเราสามารถหารายได้จากส่วนอื่นๆ ถ้าเราทำรายการ และให้ช่องนี้อยู่ได้ เราก็ควรจะทำ มันเป็นการสร้างคน สร้างประสบการณ์ ส่วนรายได้เราก็หาจากทางอื่น เพราะมันมีเครื่องมือ ไปขายฟรีทีวี ที่หาโฆษณาได้ เราก็ทำให้อยู่รอดได้ ถึงแม้ว่าเหนื่อยหน่อย"สุทธิชัย หยุ่นกล่าว

การร่วมมือกับไอทีวี เพื่อผลิตรายการเลือกตั้งในครั้งนี้ เนชั่นจะได้ส่วนแบ่งจากรายได้โฆษณา ที่จะทำร่วมกัน และจากการเปิดเผยของสัญชัย เตียวประเสริฐกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทไอทีวี บอกว่า การร่วมมือจะรวมไปถึงในเรื่องของการทำตลาด ทีมขายของเนชั่น และไอทีวีจะนำมารวมกัน และจัดแพคเกจขายเวลาโฆษณาร่วมกัน เช่นเดียวกับรายจ่าย ที่จะนำมารวมกัน และแบ่งรายได้กัน ซึ่งตัวเลขรายได้ ที่ประเมินไว้ ก็คือ 100 ล้านบาท

สำหรับไอทีวี นอกเหนือจากประโยชน์จากการมี่มี้ทีมงาน และเครื่องไม้เครื่องมือมากขึ้น ทำให้การทำข่าวเลือกตั้งครอบคลุมพื้นที่ได้มากขึ้นแล้ว การได้เนชั่นมาร่วมในครั้งช่วยให้ภาพของไอทีวีดีขึ้น

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการมีชินคอร์ปเป็นหุ้นส่วนใหญ่ ทำให้ภาพของไอทีวีต้องสูญเสียความเป็นกลางไป ถึงแม้ว่าไอทีวีจะพยายามล้างภาพเหล่านี้ แต่ใช่ว่าจะทำได้ง่าย ยิ่งในช่วงเลือกตั้ง ที่ถือเป็นจุดขายไอทีวี และเป็นโอกาส ที่ไอทีวีจะหารายได้มากขึ้น

ไอทีวีเวลานี้ ก็ต้องประสบปัญหาอย่างหนัก จากทั้งปัญหาภายในองค์กร ความไม่ลงตัวในการดำเนินงาน ภาพความไม่แน่ชัดของสถานี ส่งผลกระทบต่อรายได้ของไอทีวี ที่ยังไม่เป็นไปตามคาดหมาย ผู้บริหารของชินคอร์ป เวลานี้ก็ต้องเร่งแก้ปัญหาทั้งหมด อุดรอยรั่วต่างๆ รวมถึงการลดพนักงานออกเกือบ 100 คน และลดการผลิตรายการเอง โดยหันมาใช้วิธีให้ เปิดให้ผู้ผลิตรายการใหม่ๆ เข้ามาเช่าเวลาแทน

ปีย์ มาลากุล ณ.อยุธยา ในฐานะตัวแทนของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัติย์ และเป็นผู้รับผิดชอบฝ่ายข่าว ปีย์ก็เคยแก้ปัญหาไอทีวี ด้วยดึงเอาทีมงานเก่าของแปซิฟิกมาช่วย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ดีลครั้งนี้ ปีย์ก็เป็นผู้เจรจากับธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ และสนับสนุนให้เนชั่นเข้ามาผลิตรายการร่วมกับไอทีวี ส่วนตัวแล้วปีย์เอง ก็รู้จัก และสนิทสนมกับสุทธิชัย หยุ่นเป็นอย่างดี

ทางด้านชินคอร์ป ถึงแม้ว่าจะเกิดรอยร้าวกับกลุ่มเนชั่น แต่ธุรกิจก็คือ ธุรกิจ การได้เนชั่นมาแล้ว ทำให้ภาพของไอทีวีดีขึ้น ย่อมหมายถึงโอกาสของการระดมทุนในตลาดหุ้น เป็นผลประโยชน์ลงตัว

ผู้บริหารไอทีวีก็ออกมาแบ่งรับแบ่งสู้ว่า การร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการทดลองการอยู่ร่วมกันเท่านั้น ส่วนจะลงเอยกันหรือไม่นั้น และรูปแบบจะเป็นอย่างไรนั้น ปีย์ มาลากุล ณ.อยุธยา บอกว่า ก็ต้องขึ้นอยู่กับความสำเร็จของการทำในครั้งนี้จะเป็นตัวชี้วัด

"เราต้องพิจารณาจาก ความเป็นไปได้ และอีโก้ของคน และทำงานร่วมกันจะเป็นไปได้หรือไม่ ซึ่งการร่วมมือกันในครั้งนี้เป็นแค่การหมั้นกันเท่านั้น ส่วนจะร่วมชีวิตกันหรือไม่ ก็ต้องดูว่ารวมกันไปแล้วจะทะเลาะกันหรือเปล่า"ปีย์ บอก

นั่นหมายความว่า หากผลของการร่วมมือผลิตรายการเลือกตั้งครั้งนี้ลุล่วงไปด้วยดี ย่อมหมายถึงโอกาส ที่เนชั่นจะเข้ามาถือหุ้นในไอทีวีย่อมเป็นไปได้สูง และการหวลคืนไอทีวี ก็เป็นประโยชน์โดยตรงในฐานะของ content provider ที่จะผลิตรายการป้อนให้กับสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง

"ในขณะนี้ในฐานะ ที่เป็นผู้ผลิตรายการ เราอยากไปทุกช่อง นอกจากช่วงเลือกตั้ง ถ้าไอทีวีมีเวลาให้เรา ความคิด และรูปแบบของเราถ้าไอทีวีรับได้ ไปกันได้ ไม่มีปัญหา ผู้ถือหุ้นเวลานี้ยังไม่ได้พูดถึงอาจมีโปรแกรมอื่นๆ ร่วมกันอีกก็ได้ " ธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ ประธานกลุ่มเนชั่น บอก

สำหรับ อนาคตของช่องชาแนล 8 ธนาชัยบอกว่า คำตอบของเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับรอให้กติกาใหม่ ที่เกี่ยวกับสื่อ อันเกิดจากรัฐธรรมนูญ มาตรา 40 ที่กำหนด ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการ จะมีนโยบายผ่อนปรนให้เคเบิลทีวีมีโฆษณาได้หรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่อง ที่ยูบีซีจะต้องไปเจรจากับอ.ส.ม.ท.

แต่หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายว่า จะมองภาพรวมของธุรกิจ นั่นหมายความว่า เนชั่นต้องหารายได้จากการผลิตรายการมาจุนเจือชาแนล 8 เพื่อให้ช่องนี้อยู่ต่อไป และภาพรวมของธุรกิจเดินต่อไปได้ไม่ขาดทุน

"แต่ถ้าเรามองแยก ก็เหมือนกับหนังสือหลายเล่ม บางเล่มอาจขาดทุน แต่ภาพรวมอยู่ได้ก็โอเค แต่ถ้ามองภาพย่อย ก็ต้องดูว่ามีอนาคตหรือไม่"

และนี่ก็คือ สูตรผสม ที่ลงตัวระหว่างเนชั่น และชินคอร์ปอเรชั่น กับการรวมพลัง กันอีกครั้ง เมื่อผลประโยชน์ลงตัวทุกอย่างย่อมเป็นไปได้เสมอ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us